การสื่อสารในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ศีกษากรณีการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด
dc.contributor.advisor | ดวงพร คำนูณวัฒน์ | |
dc.contributor.author | สุกัญญา เสรีนนท์ชัย | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T01:24:21Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T01:24:21Z | |
dc.date.copyright | 2550 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.description | ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550) | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการประชุม การสื่อสารที่ใช้ในการประชุม ปัจจัยด้านการสื่อสารที่มีผลต่อการสมานฉันท์ และ ความสอดคล้องกับนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มีวิธีการวิจัย คือ สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมในการประชุม 5 ครั้ง บันทึกเสียงและรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึก รวมถึง สัมภาษณ์ผู้เสียหาย ผู้กระทำผิด ผู้ทำหน้าที่สมานฉันท์ และนักวิชาการ ทั้งสิ้น 43 คน ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการประชุม ประกอบด้วย ขั้นตอนเตรียมการประชุม ระหว่างประชุม และ ติดตามความประพฤติเด็ก/เยาวชนหลังการประชุม การสื่อสารที่ใช้ในการประชุมครอบคลุม จำนวนองค์ประกอบ และบทบาทของผู้เข้าร่วมประชุม สถานที่และระยะเวลาการประชุม รวมถึง การเลือกใช้คำสรรพนาม ประโยคคำถาม น้ำเสียง การฟัง และการเขียน สำหรับ ปัจจัยด้านการสื่อสารที่มีผลต่อการสมานฉันท์ ได้แก่ การเข้าถึงข้อเท็จจริง ความคิด ความรู้สึก และความต้องการอย่างแท้จริงของผู้กระทำผิดและผู้เสียหาย จำนวนองค์ประกอบของผู้เข้าร่วมประชุม รูปแบบการสื่อสาร และการจัดที่นั่ง บทบาทของผู้ประสานงานพนักงานอัยการ และนักจิตวิทยา การพูด การฟัง และการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม ตลอดจน บรรยากาศการประชุมที่ไม่เป็นทางการ ทั้งนี้ การประชุมกลุ่มครอบครัวฯ จะเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมไทยได้ ต่อเมื่อสอดคล้องกับลักษณะ 4 ประการ คือ เป็นการประชุมอย่างสร้างสรรค์ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ สร้างเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง และขยายผลเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งทุกระดับ ควรใช้การประชุมกลุ่มครอบครัวฯ เป็นแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชนทุกระดับ โดยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนนั้น ควรพัฒนาการประชุมด้วยการถอดบทเรียนจากผู้มีประสบการณ์ เช่น ผู้ประสานงานเด็ก/เยาวชน ผู้เสียหาย ชุมชน เป็นต้น ควรมีการศึกษาการใช้อวัจนภาษาในกระบวนการประชุม เพื่อให้การศึกษาครั้งนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | |
dc.description.abstract | The objectives of this study were to study processes of a conference, communication in a conference, communicative factors affecting social harmony, and conformity of such processes with healthy public policy. The data of the study was collected by non-participatory observation in 5 conferences, sound recordings and record forms, and interviews of 43 victims, offenders, mediators, and academics. It was found that there were 3 main processes of communication: preparing the conference, during the conference, and follow-up of offenders' behavior after the conference. Communication characteristics of the conference were group size, group members, status of group members, places and length of a conference, as well as selection of pronouns, interrogative sentence, paralanguage, listening, and writing. Communicative factors affecting social harmony were real understanding of offenders and victims' cases, thoughts, feelings, and needs; group size, group members of the conference, pattern of communication, and seat arrangement; status of facilitators, prosecutors, and psychologists; speaking, listening, and selection of appropriate methods of communication; and informal conference atmosphere. Moreover, FCGC would become a healthy public policy if the processes could be an effective conference, bring about participation from all stakeholders, encourage mutual learning among its participants, and adapt to solve every level of conflict in Thai society. According to this study, it is recommended that FCGC should adapt itself to solve conflicts in every level of community, and follow ways of life of such a community. FCGC should be developed by organizing workshops and conferences for experienced people such as facilitators, offenders, victims, and their community. Furthermore, non-verbal language in processes of the conference should be analyzed so that this study could be more complete | |
dc.format.extent | ก-ญ, 252 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93913 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การสื่อสาร | |
dc.subject | กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ | |
dc.subject | ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน | |
dc.subject | ครอบครัว -- การประชุม | |
dc.title | การสื่อสารในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ศีกษากรณีการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชนเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด | |
dc.title.alternative | Communication in restorative justice : A case stydy of family and community group conferencing (FCGC) to remedy and rehabilitate children and juveniles who have commited offences | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4736104.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท | |
thesis.degree.discipline | ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |