รูปแบบการดำเนินงานวิเคราะห์อัตรากำลังทางการพยาบาล
dc.contributor.advisor | สมชาติ โตรักษา | |
dc.contributor.advisor | ยุวนุช สัตยสมบูรณ์ | |
dc.contributor.author | ศุภา เพ็งเลา | |
dc.date.accessioned | 2024-01-12T02:03:55Z | |
dc.date.available | 2024-01-12T02:03:55Z | |
dc.date.copyright | 2560 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.description | สาธารณสุขศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560) | |
dc.description.abstract | พยาบาลเป็นบุคลากรที่มากที่สุดในโรงพยาบาล ต้องทำงานหนักแต่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อภาระงาน การศึกษานี้เพื่อหารูปแบบการดำเนินงานวิเคราะห์อัตรากำลังทางการพยาบาลที่ดี สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรพยาบาล ตามหลักวิชาการและแนวทางของสำนักการพยาบาล สามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลทั่วไป สู่ความยั่งยืนได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ ดำเนินการในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2559 โดยการทบทวนความรู้ แนวปฏิบัติที่ดี วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่ารูปแบบการดำเนินงานวิเคราะห์อัตรากำลังทางการพยาบาลที่จัดทำขึ้นสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลทั่วขนาด M1 ประกอบด้วย 34 หลักการ มีโครงสร้างด้านของ คน เงิน และระบบงานทั้ง 14 โปรแกรม ของระบบบริการที่บันทึกข้อมูลด้วยไมโครซอฟท์เอ๊กซ์เซล ระบบสนับสนุนทรัพยากร ระบบพัฒนาและระบบบริหารจัดการ มีแนวทางการนำรูปแบบไปดำเนินการให้เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพสูงตั้งแต่เริ่มต้น รวมทั้งการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สู่ความยั่งยืน; แนวปฏิบัติที่ดี ศึกษาจากโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์; ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในการนำรูปแบบไปดำเนินการ ได้เลือกโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ใช้การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนหลังการทดลอง โดยนำรูปแบบที่จัดทำขึ้นมาประยุกต์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลโพธาราม มีการติดตาม ทบทวน และปรับปรุงเป็นระยะๆในขณะที่ดำเนินการทดลองเสนอแนะให้พัฒนาต่อไป จนเป็นตัวแบบของงานวิเคราะห์อัตรากำลังทางการพยาบาลอย่างแท้จริง ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยพัฒนาระบบสารสนเทศทางการพยาบาลร่วมกับเขตบริการสุขภาพแบบบูรณาการเข้ากับศูนย์ข้อมูลของแต่ละจังหวัด เพื่อการแชร์ทรัพยากรและพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลรวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงพัฒนาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและควรเพิ่มความยืดหยุ่นของนโยบายในการกำหนดกรอบอัตรากำลัง FTE สำหรับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เอื้อต่อการพัฒนาบริการให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น | |
dc.description.abstract | Nurses are medical personnel's who work hard at hospitals more than the required number of hours because of lack of nursing staff. This study aimed to develop a good working model of nurses' full time equivalence analysis, in compliance with the requirements of the hospital and according to the principles and guidelines of the Department of Nursing, Ministry of Public Health which can be used in general hospitals for sustainable development using the existing resources. The duration of the study was from January-June 2016. The methods of study included reviewing knowledge, good practices. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. The results showed that a working model of nurses' full time equivalence analysis was created in compliance with the context of M1 hospital, which consisted of 34 principles, the resources structure of material, human resources, budget, and the 4 systems of 14 Microsoft Excel service programs, the supportive resource system, the improving system, and management system, and a guideline of model implementation from the beginning for continuous and sustainable improvement. Good practices were adapted from Siriraj Hospital, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital and Charoenkrungpracharak Hospital. It is Recommended that the working model of nurses' full time equivalence analysis should be further developed after 3 years of implementation of Photharam Hospitals, Ratchaburi Province, Thailand. During the implementation the methodology is an experimental development research, two groups pre-test and post-test and case control design The integrated nursing information system in Regional Health Service by Province Data center to share resources and storage space, knowledge sharing should be improved, Moreover, flexibility of the FTE staffing Policy of the Ministry of Health to facilitate the development of services quality should be an increased. | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 160 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | สารนิพนธ์ (วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92516 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ | |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ -- อัตรากำลัง | |
dc.title | รูปแบบการดำเนินงานวิเคราะห์อัตรากำลังทางการพยาบาล | |
dc.title.alternative | A working model of nurses' full time equivalence analysis | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd520/5737582.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สาธารณสุขศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |