การใช้สื่อของรัฐกับการสร้างความเป็นพลเมือง : นัยต่อสิทธิมนุษยชนในรายการคืนความสุข
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 220 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
ปฐมพร แก้วหนู การใช้สื่อของรัฐกับการสร้างความเป็นพลเมือง : นัยต่อสิทธิมนุษยชนในรายการคืนความสุข. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99570
Title
การใช้สื่อของรัฐกับการสร้างความเป็นพลเมือง : นัยต่อสิทธิมนุษยชนในรายการคืนความสุข
Alternative Title(s)
Use of state media in construction of citizenship : implications on human rights of The Returning Happiness Program
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเนื้อหาของรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารสำคัญของรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่นาโดยพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ว่าเนื้อหาของรายการสะท้อนถึงการสร้างความชอบธรรมในการครองอำนาจของรัฐบาล อย่างไร และสร้างความเป็นพลเมืองตามแบบที่รัฐต้องการอย่างไร โดยได้ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาของรายการที่ออกอากาศทั้งหมด 252 ตอน ผ่านกรอบคิดเรื่องการสร้างความชอบธรรม (legitimacy) การสร้างภาพความเป็นศัตรู (demonization) และการสร้างภาพความเป็นพลเมือง (Citizenship) จากนั้นจึงวิเคราะห์ นัยสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน ผลการศึกษาพบว่า คสช. ได้ใช้ข้ออ้างเรื่องความชอบธรรม 5 ประการเรียง ตามลำดับความถี่ที่พูดถึง คือ การเป็นรัฐบาลที่เข้ามายุติความรุนแรงและรักษาความสงบ เป็นรัฐบาลที่มี ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ รัฐบาลเข้ามาแก้ไขเปลี่ยนแปลงปัญหาเดิมที่มีผู้สร้างเอาไว้ รัฐบาล กำลังพัฒนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และรัฐบาลเป็นตัวกลางในการสร้างความปรองดอง ความชอบธรรม ดังกล่าวถูกนำเสนอไปพร้อมกับรูปแบบพลเมืองที่รัฐต้องการ 5 รูปแบบ คือ พลเมืองผู้ไม่ใช้โซเชี่ยลมีเดียโจมตีรัฐบาล เคารพกฎหมายและร่วมมือสร้างความปรองดอง มีศีลธรรมเชิงศาสนาและมีสานึกในเรื่อง ประวัติศาสตร์ชาติไทย เห็นความมั่นคงมาก่อนประชาธิปไตย และจงรักภักดิ์ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ งานวิจัยชิ้นนี้เสนอว่ารายการคืนความสุขสะท้อนว่ารัฐบาลต้องการพลเมืองผู้เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนาของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด โดยอ้างถึงความจำเป็นของรัฐบาลในการรักษาความสงบเรียบร้อย ภายในกระบวนการนี้ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองต่าง ๆ จึงถูกจำกัดอย่างสำคัญ
This research studies the television program called "Returning Happiness to The People" produced by the National Council for Peace and Order (NCPO)'s government led by General Prayuth Chan-ocha. It's examines how the program reflects the legitimacy claims of the government and how it constructs state-desired citizens. The study reviews and analyses the content of all the 252 episodes using the conceptual framework of legitimacy, demonization, and citizenship and analyses the implications on human rights. The study finds that the NCPO claimes its legitimacy based on five grounds, namely, the government comes to stop violence and to keep peace and order; the government is loyal to the Monarchy; the government solves the problems created by its predecessors; the government is working toward complete democracy; and the government is building national reconciliation. Such legitimacy claims are presented along with five forms of desirable citizens, namely, the citizens who do not use social media to criticize the government; the citizens who respect the law and order; the citizens who are moral and be conscious of Thai history; the citizens who prioritize security over democracy; and the citizens who are loyal to the Monarchy. The research argues that the program shows that the government preferred obedient citizens. Civil and political rights are, therefore, significantly limited in this process.
This research studies the television program called "Returning Happiness to The People" produced by the National Council for Peace and Order (NCPO)'s government led by General Prayuth Chan-ocha. It's examines how the program reflects the legitimacy claims of the government and how it constructs state-desired citizens. The study reviews and analyses the content of all the 252 episodes using the conceptual framework of legitimacy, demonization, and citizenship and analyses the implications on human rights. The study finds that the NCPO claimes its legitimacy based on five grounds, namely, the government comes to stop violence and to keep peace and order; the government is loyal to the Monarchy; the government solves the problems created by its predecessors; the government is working toward complete democracy; and the government is building national reconciliation. Such legitimacy claims are presented along with five forms of desirable citizens, namely, the citizens who do not use social media to criticize the government; the citizens who respect the law and order; the citizens who are moral and be conscious of Thai history; the citizens who prioritize security over democracy; and the citizens who are loyal to the Monarchy. The research argues that the program shows that the government preferred obedient citizens. Civil and political rights are, therefore, significantly limited in this process.
Description
สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
Degree Discipline
สิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล