ผลของกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

dc.contributor.advisorนิรัตน์ อิมามี
dc.contributor.authorอรุณ สิทธิโชค
dc.date.accessioned2024-01-17T07:04:59Z
dc.date.available2024-01-17T07:04:59Z
dc.date.copyright2550
dc.date.created2567
dc.date.issued2550
dc.descriptionสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)
dc.description.abstractการวิจัยปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลายของตัวแทนครัวเรือนหมู่บ้านทดลอง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยประยุกต์แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยการระดมความคิด กระบวนการกลุ่ม การสาธิตและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการควบคุมลูกน้ำยุงลาย กลุ่มตัวอย่าง เป็นแกนนำชุมชนป้องกันไข้เลือดออก จำนวน 30 คน และตัวแทนครัวเรือนจำนวน 86 คน ที่อาศัยอยู่หมู่ที่ 6 บ้านหัวแหลม ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ระยะเวลาการศึกษา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทางสถิติด้วย Paired Samples t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องไข้เลือดออก การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเกิดไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคที่จะเกิดจากการควบคุมลูกน้ำยุงลาย การรับรู้ความสามารถของตนเองในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสำรวจลูกน้ำยุงลายเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งมีผลทำให้มีจำนวนภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย น้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการวิจัยแสดงว่า โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิผล สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสำรวจและควบคุมลูกน้ำยุงลายของกลุ่มตัวอย่างได้ จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมลูกน้ำยุงลายกับชุมชนอื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน
dc.description.abstractThe purpose of this action research was to assess the effectiveness of community participation learning process in changing Aedes larval control behavior of community stakeholders and household representatives in Meung district, Chantaburi province. Concepts of community participation, Health Belief Model, and Self-Efficacy Theory were applied to develop learning activities. The learning activities comprised group process, brainstorming, demonstrations, and practices that were designed to enhance essential knowledge and skills in controlling of Aedes larva. The study group consisted of 30 key community leaders for dengue hemorrhagic fever prevention and control, and 86 household representatives of village number 6th Ban Hoe Lame, Ta Chang sub-district, Meung district, Chantaburi province. The study lasted 12 weeks. Structured interview questionnaires and larva survey forms were used to collect data. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Paired Samples t-test. Results of the study showed that after the experiment, the study group had significantly better knowledge about dengue hemorrhagic fever (DHF), perceived susceptibility and severity in getting DHF, perceived benefits and barriers and self-efficacy in controlling Aedes larva than before the experiment. They also had more behavioral Aedes larval survey practices. The larval survey practices then caused a significant reduction of the mosquito breeding sites where the Aedes larva was found. These results indicated that learning through a community participation program was effective. The program significantly changed Aedes larval control and Aedes larval survey practices of both the key community leaders and the household representatives of the study village. The program should be applied for controlling Aedes larva in other villages that have similar community, social and environmental conditions.
dc.format.extentก-ช, 144 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93080
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
dc.subjectไข้เลือดออก
dc.subjectยุง -- การควบคุม
dc.titleผลของกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
dc.title.alternativeEffectiveness of a community participatory learning program for Aedes Larva control behavior Mueang district, Chanthaburi province
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4837656.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files