การรับรู้ความสามารถของตนเองและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 125 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
ชนารัตน์ วรรณประเสริฐ การรับรู้ความสามารถของตนเองและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92531
Title
การรับรู้ความสามารถของตนเองและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
Alternative Title(s)
The effects of self-efficacy and parenting styles upon grade 4-6 students with low academic achievement
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมโครงการสุขภาพจิตโรงเรียน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 274 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และการสุ่มอย่างง่าย แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสำรวจการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนและแบบสารวจรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และสถิติทดสอบค่าที (T-test) สรุปผลการวิจัยดังนี้ 1. การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง มีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปกติ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษาในครั้งนี้ มีความสำคัญต่อ ผู้ที่มีส่วนดูแลเด็ก เช่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู ฯลฯ นาผลการวิจัยไปจัดกิจกรรมในการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพราะเป็นสิ่งสำคัญและจุดเริ่มต้นในการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น ความภาคภูมิใจในตนเอง ในการนาไปสู่การเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพของเด็กต่อไป
The objective of this research was to study the effects of self - efficacy and parenting styles upon grade 4-6 students with low academic achievement. The sample group was 274 students in grade 4 - 6 who participated in the School Mental Health Project from a few schools in Bangkok. The stratified random sampling and simple random sampling were used to select the sample group. Participants were divided into 2 groups the group of students with low academic achievement and the group of students with average academic achievement. Moreover, the assessments included Academic Self-Efficacy Questionnaire and Parenting Style Questionnaire with the results were analyzed using Descriptive Statistics, Pearson Correlation Coefficient and Independent Sample T-test. The results were as follow 1. There was a significant correlation between Academic self-efficacy and academic achievements at p = 0.01. 2. Neglectful parenting style had a significantly negative correlationship with academic achievement at p = 0.01. On the other hand, authoritative, authoritarian and permissive parenting styles had no correlation with academic achievements. 3. There was a significant difference in academic self-efficacy between the students who had low academic achievements and the ones with the average academic achievements at p = 0.01. 4. There was a significant difference in neglectful parenting style between students who had low academic achievements and the ones with the average academic achievements at p = 0.01. 5. There was no significant difference in authoritative, authoritarian and permissive parenting styles between students who had low academic achievements and the ones with the average academic achievements. This study suggests that the main care - takers of children, such as father, mothers or teachers should apply this result in creating self-efficacy activities for students because it is very important and is the start of other development i.e. self- esteem that would help students to learn better and more effectively
The objective of this research was to study the effects of self - efficacy and parenting styles upon grade 4-6 students with low academic achievement. The sample group was 274 students in grade 4 - 6 who participated in the School Mental Health Project from a few schools in Bangkok. The stratified random sampling and simple random sampling were used to select the sample group. Participants were divided into 2 groups the group of students with low academic achievement and the group of students with average academic achievement. Moreover, the assessments included Academic Self-Efficacy Questionnaire and Parenting Style Questionnaire with the results were analyzed using Descriptive Statistics, Pearson Correlation Coefficient and Independent Sample T-test. The results were as follow 1. There was a significant correlation between Academic self-efficacy and academic achievements at p = 0.01. 2. Neglectful parenting style had a significantly negative correlationship with academic achievement at p = 0.01. On the other hand, authoritative, authoritarian and permissive parenting styles had no correlation with academic achievements. 3. There was a significant difference in academic self-efficacy between the students who had low academic achievements and the ones with the average academic achievements at p = 0.01. 4. There was a significant difference in neglectful parenting style between students who had low academic achievements and the ones with the average academic achievements at p = 0.01. 5. There was no significant difference in authoritative, authoritarian and permissive parenting styles between students who had low academic achievements and the ones with the average academic achievements. This study suggests that the main care - takers of children, such as father, mothers or teachers should apply this result in creating self-efficacy activities for students because it is very important and is the start of other development i.e. self- esteem that would help students to learn better and more effectively
Description
จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
Degree Discipline
จิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล