Kinetic release of tramadol hydrochloride from hydrophilic swellable matrices containing two different directly compressible fillers
Issued Date
2016
Copyright Date
2016
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xxvi, 161 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Pharmaceutics))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Mesamas Kanchanapan Kinetic release of tramadol hydrochloride from hydrophilic swellable matrices containing two different directly compressible fillers. Thesis (M.Sc. (Pharmaceutics))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93293
Title
Kinetic release of tramadol hydrochloride from hydrophilic swellable matrices containing two different directly compressible fillers
Alternative Title(s)
การปลดปล่อยเชิงจลนศาสตร์ของยาทรามาดอลไฮโดรคลอไรด์จากเมทริกซ์พองตัวชอบน้ำซึ่งประกอบด้วยสารช่วยตอกตรงสองชนิดที่แตกต่างกัน
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
The effects of mass fractions (mf) and types of polymer on the release kinetics of tramadol HCl (TMH) from hydrophilic swellable matrices were studied. Each formulation of the 500 mg tablet contains 200 mg TMH at a fixed mf of 0.40, polymer, i.e., hydroxypropylmethylcellulose (HPMC) K4M, K15M, xanthan gum (XG) or guar gum (GG) at an mf of 0.15, 0.30, 0.45 and 0.60, respectively, and dibasic calcium phosphate dihydrate (DCPD) or spray dried lactose (SDL) as a direct compression filler. Percentage drug release (Qi) was carried out in an USP dissolution apparatus type II in distilled water at various times (t) from 0 - 24 h. Qi of all formulations and the square root of time was shown to have a good linear relationship with a high regression constant that indicated that the drug release from the matrix tablets followed the Higuchi model of diffusion. The results showed that the type and mf of polymer and also the type of filler that could affect the rate constant (k), natural convection (Q0) and the lag time of TMH from matrix tablets. For various polymers used, XG provided the best retardability for drug release at all mf. For different fillers used, insoluble DCPD showed better retardability than SDL. The kinetics of TMH release from matrix tablets, using insoluble DCPD, was described by Shah et al model of diffusion, whereas those from matrices using soluble SDL was described by Jateleela et al model. From the calculation, using proposed equations in both models, most of the observed release profiles were closely fitted the predicted release profiles. Furthermore, the mechanisms of TMH transport from matrix tablets were described by the transport equation of Korsmeyer and Peppas. Matrices using GG provided quasi- Fickian diffusion, whereas most matrices using HPMC K4M or K15M provided non-Fickian transport, except matrices containing 0.15 either HPMC provided quasi-Fickian diffusion. For matrices using XG, the mf of XG, which changed the quasi-Fickian diffusion to non-Fickian transport was 0.60 XG for matrices containing DCPD and 0.45 XG for those containing SDL, respectively.
ศึกษาผลของเศษส่วนมวลและชนิดของพอลิเมอร์ต่อจลนศาสตร์การปลดปล่อยยาทรามาดอลไฮโดรคลอไรด์ (TMH) แต่ละสูตรตำรับหนัก 500 มิลลิกรัม ประกอบด้วยตัวยา 200 มิลลิกรัม มีเศษส่วนมวลคงที่ที่ 0.4 พอลิเมอร์ที่ใช้ คือ ไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส เค 4 เอ็ม (HPMC K4M), เค 15 เอ็ม (HPMC K15M), แซนแธนกัม (XG) หรือ กัวกัม (GG) ที่เศษส่วนมวล 0.15, 0.30, 0.45 และ 0.60 ตามลำดับ และสารช่วยตอกตรงคือไดเบสิกแคลเซียมฟอสเฟตไดไฮเดรต (DCPD) หรือ สเปรย์ดรายด์แลกโตส (SDL) การศึกษาปริมาณการปลดปล่อยตัวยาเป็นร้อยละ (Qi) ที่เวลาต่างๆ ได้ดำเนินการโดยเครื่องมือทดสอบการละลายของ USP แบบที่ 2 โดยใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย ที่เวลา t ตั้งแต่ 0 - 24 