ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยประยุกต์แบบจำลองข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะทางพฤติกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
dc.contributor.advisor | ขวัญเมือง แก้วดำเกิง | |
dc.contributor.advisor | ธราดล เก่งการพานิช | |
dc.contributor.author | ชวนพิศ จักขุจันทร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-07-09T02:07:31Z | |
dc.date.available | 2024-07-09T02:07:31Z | |
dc.date.copyright | 2563 | |
dc.date.created | 2563 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563) | |
dc.description.abstract | เด็กไทยในช่วงอายุ 10-14 ปีมีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกสูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา การส่งเสริมให้เด็กวัยนี้มีความสามารถในป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยประยุกต์แบบจำลองข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะทางพฤติกรรมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 8 กิจกรรม ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการสอนตามหลักสูตรปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติเชิงอนุมาน ผลการทดลองพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ดังนั้นโปรแกรมนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างที่คล้ายคลึงกันโดยปรับเทคนิคการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมสอดคล้องกับความสนใจและการเรียนรู้ของนักเรียน | |
dc.description.abstract | Thai children between the ages of 10-14 years have the highest rate of dengue hemorrhagic fever in the past 4 years. It is important to encourage children of these age range to have ability to prevent dengue hemorrhagic fever by themselves. The purposes of this quasi-experimental research study aimed to investigate the effects of the health literacy promoting program on dengue hemorrhagic fever prevention by applying IMB model of grade five students, Bangkok Metropolis administration schools. Sample groups included 50 grade five students in Bangkok Metropolitan Administration schools, divided into 25 experimental groups and 25 comparison groups. The experimental group participated in the activities program for 8 times, while the comparison group received instruction in the normal curriculum of school. Data were collected before and after the experiment by using the questionnaire developed by the researcher, analyzed by descriptive statistics and compare differences between the average scores within a group and between groups by inferential statistics. Result of the study revealed that after the experiment, the experimental group had better statistically significantly health literacy, self-efficacy and behaviors about dengue hemorrhagic fever prevention than before the experiment and the comparison group (p < 0.05). Therefore, this program can be applied to a similar sample, by adjusting the techniques of organizing activities to suit the students' interests and learning. | |
dc.format.extent | ก-ฎ, 211 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99559 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ไข้เลือดออก -- การป้องกันและควบคุม -- ไทย -- กรุงเทพฯ | |
dc.subject | นักเรียนประถมศึกษา -- สุขภาพและอนามัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ | |
dc.title | ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยประยุกต์แบบจำลองข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะทางพฤติกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร | |
dc.title.alternative | Effects of the health literacy promoting program on dengue hemorrhagic fever prevention by applying IMB model for grade 5 students, Bangkok metropolitan administration schools | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2563/567/6036270.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |