คุณภาพบริการในความคาดหวังของผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเมื่อกลับมาร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรทอง 30 บาท : อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

dc.contributor.advisorศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์
dc.contributor.advisorเชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล
dc.contributor.advisorธรรมรัตน์ มะโรหบุตร
dc.contributor.authorดนุพงษ์ ฮะเติ้ง
dc.date.accessioned2024-01-22T08:53:43Z
dc.date.available2024-01-22T08:53:43Z
dc.date.copyright2557
dc.date.created2567
dc.date.issued2557
dc.descriptionสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
dc.description.abstractการกลับมาร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรทอง 30 บาท ของประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า อาจมีผลต่อความคาดหวังคุณภาพบริการของประชาชนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพบริการอย่างไรบ้าง การศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังคุณภาพบริการ 8 ด้านคือ 1) การเข้าถึงบริการตามความต้องการ 2) ความพร้อม ทันเวลา 3) ความต่อเนื่องของการรักษาและการบริการ 4) การมีส่วนร่วมการตัดสินใจในการรักษา 5) ความเป็นธรรม 6) การ สื่อสาร/การรับข้อมูล 7) การให้เกียรติ 8) การอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวัง คุณภาพบริการ และผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของผู้ใช้บริการเมื่อกลับมาร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรทอง 30 บาท โดย ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแบบเสียค่าธรรมเนียมบัตรทอง 30 บาท เขตอำเภอบาง บัวทอง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 397 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน 2556 ผู้วิจัยใช้การแบ่งจำนวนครัวเรือน จำแนกตามตำบลและเทียบอัตราส่วนแบบร้อยละ จากนั้นเลือกสุ่มหมู่บ้านและครัวเรือนด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็น ระบบ สุ่มเลือกครัวเรือนละ 1 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ซึ่งผู้วิจัยและทีมผู้ช่วยวิจัยเป็นผู้สัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลสถานะทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ประสบการณ์การเจ็บป่วยและการใช้บริการสุขภาพใน สถานพยาบาล ความคาดหวังคุณภาพบริการ 8 ด้าน และผลกระทบที่มีต่อค่าภาระใช้จ่ายของประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติที (t-test) และสถิติเอฟ (F-test) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66 มีความคาดหวังคุณภาพบริการโดยรวมระดับปานกลาง และมี คาดหวังคุณภาพบริการแต่ละด้านในระดับปานกลางเช่นกัน กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังระดับมาก 2 ด้าน คือ คาดหวัง คุณภาพบริการด้านความต่อเนื่องของการรักษาและการบริการ (17.6%) และคุณภาพบริการด้านความเป็นธรรม (27%) เมื่อ ทดสอบค่าเฉลี่ยระดับความคาดหวังคุณภาพบริการภาพรวมกับตัวแปรต่างๆพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับ อายุ อาชีพ รายได้ ภูมิลำเนา การมีบัตรสุขภาพอื่นๆ และเวลาที่ใช้บริการในสถานพยาบาล (P<.05) ในส่วนของการร่วมจ่าย ค่าธรรมเนียมบัตรทอง 30 บาท ประชาชนเห็นว่าเหมาะสม และยินดีร่วมจ่าย โดยไม่เป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายของผู้ใช้บริการ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ สถานพยาบาลควรพัฒนาสิ่งที่ผู้ใช้บริการคาดหวังมาก คือคุณภาพบริการ ด้านความต่อเนื่องของการรักษาและการบริการ และคุณภาพบริการด้านความเป็นธรรม และคำนึงถึงความแตกต่างของ ปัจจัยด้านอายุ อาชีพ รายได้ ภูมิลำเนา การมีบัตรสุขภาพอื่นๆ และเวลาที่ใช้บริการในสถานพยาบาล ด้านการกลับมาร่วม จ่ายค่าธรรมเนียมบัตรทอง 30 บาทไม่เป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายของผู้ใช้บริการจึงสามารถที่จะส่งเสริมการร่วมจ่าย ค่าธรรมเนียมที่มากขึ้นได้
dc.description.abstractThis study aimed to analyze the expectations regarding the quality of service of clients in 8 areas : accessibility to need, timeliness, continuity, participation of patient's family in care, equity, communication and information, dignity, and basic amenities in an effect to identify factors associated with expectations of service of quality and the impact on the cost of the service after copayment fee (30 baht). This study was conducted in Bangbuathong, Nonthaburi Province. The sample consisted of 397 individuals who receive medical coverage under the universal health coverage scheme fee between August - November 2013. The researcher divided the number of households by parish then randomly selected villages and households by systematic random sampling, and then randomly selected one person per household. The interview data was collected by the researcher and a research assistant. Interviews questions covered socio-economic status, experience of illness, use of health services in a hospital, expectations regarding the quality of services, and the impact regarding the addition cost not covered under the program to patients. Data were analyzed using descriptive statistics, T statistics (t-test) and F statistics (F-test). The results showed that the overall expectations of quality of service was moderate(66%) and the other expectations of service of quality were also moderate. The sample had high expectations of quality of service is continuity(17.6%) and equity(27%). The average level of overall expectations of quality of service with variables was found to be significantly related to age, occupation, income, domicile, health cards, and waiting time in the hospital (P<.05). The copay fee (30 baht) indicated a willingness to pay the additional cost of the services. Recommendations from the study are that hospitals should develop patient's awareness so that expectations of quality of service is high and there is continuity and equity of services that take into account the different factors including age, occupation, income, domicile, health cards, and waiting time in the hospital. After copayment fee (30 baht) were paid there was no significate effect on the cost to the public.
dc.format.extentก-ญ, 138 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93491
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
dc.subjectบริการทางการแพทย์ -- ค่าใช้จ่าย
dc.subjectโรงพยาบาล -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ -- ไทย -- นนทบุรี
dc.subjectบัตรประกันสุขภาพ -- ไทย -- นนทบุรี
dc.titleคุณภาพบริการในความคาดหวังของผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเมื่อกลับมาร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรทอง 30 บาท : อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
dc.title.alternativeExpectations of quality of service of clients under the Universal Health Coverage Scheme after Copayment Fee (30 Baht) : a case study in Bangbuathong prefecture, Nonthaburi province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd496/5437757.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files