Selected indicators to evaluate the human well-being in the communities with the knowledge of agro-ecosystem restoration : a case study of Ban Song subdistrict, Chachoengsao province
Issued Date
2024
Copyright Date
2019
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xiii, 156 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2019
Suggested Citation
Kotchamon Sukyoyot Selected indicators to evaluate the human well-being in the communities with the knowledge of agro-ecosystem restoration : a case study of Ban Song subdistrict, Chachoengsao province. Thesis (M.Sc. (Technology of Environmental Management))--Mahidol University, 2019. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91698
Title
Selected indicators to evaluate the human well-being in the communities with the knowledge of agro-ecosystem restoration : a case study of Ban Song subdistrict, Chachoengsao province
Alternative Title(s)
ตัวชี้วัดเพื่อการประเมินสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ในชุมชนด้วยองค์ความรู้การฟื้นฟูระบบนิเวศเกษตร : กรณีศึกษา ตำบลบ้านซ่อง จังหวัดฉะเชิงเทรา
Author(s)
Abstract
The aims of this research are to study the explicit knowledge used in social-ecological system restoration from drought within the agricultural area, to develop a group of criteria and indicators for assessing the system and to evaluate the system within the household and community levels. This research uses qualitative and quantitative research methodology with, 9 in-depth interviewers from state agencies, local organizations and 80 farming households from 2 villages (Ban Song village and Nong Ta Rod village). Data is collected by in-depth interviews, questionnaires to develop criteria and indicators and household survey questionnaires to evaluate social-ecological system restoration. The results of the study show that in such a natural landscape of Ban Song Subdistrict, the coming of highway 304 in 1950 brought about development of the settlement leading to farmers adaptation to the social-ecological system (SES) by using traditional ecological knowledge (TEK) in combination with new knowledge to restore SES and survive in the changing situation. The development of the group of criteria and indicators to assess SES is conducted by selecting criteria and indicators that are appropriate for the area with a multi-criteria analysis. The results showed that there were 33 criteria and 92 indicators (soil, water and agricultural management, ecosystem services and human well-being). The result from the assessment at the community level found that the farmers from Moo 1, Ban Song (final-stage restoration) have more adaptation and rehabilitation activities than Moo.11 Nong Ta Rod (begin-stage restoration) at the 0.05 level of statistical significance. All 18 significant indicators consist of accumulation of soil or top soil, upper soil frizz, soil moisture, efficiency of water allocation from improved water surface area, water user groups established to take care of water delivery and maintenance of buildings or natural water areas or water sources created, participation of water user groups in water management, delivery and maintenance, crop production, plant products, animals and fisheries, agricultural crops production, employment from the manufacturing sector and processing of agricultural products, seepage into the ground, changing of drought, economic loss due to drought, potential of the ecosystem to reduce the severity of drought, crime cases, moving back of emigrants, sufficient food for household consumption, and ability to repay the loan. The farmers from both villages have a process to adapt, develop and restore SES to prevent, cope and solve drought with their own knowledge enabling them to coexist with social, economic and environmental changes. They also have sufficient production for household consumption and have the production left to be used to sell and have more money to spend in various parts of the family. This research recommends creation of a community scenario based on the Millennium Assessment in various dimensions in order to raise awareness of people in dealing and solving problems, to use TEK as part of the grouping of criteria and indicators in order to be appropriate for the areas and be aware of the defective recovery process and be a way to solve problems immediately, and to study the stability of the ecosystem by testing the quality of soil, water and agricultural products in order to clearly understand the effects of ecological restoration.
จุดมุ่งหมายของานวิจัยเรื่องนี้ คือ ศึกษาองค์ความรู้ที่ใช้ในการฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรม พัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินผลจากการฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรม และประเมินระบบนิเวศสังคมจาก ปัญหาภัยแล้งของชุมชน และครัวเรือนในพื้นที่ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มอาชีพ ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึก ทั้งหมด 9 คน และกลุ่มแบบสอบถามในระดับครัวเรือน ทั้งหมด 80 ครัวเรือน จากทั้ง 2 ชุมชน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านซ่อง และหมู่ที่ 11 บ้านหนองตารอดโดยมีการใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากสัมภาษณ์เชิงลึก การใช้แบบสอบถามเพื่อพัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัด และแบบสอบถามการประเมินผลจากการฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมใน ระดับครัวเรือน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ด้วยตาบลบ้านซ่องที่มีลักษณะภูมิประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากมีการตัดผ่าน ของถนนทางหลวงพิเศษ 304 จึงทำให้การพัฒนาของเมืองนำมาซึ่งการปรับตัวของเกษตรกรในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรมีการนำเอา องค์ความรู้นิเวศวิทยาท้องถิ่น (Traditional Ecological Knowledge: TEK) รวมทั้งองค์ความรู้ในรูปแบบใหม่มาใช้ เพื่อปรับตัว และฟื้นฟู ระบบนิเวศสังคม (Social-Ecological System: SES) ของตนเองให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และสามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการประเมินผลจากการปรับตัว และฟื้นฟูของเกษตรกร โดยการคัดเลือกเกณฑ์ และตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ด้วยกระบวนการวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์ (Multi-Criteria Analysis: MCA) ผลการศึกษาพบว่า มีเกณฑ์ และตัวชี้วัดที่เหมาะสมทั้งหมด 33 เกณฑ์ 92 ตัวชี้วัด (ด้านการจัดการดิน น้ำ และการเกษตร ด้านนิเวศบริการและด้านสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดี) จากผลการประเมินในระดับชุมชน พบว่า เกษตรกรจากหมู่ที่ 1 บ้านซ่อง (การฟื้นฟูในระยะปลาย) มีการปรับตัว และฟื้นฟูมากกว่าในหมู่ที่ 11 บ้านหนองตารอด (การฟื้นฟูระยะต้น) อย่างมีนัยยะทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ทั้งหมด 18 ตัวชี้วัด ประกอบไปด้วย การสะสมของหน้ำดินหรือดินชั้นบน ความร่วนซุยของดินชั้นบน ความชื้นของดิน พื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการปรับปรุง สามารถส่งน้ำให้ครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อดูแลการส่งน้ำ และบำรุงรักษาอาคารหรือพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำ ส่งน้ำ และบำรุงรักษา ผลผลิตพืชในระบบ ผลิตภัณฑ์จากพืช, สัตว์ และประมง การผลิตพืชผลทางการเกษตร การจ้างงานจากภาคการผลิต และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การซึมของน้ำลงสู่พื้นดิน มีการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตภัยแล้ง เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจเมื่อเกิดภัยแล้ง ศักยภาพของระบบนิเวศที่สามารถลดทอนความรุนแรงของภัยแล้ง การประกอบคดีอาชญากรรม ประชากรที่อพยพถิ่นฐานกลับมาในพื้นที่ การมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ และความสามารถในการใช้คืนเงินกู้ เกษตรกรจากทั้ง 2 หมู่บ้านได้มีกระบวนการในการปรับตัว พัฒนา และฟื้นฟูระบบนิเวศสังคม เพื่อป้องกัน รับมือ และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ด้วยองค์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ ทำให้เกษตรกรสามารถอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีผลผลิตอย่างเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน และมีเหลือเพื่อนำไปจำหน่ายนำเงินมาใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ ของครอบครัว งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ คือ ควรที่จะสร้างภาพอนาคต (Scenario) ตามแนวคิด Millennium Assessment ให้กับชุมชนในหลากหลายมิติที่ยังมีปัญหา เพื่อทำให้เกิดความตระหนักรู้ของผู้คนในการรับมือ และแก้ไขปัญหาจากรอบด้าน อีกทั้งควรมีการนำองค์ความรู้ท้องถิ่น (Traditional Ecological Knowledge: TEK) มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำกลุ่มเกณฑ์ และตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด และเพื่อให้ทราบถึงกระบวนการฟื้นฟูที่บกพร่อง และสามารถหาหนทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที และควรมีการศึกษาเสถียรภาพ (Stability) ของระบบนิเวศ ด้วยการทดสอบคุณภาพของดิน น้ำ และผลผลิตด้านการเกษตร เพื่อให้ทราบถึงผลจากการฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างได้อย่างชัดเจน
จุดมุ่งหมายของานวิจัยเรื่องนี้ คือ ศึกษาองค์ความรู้ที่ใช้ในการฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรม พัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินผลจากการฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรม และประเมินระบบนิเวศสังคมจาก ปัญหาภัยแล้งของชุมชน และครัวเรือนในพื้นที่ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มอาชีพ ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึก ทั้งหมด 9 คน และกลุ่มแบบสอบถามในระดับครัวเรือน ทั้งหมด 80 ครัวเรือน จากทั้ง 2 ชุมชน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านซ่อง และหมู่ที่ 11 บ้านหนองตารอดโดยมีการใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากสัมภาษณ์เชิงลึก การใช้แบบสอบถามเพื่อพัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัด และแบบสอบถามการประเมินผลจากการฟื้นฟูระบบนิเวศสังคมใน ระดับครัวเรือน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ด้วยตาบลบ้านซ่องที่มีลักษณะภูมิประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากมีการตัดผ่าน ของถนนทางหลวงพิเศษ 304 จึงทำให้การพัฒนาของเมืองนำมาซึ่งการปรับตัวของเกษตรกรในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรมีการนำเอา องค์ความรู้นิเวศวิทยาท้องถิ่น (Traditional Ecological Knowledge: TEK) รวมทั้งองค์ความรู้ในรูปแบบใหม่มาใช้ เพื่อปรับตัว และฟื้นฟู ระบบนิเวศสังคม (Social-Ecological System: SES) ของตนเองให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และสามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการประเมินผลจากการปรับตัว และฟื้นฟูของเกษตรกร โดยการคัดเลือกเกณฑ์ และตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ด้วยกระบวนการวิเคราะห์แบบหลายเกณฑ์ (Multi-Criteria Analysis: MCA) ผลการศึกษาพบว่า มีเกณฑ์ และตัวชี้วัดที่เหมาะสมทั้งหมด 33 เกณฑ์ 92 ตัวชี้วัด (ด้านการจัดการดิน น้ำ และการเกษตร ด้านนิเวศบริการและด้านสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดี) จากผลการประเมินในระดับชุมชน พบว่า เกษตรกรจากหมู่ที่ 1 บ้านซ่อง (การฟื้นฟูในระยะปลาย) มีการปรับตัว และฟื้นฟูมากกว่าในหมู่ที่ 11 บ้านหนองตารอด (การฟื้นฟูระยะต้น) อย่างมีนัยยะทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% ทั้งหมด 18 ตัวชี้วัด ประกอบไปด้วย การสะสมของหน้ำดินหรือดินชั้นบน ความร่วนซุยของดินชั้นบน ความชื้นของดิน พื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการปรับปรุง สามารถส่งน้ำให้ครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อดูแลการส่งน้ำ และบำรุงรักษาอาคารหรือพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำ ส่งน้ำ และบำรุงรักษา ผลผลิตพืชในระบบ ผลิตภัณฑ์จากพืช, สัตว์ และประมง การผลิตพืชผลทางการเกษตร การจ้างงานจากภาคการผลิต และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การซึมของน้ำลงสู่พื้นดิน มีการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตภัยแล้ง เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจเมื่อเกิดภัยแล้ง ศักยภาพของระบบนิเวศที่สามารถลดทอนความรุนแรงของภัยแล้ง การประกอบคดีอาชญากรรม ประชากรที่อพยพถิ่นฐานกลับมาในพื้นที่ การมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ และความสามารถในการใช้คืนเงินกู้ เกษตรกรจากทั้ง 2 หมู่บ้านได้มีกระบวนการในการปรับตัว พัฒนา และฟื้นฟูระบบนิเวศสังคม เพื่อป้องกัน รับมือ และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ด้วยองค์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ ทำให้เกษตรกรสามารถอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีผลผลิตอย่างเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน และมีเหลือเพื่อนำไปจำหน่ายนำเงินมาใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ ของครอบครัว งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะ คือ ควรที่จะสร้างภาพอนาคต (Scenario) ตามแนวคิด Millennium Assessment ให้กับชุมชนในหลากหลายมิติที่ยังมีปัญหา เพื่อทำให้เกิดความตระหนักรู้ของผู้คนในการรับมือ และแก้ไขปัญหาจากรอบด้าน อีกทั้งควรมีการนำองค์ความรู้ท้องถิ่น (Traditional Ecological Knowledge: TEK) มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำกลุ่มเกณฑ์ และตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด และเพื่อให้ทราบถึงกระบวนการฟื้นฟูที่บกพร่อง และสามารถหาหนทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที และควรมีการศึกษาเสถียรภาพ (Stability) ของระบบนิเวศ ด้วยการทดสอบคุณภาพของดิน น้ำ และผลผลิตด้านการเกษตร เพื่อให้ทราบถึงผลจากการฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างได้อย่างชัดเจน
Description
Technology of Environmental Management (Mahidol University 2019)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Environment and Resource Studies
Degree Discipline
Technology of Environmental Management
Degree Grantor(s)
Mahidol University