ความคาดหวังกับการรับรู้จริงต่อการถ่ายภาพรังสีทันตกรรมระบบดิจิตอลของผู้รับบริการโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร
dc.contributor.author | จรุงกลิ่น วงศ์จิ๋วบุุตร | en_US |
dc.contributor.author | ณัฐพร ธีระรังสิกุล | en_US |
dc.contributor.author | นงค์นุช วงศาลาภ | en_US |
dc.contributor.author | สมหญิง สว่างสุวรรณ | en_US |
dc.contributor.author | อาภาพร เสน่ห์ไทย | en_US |
dc.contributor.author | สุขประเสริฐ จันแก้ว | en_US |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-05-02T09:19:43Z | |
dc.date.available | 2018-05-02T09:19:43Z | |
dc.date.created | 2561-05-02 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกครั้งที่ 3. ห้องอัมรินทร์ โรงแรมเอส ดี อเวนิว ปิ่นเกล้า, กรุงเทพฯ. 3 เมษายน 2558. หน้า 117-138 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยเรื่องความคาดหวังกับการรับรู้จริงต่อการถ่ายภาพรังสีทันตกรรมระบบดิจิตอลของผู้รับบริการโรงพยาบาลทันตกรรมหาจักรีสิรินธร มี วัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับความคาดหวังและการรับรู้จริงต่อการถ่ายภาพ รังสีทันตกรรมระบบดิจิตอล ๒)ศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายภาพรังสีทันตกรรม ระบบดิจิตอลตามความคาดหวังและการรับรู้จริงของผู้มารับบริการโรงพยาบาล ทันตกรรมมหาจักรสิรินธร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้มารับบริการทางทันตกรรม โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจัรกรีสิรินธร ในช่วงระยะเวลา ๓ เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ กลุ่มตัวอย่างเลือกตัวอย่างตามความสะดวก จากกลุ่มผู้มารับบริการที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จํานวน ๒๗๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามความคาดหวังกับการรับรู้จริงต่อการถ่ายภาพรังสี ทันตกรรมระบบดิจิตอล ซึ่งพัฒนามาจากการทบทวนวรรณกรรมและผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน ๒ ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างหลังจากได้รับการถ่ายภาพรังสีทันตกรรม ตรวจสอบความครบถ้วนของมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า ความคาดหวังต่อการถ่ายภาพรังสีทันตกรรมระบบดิจิตอลของผู้มารับบริการโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคาดหวังด้านมนุษยสัมพันธ์และประสิทธิภาพของบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือด้านความปลอดภัยในการถ่ายภาพรังสี ด้านการจัดการข้อมูลภาพถ่ายรังสี และขั้นตอนการถ่ายภาพรังสีตามลําดับ สําหรับการรับรู้จริงต่อการถ่ายภาพรังสีทันตกรรมระบบดิจิตอลของผู้รับบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรับรู้จริงด้านการจัดการข้อมูลภาพถ่ายรังสีและด้านมนุษยสัมพันธ์และประสิทธิภาพของบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือด้านความปลอดภัยในการถ่ายภาพรังสี และขั้นตอนการถ่ายภาพรังสีตามลําดับ ส่วนการถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมระบบดิจิตอลตามความคาดหวังและการรับรู้จริงผู้มารับบริการในภาพรวมมีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบรายด้านพบว่า ทั้ง ๔ ด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติโดยมีการรับรู้จริงต่อการถ่ายภาพรังสีทันตกรรมระบบดิจิตอลทั้ง ๔ ด้านมากกว่าการถ่ายภาพรังสีทันตกรรมระบบดิจิตอลที่ผู้รับบริการคาดหวังไว้ คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์และประสิทธิภาพของบุคลากรมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดการข้อมูลภาพถ่ายรังสี ด้านความปลอดภัยในการถ่ายภาพรังสี ด้านขั้นตอนการถ่ายภาพรังสีตามลําดับ | en_US |
dc.description.abstract | The objectives of this study were ๑) to study level of expectations and perception of digital dental x-ray radiography of patients Maha chakri sirindhon Dental hospital ๒) to study the comparative between expectation and perception of patients. Research group was patients Of Maha chakri sirindhon Dental hospital about ๓ months Since October-December ๒๐๑๓. The ๒๗๓ volunteer patients Use a questionnaire for research. Which improving from literature and corrected by ๒ expertes. Collected information by patients answer Questionnaire. Corrected and information analysis by statistics, perventage, average, standard deviation and t-test. The results showed the expectation of digital dental x-ray radiography of patients Maha chakri sirindhon Dental hospital is hight in overview by human relations and personal effective were highest and x-ray safety , data management , x-ray process respectively. Perception of digital dental x-ray radiography of patients Maha chakri sirindhon Dental hospital is highest in overview by data management, human relations and personal effective were highest and x-ray safety, x-ray process respectively. Digital dental x-ray radiography by the expectation and perception of patients in overview is different when compared to statistics on all ๔ sides by the perception of dental x-ray on all ๔ sides more than dental x-ray of patients expectation. Overview by human relations and personal effective were highest and x-ray safety , x-ray process respectively, data management in order. | en_US |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11206 | |
dc.language.iso | tha | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.rights.holder | ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ความคาดหวัง | en_US |
dc.subject | การรับรู้ | en_US |
dc.subject | การถ่ายภาพรังสีทันตกรรมระบบดิจิตอล | en_US |
dc.title | ความคาดหวังกับการรับรู้จริงต่อการถ่ายภาพรังสีทันตกรรมระบบดิจิตอลของผู้รับบริการโรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร | en_US |
dc.title.alternative | Expectation with real acknowledgement against digital X-ray machine of patients at Maha chaakri Sirindhon Dental Hospital | en_US |
dc.type | Proceeding Article | en_US |
mods.location.physicalLocation | Institute for Population and Social Research Library | |
mods.location.physicalLocation | Research Institute for Languages and Cultures of Asia | |
mods.location.physicalLocation | Central Library | |
mods.location.physicalLocation | Faculty of Veterinary Science Library | |
mods.location.physicalLocation | Golden Jubilee Medical Center Library | |
mods.location.physicalLocation | Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Library | |
mu.identifier.callno | W3 ก482ห ครั้งที่ 3 2558 [LIPR, LILC, LICL, LIVS, LIGJ, LIRA] |