การพัฒนางานดูแลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

dc.contributor.advisorวิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร
dc.contributor.advisorสมชาติ โตรักษา
dc.contributor.advisorฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
dc.contributor.authorวรันต์ภรณ์ พนสิทธิวนา
dc.date.accessioned2024-01-05T02:02:19Z
dc.date.available2024-01-05T02:02:19Z
dc.date.copyright2561
dc.date.created2561
dc.date.issued2567
dc.descriptionการบริหารโรงพยาบาล (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
dc.description.abstractผู้ป่วยวิกฤตจำเป็นต้องได้รับการดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย การวิจัยพัฒนาเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อน-หลัง การทดลองนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย นำไปทดลองที่หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่าง 16 มิถุนายน 2560 ถึง 15 กันยายน 2560 ให้หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นพื้นที่ควบคุม กลุ่มตัวอย่างด้านงาน คือ การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ในช่วงก่อนและหลังการทดลอง รวม167 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างด้านคน คือ ผู้รับบริการ 69 คน ผู้ให้บริการ 47 คน ผู้บริหาร 2 คน รวม 118 คน (163 ครั้ง) วัดผลการดำเนินงาน 5 ด้าน คือ ด้านปริมาณ คุณภาพ ระยะเวลาที่ใช้ ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และ ด้านเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที ค่าสถิติแพร์ที ค่าสถิติวิลค็อกสัน ค่าสถิติแมนวิทย์นียู ที่ระดับแอลฟา 0.05 และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นได้นำหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์อย่างสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ทดลอง โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ประกอบด้วย 11 หลักการ มีโครงสร้างด้านคน เงิน ของ และระบบงาน ที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ผู้ปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ให้เกิดการรับรู้เข้าใจ ปฏิบัติได้ ด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีวิธีการนำรูปแบบไปดำเนินการอย่างต่อเนื่องสู่ความยั่งยืน ที่สามารถทำได้จริงในบริบทของโรงพยาบาลรามาธิบดี เน้นการปฏิบัติที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูง ได้จัดทำผังการไหลเวียนของงานดูแลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย เป็นลายลักษณ์อักษร โดยใช้ผู้ป่วยและหลักการพยาบาลเป็นศูนย์กลาง หลังการทดลอง พบว่า ปริมาณงานไม่เพิ่มขึ้น อัตราความถูกต้องของการปฏิบัติตามมาตรฐานเพิ่มขึ้น (p=0.003) ระยะเวลาที่ใช้ไม่เพิ่มขึ้น ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานไม่ลดลง และต้นทุนต่อหน่วยในการให้บริการลดลง (p<0.001) เสนอแนะให้ดำเนินการวิจัยต่อไปให้ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล และพัฒนาจนเป็นตัวแบบที่ดีของประเทศที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งๆ ขึ้น เสนอให้เพิ่มความเข้มข้นในนโยบายการให้บริการสุขภาพ ที่เน้นการทำงานแบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ
dc.description.abstractCaring for patients in intensive care units (ICU) and preventing complications of peripheral intravenous infusion is crucial. This experimental development research of two groups with pre-test and post-test designs was aimed at developing a working model for nursing patients with peripheral intravenous infusion at the Medical Intensive Care Unit, Faculty of Medicine, Ramathibodi hospital. The research was conducted from June 16 to September 15, 2017. The control area was in the Cardiac Care Unit, Ramathibodi hospital. The sample of work was care implementation for patients with peripheral intravenous infusion during pre- and post-experimental phases in total of 167 times. The sample of participants included 69 service receivers, 47 service providers/nurses, and 2 managers. The nursing care was measured in 5 aspects: quantity, quality, duration, satisfaction of individuals involved, and economics. Data was analyzed using descriptive statistics, T-values, Paired T tests, Wilcoxon Signed-Rank test, Mann-Whitney U test with the alpha level at 0.05, and content analysis. The research findings revealed that the developed model applied 11 involved academics principles harmoniously with the context of the experimental area by using existing resources. The clearly written structures of workers, finance, equipment, and service systems helped the workers to understand and perform work by themselves. They were able to apply this model further in real contexts at Ramathibodi hospital, which emphasized simple but highly efficient work operations. The workflow chart to care for patients with peripheral intravenous infusion was clearly written by focusing on patient centeredness and nursing principles. After the experiment, the workers' workload did not increase, but the accuracy rate to follow the standard increased (p=0.003); work duration did not increase, the workers' satisfaction did not decrease, and cost per service unit decreased (p<0. 0 01). For recommendations, the research should be continuously conducted throughout the entire hospital and developed to be a good working model of the country with higher efficiency. Policies on health service provisions should be more intense by focusing more on integrative work and multidisciplinary participation for patients to receive quality nursing care.
dc.format.extentก-ญ, 268 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การบริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91896
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการเจาะหลอดเลือดดำ
dc.subjectการดูแลขั้นวิกฤต
dc.subjectผู้ป่วยหนัก
dc.titleการพัฒนางานดูแลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
dc.title.alternativeDevelopment of nursing care in patients with peripheral intravenous infusion at medical intensive care unit, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/545/5537573.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการบริหารโรงพยาบาล
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files