เครือข่ายการเรียนรู้วัฒนธรรมข้าวไร่เพื่อความมั่นคงด้านอาหารและการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี
Issued Date
2549
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
509448 bytes
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอศรีสวัสดิ์
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอศรีสวัสดิ์
Suggested Citation
วราพร ศรีสุพรรณ, เสาวลักษณ์ กุศลทรามาส, สมัย เพชรแวววาว, ไมตรี ประชากุล (2549). เครือข่ายการเรียนรู้วัฒนธรรมข้าวไร่เพื่อความมั่นคงด้านอาหารและการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/21892
Title
เครือข่ายการเรียนรู้วัฒนธรรมข้าวไร่เพื่อความมั่นคงด้านอาหารและการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี
Alternative Title(s)
Learning network on upland rice for food security and conserving biodiversity in the Kwai Yai Basin area, Kanchaaburi province
Other Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ(1)ศึกษาบริบทของชุมชน สถานภาพการผลิตและแบบแผนการผลิตข้าวไร่ และสถานภาพด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชนที่เพาะปลูกข้าวไร่ในพื้นที่ลุ่มน้ำแควใหญ่ (2)สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ในกลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่ และ (3) ขยายผลการเรียนรู้จากการวิจัยสู่โรงเรียนและชุมชน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการสำรวจโดย การสำรวจจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แนวลึก การบันทึกข้อมูลของครัวเรือน และการสนทนากลุ่ม ส่วนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งออกแบบกิจกรรมบนฐานการมีส่วนร่วมของผู้ปลูกข้าวไร่
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. พื้นที่วิจัยอยู่ใน 4 หมู่บ้านของตำบลนาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับกับไหล่เขาที่ลาดเทลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ ประชากรส่วนใหญ่ประมาณกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวไทยเชื้อสายกระเหรี่ยง ครัวเรือนส่วนใหญ่รู้สึกมีปัญหาทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารเป็นภาระที่น่าหนักใจผลผลิตข้าวต่อไร่ในพื้นที่ค่อนข้างต่ำและมีแนวโน้มลดลงทั้งข้าวนาและข้าวไร่ มากกว่าครึ่งหนึ่งของครัวเรือนยังผลิตอาหารไม่เพียงพอต่อการบริโภค และชุมชนยังไมกลไกที่จะค้ำจุนครัวเรือนที่ขาดแคลน จึงสรุปได้ว่า ความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนยังไม่ดีพอ 2. จากการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในกลุ่มผู้ปลูกข้าวไร่ ทำให้เกิดคณะกรรมการเครือข่ายข้าวไร่ข้าวนา ตำบลนาสวนขึ้น โดยมีสมาชิกร่วมกันจัดตั้งจาก 7 หมู่บ้าน ใน 4 หมู่บ้านของตำบลนาสวน 3. จากการขยายผลการเรียนรู้จากการวิจัยสู่โรงเรียนและชุมชนทำให้มีสื่อการสอนและหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง วิ๔ชีวิตคนปลูกข้าว ตำบลนาสวน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของคณูจาก 4 โรงเรียนในท้องถิ่น และชุมชนมีแนวปฏิบัติและข้อตกลงในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อปรับปรุงการผลิตและเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร
การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการวิจัยหารูปแบบการจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการในพื้นที่ลุ่มน้ำแควใหญ่ เพื่อการพัฒนาระบบการเกษตร และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
The purpose of this study were (1) to explore the community context, the upland rice production pattern, and the situation of rice production and food security, (2) to build learning network among upland rice producers and (3) to extend theresearch results tothe community and theschool nearby. The research had 2 parts, part one was the surveys learning by secondary data collection, semi-structured interview, indepth interview, family record, and group dialogue. Part two was an operation research which design activities based on the participation of the upland rice producers. The research results were as follow: 1. The research area cover 4 villages in Nasaun sub-district of Srisawat. It was a mountainous and slop area which downslop to the Sri Nakharin Reservoir. More than 80 percent of the population was Karen people. Mostof them felt that they face increasing economic problem and felt uneasy about food expenditure. Rice production per rai in this area was low and is declining. More half of them could not produce enough food for the family and the community don't had a measure to support the uneasy family. So, it can be concluded that the community lacks food security. 2. From the operation of this research, the rice producers network in Nasaun sub-district was setting up, and the community 7 household groups in 4 villages of Nasaun sub-district. 3. From the process of Knowledge extension, thesupplementary book and learning unit on "upland rice producers in Nasaun sub-district" were established by the participatory of school teachers from 4 schools, and the agreement for improving rice production learning process were established by the community. The research suggested that there should be a further research on integrated resources management for Kwai Yai Basin Area in order to improve agricultural system and conserving biodiversity together with the local profit
Description
12 หน้า
Sponsorship
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