Detection of β-Thalassemia mutations using a multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (Marms-PCR)
Issued Date
2008
Copyright Date
2008
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
vii, 132 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Clinical Pathology))--Mahidol University, 2008
Suggested Citation
Anchalee Thedsawad Detection of β-Thalassemia mutations using a multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (Marms-PCR). Thesis (M.Sc. (Clinical Pathology))--Mahidol University, 2008. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/96359
Title
Detection of β-Thalassemia mutations using a multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (Marms-PCR)
Alternative Title(s)
การตรวจหา β-Thalassemia mutations โดยใช้ multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (Marms-PCR)
Author(s)
Abstract
เบต้าธาลัสซีเมียเป็นกลุ่มของความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีความชุกร้อยละ 3-9% ได้มีการพัฒนาเทคนิคการตรวจหามิวเตชั่นที่เป็นสาเหตุของเบต้าธาลัสซีเมียโดย อาศัยปฏิกิริยา polymerase chain reaction ขึ้นหลายวิธี การศึกษาครั้งนี้ได้ออกแบบ primers สำหรับตรวจหามิวเตชั่นที่พบได้ในคนไทยทั้งชนิดที่พบได้บ่อยและพบได้ยากทั้งหมด 19 ชนิด โดยใช้วิธี multiplex amplification refractory mutation system polymerase chain reaction (MARMS-PCR) ซึ่งได้ออกแบบ primers สำหรับตรวจมิวเตชั่น 11 ชนิด ได้แก่ codon 14/15 (+G), codon 15 (-T), codon 19 (A-G), codon 26(G-T), codon 27/28 (+C), codon 35 (C-A), codon 41 (-C), codon 43 (G-T), codon 95 (+A), codon 123-125 (-ACCCCACC), position -86 (C-G) ส่วนมิวเตชั่นอีก 8 ชนิด ใช้ primers ตาม Bhardwaj U และคณะ โดยแบ่ง primers ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามมิวเตชั่นที่พบได้บ่อยไปจนถึงที่พบได้ยาก สำหรับตรวจคนไข้เบต้าธาลัสซีเมีย 250 ราย ซึ่งเป็นพาหะเบต้าธาลัสซีเมีย 178 ราย โฮโมซัยกัสเบต้าธาลัสซีเมีย 2 ราย และ เบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี 70 ราย โดยเริ่มหาชนิดของมิวเตชั่นจากมัลติเพล็กมิวเตชั่นกลุ่ม 1, กลุ่ม 2, กลุ่ม 3 และกลุ่ม 4 ตามลำดับ มิวเตชั่นที่เป็นสาเหตุของเบต้าธาลัสซีเมียในการศึกษาครั้งนี้พบได้ 14 ชนิด ซึ่ง 5 ชนิดแรกที่พบได้บ่อยที่สุด คือ codon 41/42 (-CTTT), codon 17 (A-T), position-28 (C-G), IVSII-654 (C-T) และ IVSI-5 (G-C) คิดเป็น 83.4% ของจำนวนคนไข้ทั้งหมด การศึกษาลักษณะทางโลหิตวิทยาแสดงถึงมิวเตชั่นที่ position-28 ซึ่งเป็นเบต้าบวกธาลัสซีเมียชนิดไม่รุนแรงมีค่า hematological parameters สูงกว่ากลุ่มเบต้าศูนย์ธาลัสซีเมียและเบต้าบวกธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง มิวเตชั่นชนิด codon 19 มีค่า HbA2 ต่ำที่สุดในกลุ่มพาหะเบต้าธาลัสซีเมีย แต่มีค่า HbF ต่ำที่สุด และมีค่า HbA สูงที่สุดในกลุ่มเบต้าธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี นอกจากนั้นในคนไข้เบต้าธาลัสซีเมียที่มีแอลฟ่าธาลัสซีเมียร่วมด้วยจะมีค่า Hb สูงขึ้นกว่าในคนไข้ที่เป็นเบต้าธาลัสซีเมียอย่างเดียว ในการศึกษาครั้งนี้ประสบความสำเร็จในการปรับสัดส่วนต่างๆของการเพิ่มปริมาณ DNA ได้อย่างเหมาะสม สำหรับตรวจมิวเตชั่นของเบต้าโกลบิน 19 ชนิด โดยวิธี MARMS-PCR ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตรวจในงานประจำได้
Description
Clinical Pathology (Mahidol University 2008)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
Degree Discipline
Clinical Pathology
Degree Grantor(s)
Mahidol University