Verbal abuse among student in Ubon Ratchathani province
Issued Date
2023
Copyright Date
2016
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xvi, 185 leaves
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Tiwawan Ayuwat Verbal abuse among student in Ubon Ratchathani province. Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89791
Title
Verbal abuse among student in Ubon Ratchathani province
Alternative Title(s)
พฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนจังหวัดอุบลราชธานี
Author(s)
Abstract
This study aimed to investigate verbal abuse of the students in Ubon Ratchathani Province. The objectives were to find patterns and levels of verbal abuse of the students and to discover factors provoking the students in using verbal abuse. The results can be used to learn ways to prevent and solve verbal abuse of the students effectively. Data were collected from 1,110 students in Ubon Ratchathani Province. The results indicated that the verbal abuse of the students consisted of three aspects: words, intonation, and contents. Based on an overview, verbal abuse behavior was at a low level with the mean at 0.90. When the three aspects were investigated, words were at the highest level with a mean of 1.05, followed with intonation and contents with the mean at 0.96 and 0.78, respectively. Verbal abuse of the students with the highest level of the mean combined with speaking loudly (x̄ =1.67, S.D. x̄ =1.34), reacting with aggressive intonation immediately when someone speaks with aggressive intonation to them (x̄ = 1.49, S.D. =1.34) and arguing immediately when they think other people speak incorrectly (x̄ =1.43, S.D. =1.28). Causal factors affecting verbal abuse were using verbal abuse usage in families, finding verbal abuse from media, using verbal abuse among peers and attitudes toward verbal abuse. Each factor was related to each other and had a causal relationship. This was because using verbal aggression in families directly affected verbal abuse among peers, attitudes towards verbal abuse, and verbal abuse with statistical significance at .01 and with the path coefficient value at 0.38, 0.19, and 0.21 respectively. Findings indicated that verbal abuse was a results as a result of peer verbal abuse usage with statistical significance at .01 and with the path coefficient value at 0.27. Using verbal abuse among peers directly affected attitudes towards verbal abuse with statistical significance at .01 and with the path coefficient value at 0.55. Attitudes toward verbal abuse directly affected verbal abuse with statistical significance at .01 and with the path coefficient value at 0.44.
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อหารูปแบบพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาและระดับของความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี และปัจจัยที่มีอิทธิพลส่งเสริมให้เด็กนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีใช้ความรุนแรงทางวาจาเพื่อ นำไปเป็นข้อพิจารณาในการศึกษาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 1,110 คน การศึกษาพบว่าพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางวาจา ของนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี มีทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านถ้อยคำ ด้านน้ำเสียง และด้านเนื้อหา พฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้วยค่าเฉลี่ย .90 เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านถ้อยคำ ด้วยค่าเฉลี่ย 1.05 รองลงมา คือ ด้านน้ำเสียง และด้านเนื้อหา ด้วยค่าเฉลี่ย .96 และ .78 ตามลำดับ ทั้งนี้ พฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ พูดจาเสียงดัง (x̄ =1.67, S.D. = 1.34) การพูดกลับด้วยเสียงที่ไม่ดีโต้ตอบทันทีเมื่อมีคนมาพูดด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดี (x̄ = 1.49, S.D. = 1.34) และการเถียงโต้ตอบทันทีเมื่อคิดว่าสิ่งที่ผู้อื่นพูดไม่ถูกต้อง (x̄ = 1.43, S.D. = 1.28) ตามลำดับ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาประกอบด้วย การใช้ความรุนแรงทางวาจาในครอบครัว การพบเห็นความรุนแรงทางวาจาจากสื่อ การใช้ความรุนแรงทางวาจาในกลุ่มเพื่อน และทัศนคติ ต่อความรุนแรงทางวาจา โดยแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กัน และมีรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยพบว่าการใช้ความรุนแรงทางวาจาในครอบครัวมีอิทธิพลโดยตรงต่อ การใช้ความรุนแรงทางวาจาในกลุ่มเพื่อน ทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางวาจา และพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางวาจา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง ดังนี้ .38 .19 และ .21 ตามลำดับ ในขณะที่การพบเห็นความรุนแรงทางวาจาจากสื่อมีอิทธิพลโดยตรงต่อ การใช้ความรุนแรงทางวาจาในกลุ่มเพื่อน และพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางวาจาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากัน คือ .27 การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลโดยตรงต่อทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางวาจา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ด้วย ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .55 และ ทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางวาจามีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางวาจา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ .01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .44
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อหารูปแบบพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาและระดับของความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี และปัจจัยที่มีอิทธิพลส่งเสริมให้เด็กนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีใช้ความรุนแรงทางวาจาเพื่อ นำไปเป็นข้อพิจารณาในการศึกษาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 1,110 คน การศึกษาพบว่าพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางวาจา ของนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี มีทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านถ้อยคำ ด้านน้ำเสียง และด้านเนื้อหา พฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้วยค่าเฉลี่ย .90 เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านถ้อยคำ ด้วยค่าเฉลี่ย 1.05 รองลงมา คือ ด้านน้ำเสียง และด้านเนื้อหา ด้วยค่าเฉลี่ย .96 และ .78 ตามลำดับ ทั้งนี้ พฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาของนักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ พูดจาเสียงดัง (x̄ =1.67, S.D. = 1.34) การพูดกลับด้วยเสียงที่ไม่ดีโต้ตอบทันทีเมื่อมีคนมาพูดด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดี (x̄ = 1.49, S.D. = 1.34) และการเถียงโต้ตอบทันทีเมื่อคิดว่าสิ่งที่ผู้อื่นพูดไม่ถูกต้อง (x̄ = 1.43, S.D. = 1.28) ตามลำดับ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความรุนแรงทางวาจาประกอบด้วย การใช้ความรุนแรงทางวาจาในครอบครัว การพบเห็นความรุนแรงทางวาจาจากสื่อ การใช้ความรุนแรงทางวาจาในกลุ่มเพื่อน และทัศนคติ ต่อความรุนแรงทางวาจา โดยแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กัน และมีรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยพบว่าการใช้ความรุนแรงทางวาจาในครอบครัวมีอิทธิพลโดยตรงต่อ การใช้ความรุนแรงทางวาจาในกลุ่มเพื่อน ทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางวาจา และพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางวาจา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง ดังนี้ .38 .19 และ .21 ตามลำดับ ในขณะที่การพบเห็นความรุนแรงทางวาจาจากสื่อมีอิทธิพลโดยตรงต่อ การใช้ความรุนแรงทางวาจาในกลุ่มเพื่อน และพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางวาจาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากัน คือ .27 การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลโดยตรงต่อทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางวาจา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ด้วย ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .55 และ ทัศนคติที่มีต่อความรุนแรงทางวาจามีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางวาจา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ .01 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง .44
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Criminology, Justice Administration and Society
Degree Grantor(s)
Mahidol University