ประสบการณ์การป่วยเป็นโรคเบาหวานของพระสงฆ์ไทย : ภายใต้แนวคิดปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์นิยม
dc.contributor.advisor | สุพจน์ เด่นดวง | |
dc.contributor.advisor | มัลลิกา มัติโก | |
dc.contributor.author | พระจตุพล พรานบุญ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T01:30:44Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T01:30:44Z | |
dc.date.copyright | 2556 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.description | สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556) | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของพระสงฆ์ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และรูปแบบการปฏิสัมพันธ์ ตลอดทั้งการให้ความหมายทางสังคมของผู้อื่นที่มีอิทธิพลต่อการจัดการกับโรคเบาหวานของพระสงฆ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จานวน 16 ราย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 33-74 ปี โดยมีภูมิเลานาที่พักอาศัยอยู่ภายในวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ในจังหวัดนครปฐม ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า พระสงฆ์ให้ความสาคัญกับผู้อื่น (ญาติโยม) มากกว่าเจ้าหน้าที่การแพทย์หรือหรือตัวของพระสงฆ์เอง คือ พระสงฆ์รับรู้ความผิดปกติในการป่วยได้ จากมารดาเป็นอันดับแรก อันดับที่สองคือญาติพี่น้อง อันดับสามคือญาติโยม และอันดับสุดท้ายคือหมอ พระสงฆ์ตัดสินใจไปตรวจก็เนื่องด้วยอิทธิพลของผู้อื่น เช่น พระสงฆ์ต้องการสร้างความสบายใจให้กับบุคคลในครอบครัว กลัวผู้อื่นจะเข้าใจผิดหรือตีตราตนเองไปในทางไม่ดี กลัวว่าอาการที่เกิดขึ้นจะสร้างปัญหาให้กับผู้อื่น กลัวว่าเจ้าอาวาสจะมองไม่ดี และกลัวหมอว่า พระสงฆ์มีความทุกข์จากการให้ความหมายของสังคมมากกว่าการให้ความหมายของเจ้าหน้าที่การแพทย์ เช่น ความทุกข์จากการสูญเสียความน่าเชื่อถือและการเลื่อมใสศรัทธา ความทุกข์จากการถูกเข้าใจผิดในสายตาผู้อื่น ความทุกข์จากต้องกลายเป็นภาระของญาติโยม ความทุกข์จากการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนพระสงฆ์ และ ความทุกข์จากการต้องคอยปกปิดอาการกับผู้อื่น พระสงฆ์ถูกตีตราจากผู้อื่นมากกว่าตนเอง เช่น ถูกมองว่าเป็นพระขี้เกียจ ถูกมองว่าเป็นพระเรื่องมาก ถูกมองว่าเป็นพระไม่สารวม ถูกมองว่าเป็นพระที่เอาเปรียบคนอื่น และถูกมองว่าเป็นพระทุศีลหรือมีศีลด่างพร้อย พระสงฆ์ให้ความหมายการป่วยจากผู้อื่น เช่น มองว่าเป็นโรคที่ไม่แน่นอน เป็นโรคที่ไม่รู้สาเหตุ เป็นโรคที่รักษาไม่หายและเป็นโรคที่ทุกๆ คนมี พระสงฆ์เปลี่ยนวิธีการรักษาก็เนื่องด้วยอิทธิพลของผู้อื่น เช่น โยมที่เขารู้จักกันเขาแนะนามา คนเขาเคยป่วยกินแล้วหาย คนในครอบครัวเขาซื้อมาถวาย เพื่อนเขาแนะมา และโยมที่สนิทกันเขาถวายมา การอยู่กับโรคเบาหวานก็ล้วนอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้อื่น เช่น การออกกาลังกาย การควบคุมอาหาร การพักผ่อน การใช้ยา การไปหาหมอ การแก้ไขอาการ การออกบิณฑบาต การรับกิจนิมนต์ และการเดินทางไปรักษา | |
dc.format.extent | ก-ซ, 151 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93529 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | สงฆ์ -- ไทย | |
dc.subject | เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล | |
dc.title | ประสบการณ์การป่วยเป็นโรคเบาหวานของพระสงฆ์ไทย : ภายใต้แนวคิดปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์นิยม | |
dc.title.alternative | Illness experience of Thai monks with type 2 diabetes : symbolic interactionism | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd470/5237906.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |