ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเชียงคานกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินและน้ำ
Issued Date
2557
Copyright Date
2557
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[ก]-ฎ, 274 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
Suggested Citation
วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเชียงคานกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินและน้ำ. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วัฒนธรรมและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93428
Title
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเชียงคานกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์จากที่ดินและน้ำ
Alternative Title(s)
Chiangkhan's cultural landscape and the changing patterns of land and water uses
Author(s)
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มีการประยุกต์ และบูรณาการความรู้ใน มิติด้านการศึกษาพื้นที่ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape) และวาทกรรมการพัฒนา (Development Discourse) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพยากรที่ดิน และน้ำของชาวเชียงคานในมิติด้านเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมือง เพื่อหาเหตุปัจจัยของการเกิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิต และความสัมพันธ์ของผู้คนในเมืองเชียงคาน ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพยากรที่ส่งผลต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเชียง คานโดยหลักแล้วเป็นผลมาจากเหตุปัจจัย 4 ประการ ประกอบด้วย 1) นโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกพืชเศรษฐกิจ 2) การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศลาวในปี พ.ศ. 2518 3) การแก้ไขปัญหาแม่น้ำโขง กัดเซาะพื้นที่ริมตลิ่งในปี พ.ศ. 2546 และ4) การก้าวเข้าสู่เมืองท่องเที่ยวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ดังกล่าวนี้ได้สะท้อน ภาพวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นปัจเจกมากขึ้น แต่เนื่องด้วยเมืองเชียงคานยัง เป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอย่างรุนแรง ทำให้พลวัตของชุมชนท้องถิ่นของเชียงคานอยู่ใน ลักษณะของการปรับตัวไปตามกระแสของการพัฒนาที่เข้ามาในแต่ละยุคแต่ละสมัย ทั้งยังทำให้การแสดงออกถึง การต่อต้านในประเด็นที่สัมพันธ์กับการพัฒนาในช่วงเวลาที่ผ่านมายังจำกัดอยู่เพียงการแสดงออกผ่านการ วิพากษ์วิจารณ์ และการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะกิจเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้แล้วยังสะท้อนวิธีคิดของผู้คน ที่เกิดจากการมองท้องถิ่นเป็นหน่วยทางความคิดที่มีความหลากหลายในบริบทของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาในกระแสหลัก ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านความพร้อมของทรัพยากรที่อยู่การ ครอบครองของปัจเจก รวมถึงศักยภาพของคนในแต่ละกลุ่มที่เอื้อต่อการปรับตัวในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป หากแต่มีจุดร่วมกันอยู่ที่การสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองผ่านการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับการเข้าถึง ผลประโยชน์ ซึ่งเป็นผลมาจากการตระหนักรู้ถึงความพึงมีพึงได้เพื่อตอบสนองความปรารถนาของตน
This is a qualitative research of the application and integration of knowledge from several perspectives; landscape study, cultural landscape, and development discourse. The aim of this study is to acquire a better understanding of how people in Chiangkhan District used land and water resources in economic dimension which affect the town's cultural landscape, the refection of life and relationship of people in Chaingkhan. The study found that the change in the usage of resources, which affected the town cultural landscape is mainly the result of four factors: (1) the government's policy in encouraging local farmer to grow economic crops, (2) the change of regime in Laos in 1975, (3) the approach to solving of riverside erosion problem along Mekong River in 2003, and (4) the town advancments in tourism in 2009. These prementioned factors reflect how life and relationship between people in area shifted towards individualism. Not yet strongly affect by development, however, the dynamic of local communities in Chiangkhan has been to adapt to each waves of development. Also, the expression of opposition to development issue was, so far, mostly limited to voiced criticisms, and to promote ad hoc community activities. The changes reflect the people's perspective on viewing the local community, in the context of mainstream capitalistic development concepts, as a collective intelligence with diversity. This concept is also associate with individual resources readiness, and each group's potential to adapt, which was dealt with differently by each group. Nevertheless, the common ground in every adaptation is to generate wealth by providing additional access to benefits. The ideology is the result of the realization that all individuals have rights to satisfy their desires.
This is a qualitative research of the application and integration of knowledge from several perspectives; landscape study, cultural landscape, and development discourse. The aim of this study is to acquire a better understanding of how people in Chiangkhan District used land and water resources in economic dimension which affect the town's cultural landscape, the refection of life and relationship of people in Chaingkhan. The study found that the change in the usage of resources, which affected the town cultural landscape is mainly the result of four factors: (1) the government's policy in encouraging local farmer to grow economic crops, (2) the change of regime in Laos in 1975, (3) the approach to solving of riverside erosion problem along Mekong River in 2003, and (4) the town advancments in tourism in 2009. These prementioned factors reflect how life and relationship between people in area shifted towards individualism. Not yet strongly affect by development, however, the dynamic of local communities in Chiangkhan has been to adapt to each waves of development. Also, the expression of opposition to development issue was, so far, mostly limited to voiced criticisms, and to promote ad hoc community activities. The changes reflect the people's perspective on viewing the local community, in the context of mainstream capitalistic development concepts, as a collective intelligence with diversity. This concept is also associate with individual resources readiness, and each group's potential to adapt, which was dealt with differently by each group. Nevertheless, the common ground in every adaptation is to generate wealth by providing additional access to benefits. The ideology is the result of the realization that all individuals have rights to satisfy their desires.
Description
วัฒนธรรมและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
วัฒนธรรมและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล