แนวทางการพัฒนาการคุ้มครองเด็กถูกทารุณกรรมสำหรับประเทศไทย
dc.contributor.advisor | อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ | |
dc.contributor.advisor | ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล | |
dc.contributor.author | สุชาดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา | |
dc.date.accessioned | 2024-01-03T02:55:34Z | |
dc.date.available | 2024-01-03T02:55:34Z | |
dc.date.copyright | 2561 | |
dc.date.created | 2561 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561) | |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการคุ้มครองเด็กถูกทารุณกรรมและนำเสนอแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้แทนระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้แทนระดับชุมชนที่มีประสบการณ์การทำงานด้านเด็ก มีความเชี่ยวชาญและมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กถูกทารุณกรรมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์เด็กถูกทารุณกรรมถือเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่นับวันมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนสูงขึ้น ทวีความรุนแรงและมีลักษณะที่สลับซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม ขณะเดียวกันแม้หลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนมีความพยายามอย่างยิ่งเพื่อที่จะขจัดปัญหาดังกล่าว และมุ่งเน้นสู่การพัฒนาการคุ้มครองเด็ก แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการที่มีลักษณะของการขาดความเชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการทั้งระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการและระดับท้องถิ่น ส่งผลให้ประเทศไทยมิอาจยกระดับการคุ้มครองเด็กสู่ความเป็นมาตรฐานสากลตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ดังนั้นการพัฒนาการคุ้มครองเด็กถูกทารุณกรรมสำหรับประเทศไทยจึงควรพิจารณาทุกมิติอย่างรอบด้านเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนกลไกการคุ้มครองเด็กเกิดการพัฒนาในทิศทางเดียวกันทั้งระบบ กล่าวคือ (1) ระดับนโยบายคือการยกระดับการวางแผน ยุทธศาสตร์และการจัดระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ (2) ระดับปฏิบัติการคือการมุ่งเน้นสู่ความเป็นมืออาชีพ (3)ระดับท้องถิ่นคือการมุ่งสู่การทำงาน เชิงรุกกับบริบทแวดล้อมรอบตัวเด็ก ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัว สถาบันการศึกษาและชุมชนและ (4)การพัฒนาศักยภาพของตัวเด็กคือการช่วยเหลือและฟื้นฟูเยียวยาสู่ความเข้มแข็งจากภายในเพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอย่างผาสุก | |
dc.description.abstract | This research aims to study child abuse prevention and propose appropriate development approaches to child abuse prevention for Thailand. Qualitative study was conducted through reviewing academic papers and in-depth interviews with policy makers, public and private sector workers, and community representatives who had experience in working with children, and had expertise and played an important role in the protection of child abuse under the Child Protection Act BE 2546. The results of this research find that child abuse is a major national problem, and it is growing with violent and complex acts along with the change of social condition while many public and private parties have been made efforts to eliminate the problem and improve child protection. Furthermore, there are limitations to prevent child abuse effectively due to the lack of integrated management at policy levels, operational level and local level which impacts Thailand not to be able to raise children's protection to international standards under the Convention on the Rights of the Child. Suggestions from this research are that for the development of appropriate child protection systems in Thailand, the following four factors should be taken into account in all dimensions to create a child protection mechanism. (1) Policy level should raise the level of planning. (2) The level of operation should develop professionalism. (3) Local level should access the environment around children, including families, institutions and communities. (4) Child Development, Rehabilitation and internal strengthening program should be implemented for children to live happily. | |
dc.format.extent | ก-ญ, 421 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91631 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การสงเคราะห์เด็ก -- ไทย | |
dc.subject | การทารุณเด็ก -- ไทย | |
dc.title | แนวทางการพัฒนาการคุ้มครองเด็กถูกทารุณกรรมสำหรับประเทศไทย | |
dc.title.alternative | Development of protection perspective for child abuse in Thailand | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mu.link.internalLink | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/537/5637791.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |