แนวทางสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

dc.contributor.advisorกฤษณ์ รักชาติเจริญ
dc.contributor.advisorภัทร์ พลอยแหวน
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ
dc.contributor.authorประกายดาว ภู่ทับทิมทอง
dc.date.accessioned2024-01-16T00:52:55Z
dc.date.available2024-01-16T00:52:55Z
dc.date.copyright2558
dc.date.created2567
dc.date.issued2558
dc.descriptionรัฐประศาสนศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558)
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 1) การศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรคือ บุคลาการสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพจำนวน 180 คน คำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ( Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) 2) การศึกษาเชิงคุณภาพ ประชากรคือ ผู้บริหารในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนไปปฏิบัติมี4 ด้าน 1) ด้านการสื่อสารความหมาย 2) ด้านทรัพยากร 3) ด้านทัศนคติ 4) ด้านโครงสร้างทางการบริหารจากการศึกษาเชิงปริมาณ ปัจจัยด้านทัศนคติเป็นปัจจัยที่มีความสำเร็จมากที่สุด จากการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยด้านการสื่อสารความหมาย เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพมากที่สุด 2.แนวทางสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มี 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการสื่อสารความหมาย ควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดำเนินงานตามนโยบายนี้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 2) ด้านทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ควรใช้ให้เกิดความคุ้มค่าให้มากที่สุด 3) ด้านทัศนคติ มหาวิทยาลัยควรทำการสำรวจความต้องการของบุคลากรก่อนที่จะส่งไปพัฒนาฝึกอบรม 4) ด้านโครงสร้างทางการบริหาร ควรกำหนดระเบียบปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม มีการกำหนดแนว ปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แนวทางสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ผู้วิจัยขอเสนอการประยุกต์ใช้แนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลปี 2556 - 2559 หรือใช้แนวทางการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน คือแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร ปี 2556 - 2560 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ ด้านการสื่อสารความหมาย ควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานให้มากขึ้น ด้านทัศนคติ ควรสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรสายสนับสนุน บุคลากรมีความสามารถด้านภาษาน้อย ดังนั้น ควรจัดอบรมพัฒนาความรู้ด้านภาษาให้กับบุคลากรสายสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
dc.description.abstractThis research aimed to 1) analyze the factors affecting the successful implementation of The Support Staff Development Policy of Rajamangala University of Technology Krungthep and 2) propose approaches to the successful implementation of The Support Staff Development Policy of Rajamangala University of Technology Krungthep. The research was undertaken as follows: 1) For the quantitative research, there were 180 Support Staff from Rajamangala University of Technology Krungthep calculated by Taro Yamane's method at a reliability of 95% and selected by stratified random sampling. 2) For the qualitative research, there were five administrators from The Rajamangala University of Technology Krungthep. The research tools were questionnaires and an interview form. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's Product Moment Correlation Coefficient, and Multiple Regression Analysis. The research results were as follows: 1. Four factors affecting the successful implementation of the Support Staff Development Policy were 1) communication, 2) resources, 3) attitude, and 4) management structure. According to the quantitative research, the factor of attitude brought about the highest success. According to the qualitative research, the factor of communication most considerably affected the successful implementation of the Support Staff Development Policy of Rajamangala University of Technology Krungthep. 2. The approaches to the successful implementation of the Support Staff Development Policy of Rajamangala University of Technology Krungthep consisted of four factors as follows: 1) For communication, there should be both formal and informal exchanges of opinions and experiences such as meetings, training, announcements, official letters, and talking. 2) As for resources; materials and buildings should be most economically used. 3) As for attitude; Rajamangala University of Technology Krungthep should survey staff needs before sending them to receive training. 4) As for the management structure; work regulations should be suitably determined and the work guidelines of various departments should be more clearly determined. As for the approaches to wards the successful implementation of the Support Staff Development Policy of Rajamangala University of Technology Krungthep, the researcher would like to propose the use of best practice, such as the Mahidol University Strategy 2013 - 2017 Research recommendations are as follows: As for communication; there should be more exchange of opinions between administrators and workers. As for attitude; work motivation should be created for Support Staff. As staff seldom have language capabilities, the training in languages should be continuously organized for Support Staff.
dc.format.extentก-ฎ, 195 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92913
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการพัฒนาบุคลากร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectการนำนโยบายไปปฏิบัติ
dc.titleแนวทางสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
dc.title.alternativeA trend to the success in implementation of supporting personnel development policy : a case study of Rajamangala University of Technology Krungthep
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2558/500/5336615.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files