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า Qi ของทุกตำรับและรากที่สองของเวลามีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงที่ดีพร้อมค่าสัมประสิทธ์ิการถดถอยที่สูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปลดปล่อยยาจากเมทริกซ์เป็นไปตามแม่แบบการปลดปล่อยของฮิกูชิ ค่าคงที่การปลดปล่อยยาของทุกตำรับเป็นตัวแปรในการประเมินผลโดยการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าชนิดและเศษส่วนมวลของพอลิเมอร์ และชนิดสารช่วยตอกตรงมีผลต่อค่าคงที่ของอัตราการปลดปล่อยยา (k) ปริมาณปลดปล่อยยาที่เวลาศูนย์ (Q0) และเวลาหน่วงก่อนการปลดปล่อยยา ตำรับเมทริกซ์ที่ใช้แซนแธนกัมเป็นพอลิเมอร์แสดงการหน่วงการปลดปล่อยมากที่สุดที่ทุกเศษส่วนมวล สำหรับสารช่วยตอกที่ไม่ละลายน้ำ DCPD จะแสดงการหน่วงการปลดปล่อยยาได้มากกว่า SDL การปลดปล่อยเชิงจลนศาสตร์ของ TMH อธิบายโดยใช้สมการแม่แบบของชาร์และคณะสำหรับตำรับที่ใช้ DCPD เป็นสารช่วยตอกตรง และใช้สมการแม่แบบของเจตลีลาและคณะสำหรับตำรับที่ใช้ SDL เป็นสารช่วยตอกตรง พบว่าสมการแม่แบบดังกล่าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจในการทำนายการปลดปล่อย TMH ที่ช่วงเวลาต่างๆ จากเมทริกซ์ที่ประกอบด้วยพอลิเมอร์ต่างชนิดที่เศษส่วนมวลต่างกัน ส่วนกลไกการทรานสปอร์ตของยานั้นเมทริกซ์ที่ใช้ GG จะเป็น quasi-Fickian diffusion เมทริกซ์ที่ใช้ HPMC จะให้ non-Fickian transport ยกเว้นที่เศษส่วนมวลต่ำสุดจะให้ quasi-Fickian diffusion ส่วนเมทริกซ์ที่ใช้ XG นั้น เศษส่วนมวลที่ทำให้กลไกแบบ quasi-Fickian diffusion เป็น non-Fickian transport คือ 0.60 XG เมื่อใช้ DCPD และ 0.45 XG เมื่อใช้ SDL ตามลำดับ
ศึกษาผลของเศษส่วนมวลและชนิดของพอลิเมอร์ต่อจลนศาสตร์การปลดปล่อยยาทรามาดอลไฮโดรคลอไรด์ (TMH) แต่ละสูตรตำรับหนัก 500 มิลลิกรัม ประกอบด้วยตัวยา 200 มิลลิกรัม มีเศษส่วนมวลคงที่ที่ 0.4 พอลิเมอร์ที่ใช้ คือ ไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส เค 4 เอ็ม (HPMC K4M), เค 15 เอ็ม (HPMC K15M), แซนแธนกัม (XG) หรือ กัวกัม (GG) ที่เศษส่วนมวล 0.15, 0.30, 0.45 และ 0.60 ตามลำดับ และสารช่วยตอกตรงคือไดเบสิกแคลเซียมฟอสเฟตไดไฮเดรต (DCPD) หรือ สเปรย์ดรายด์แลกโตส (SDL) การศึกษาปริมาณการปลดปล่อยตัวยาเป็นร้อยละ (Qi) ที่เวลาต่างๆ ได้ดำเนินการโดยเครื่องมือทดสอบการละลายของ USP แบบที่ 2 โดยใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย ที่เวลา t ตั้งแต่ 0 - 24 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า Qi ของทุกตำรับและรากที่สองของเวลามีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงที่ดีพร้อมค่าสัมประสิทธ์ิการถดถอยที่สูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปลดปล่อยยาจากเมทริกซ์เป็นไปตามแม่แบบการปลดปล่อยของฮิกูชิ ค่าคงที่การปลดปล่อยยาของทุกตำรับเป็นตัวแปรในการประเมินผลโดยการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าชนิดและเศษส่วนมวลของพอลิเมอร์ และชนิดสารช่วยตอกตรงมีผลต่อค่าคงที่ของอัตราการปลดปล่อยยา (k) ปริมาณปลดปล่อยยาที่เวลาศูนย์ (Q0) และเวลาหน่วงก่อนการปลดปล่อยยา ตำรับเมทริกซ์ที่ใช้แซนแธนกัมเป็นพอลิเมอร์แสดงการหน่วงการปลดปล่อยมากที่สุดที่ทุกเศษส่วนมวล สำหรับสารช่วยตอกที่ไม่ละลายน้ำ DCPD จะแสดงการหน่วงการปลดปล่อยยาได้มากกว่า SDL การปลดปล่อยเชิงจลนศาสตร์ของ TMH อธิบายโดยใช้สมการแม่แบบของชาร์และคณะสำหรับตำรับที่ใช้ DCPD เป็นสารช่วยตอกตรง และใช้สมการแม่แบบของเจตลีลาและคณะสำหรับตำรับที่ใช้ SDL เป็นสารช่วยตอกตรง พบว่าสมการแม่แบบดังกล่าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจในการทำนายการปลดปล่อย TMH ที่ช่วงเวลาต่างๆ จากเมทริกซ์ที่ประกอบด้วยพอลิเมอร์ต่างชนิดที่เศษส่วนมวลต่างกัน ส่วนกลไกการทรานสปอร์ตของยานั้นเมทริกซ์ที่ใช้ GG จะเป็น quasi-Fickian diffusion เมทริกซ์ที่ใช้ HPMC จะให้ non-Fickian transport ยกเว้นที่เศษส่วนมวลต่ำสุดจะให้ quasi-Fickian diffusion ส่วนเมทริกซ์ที่ใช้ XG นั้น เศษส่วนมวลที่ทำให้กลไกแบบ quasi-Fickian diffusion เป็น non-Fickian transport คือ 0.60 XG เมื่อใช้ DCPD และ 0.45 XG เมื่อใช้ SDL ตามลำดับ
Description
Pharmaceutics (Mahidol University 2016)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Pharmacy
Degree Discipline
Pharmaceutics
Degree Grantor(s)
Mahidol University