A study of language attitude toward thai dialects and their speakers : a case study of four campuses of Rajamangala Institute of Technology
Issued Date
2002
Copyright Date
2002
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xiv, 99 leaves
ISBN
9740421598
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.A. (Linguistics))--Mahidol University, 2002
Suggested Citation
Niramol Chanyam A study of language attitude toward thai dialects and their speakers : a case study of four campuses of Rajamangala Institute of Technology. Thesis (M.A. (Linguistics))--Mahidol University, 2002. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/107342
Title
A study of language attitude toward thai dialects and their speakers : a case study of four campuses of Rajamangala Institute of Technology
Alternative Title(s)
การศึกษาทัศนคติต่อภาษาและต่อผู้พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ : กรณีศึกษานักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 4 วิทยาเขต
Author(s)
Abstract
This study aims to investigate the attitudinal reactions of students of Rajamangala Institute of Technology (four campuses) who evaluated each of four Thai dialect speakers (from both their own dialect group and from contrasting groups) by using the matched-guise technique. This technique allows researchers to determine the reactions of respondents toward regional dialects and their speakers by using recordings of guise speakers as stimulus voices. The sample comprises 297 students from four campuses of Rajamangala Institute of Technology-Northern Campus (Chiangmai), Khonkaen Campus, Nonthaburi Campus, and Southern Campus (Songkhla)-who served as judges and respondents. Each member of the sample heard six stimulus voices recorded by three guise speakers. Each speaker read a passage once in his original dialect and once in the Bangkok Thai dialect. The respondents were asked to imagine that they were listening to the telephone or radio and to judge each speaker's personality from the voice. The respondents were not told that there were only three speakers. The research findings show that the respondents evaluate the Bangkok guise speakers most favorably on personality characteristics and status; the mean ratings for the Bangkok guise speakers are the highest. On the other hand, with respect to
amiability, Bangkok guise speakers are rated least favorably. By using the matched guise technique, the respondents' evaluations of each guise are different, despite the fact that each speaker assumes two guises. This shows that dialects do influence human thought and attitudinal reactions toward speakers. An analysis of attitudinal reactions toward regional dialect speakers by respondents from each campus shows that there is a significance of differences in evaluations of the Northeastern guise at .00, and of the Bangkok guise at .04. However, there is no significance of differences in evaluations of the Southern guise and Northern guise speaker- -that is, the attitudinal reactions of respondents from different campuses toward the Southern guise and Northern guise speaker are in the same direction. Overall, the sample groups' attitudinal reactions toward the Bangkok speakers are the highest and there is a significance of difference of at.00. This means that the campus and region of the respondent influence the evaluation. The respondents rate Bangkok speakers as being of higher status and give them more positive evaluations in general than the other guises. Bangkok-speaking respondents always rate their guise speaker higher than other speakers, followed by the Southern guise. Northern and Northeastern-speaking respondents rate the Southern guise quite low; similarly, Southern-speaking respondents rate the Northern and Northeastern guises quite low.
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อภาษาและต่อผู้พูดภาษาถิ่นต่างๆ ศึกษากรณีนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งเป็นตัวแทนผู้พูดภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่มีต่อภาษาและผู้พูดภาษาถิ่นของตนเองและถิ่นอื่น โดยใช้วิธีเทคนิคการพรางเสียงคู่ (matched-guise technique) ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ตอบแสดงพฤติกรรมที่มีต่อภาษาถิ่นต่างๆ โดยใช้เสียงพูดเป็นเครื่องช่วยกระตุ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 297 คน ได้แก่ วิทยาเขตภาคเหนือ (เชียงใหม่), วิทยาเขตขอนแก่น,วิทยาเขตนนทบุรี และวิทยาเขตภาคใต้ (สงขลา) กลุ่มตัวอย่างจะได้ยินเสียงพูด 6 เสียงพูด จากผู้พูด 3 คน ซึ่งแต่ละคนจะบันทึกเสียงพูด 2 เสียง ได้แก่เสียงพูดที่เป็นภาษาถิ่นของตน และ เสียงพูดที่เป็นภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะต้องประเมินผู้พูดในด้านบุคลิกลักษณะ และ สถานภาพทางสังคมจากเสียงที่ได้รับฟัง เช่นเดียวกับการฟังวิทยุ ซึ่งผู้ฟังจะไม่เห็นผู้พูด และขอให้จินตนาการ บุคลิกลักษณะและสถานภาพของผู้พูดจากเสียงที่ได้ยิน ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจะไม่ทราบว่าเสียงทั้ง 6 เสียง ที่ได้ยินนั้นมาจากผู้พูดเพียง 3 คน ไม่ใช่ 6 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้ประเมิน ประเมินผู้พูดภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ในด้านบุคลิกลักษณะและสถานภาพสูงสุดแต่ในทางตรงกันข้าม ในด้านความเป็นมิตรผู้พูดภาษาไทยอิ่นกรุงเทพฯได้รับการประเมินต่ำสุด ในการใช้วิธีเทคนิคการพรางเสียงคู่ (matched-guise technique) ผลปรากฏว่าการประเมินผู้พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ ต่างกัน ซึ่งความจริงแล้วเสียงที่ได้ค่าประเมินต่างกันนั้นพูดโดยบุคคลคนเดียวกัน สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าภาษาอิ่นที่ต่างกันมีอิทธิพลต่อความคิดของบุคคล และมีอิทธิพลต่อผลสะท้อนทางทัศนคติที่มีต่อผู้พูด ในด้านการประเมินผลของนักศึกษาแต่ละวิทยาเขต ฯ พบว่าทัศนคติที่แต่ละวิทยาเขต ฯ มีต่อผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00, ต่อผู้พูดภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ที่ระดับ .04 แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้และผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ผลสะท้อนทางทัศนคติของนักศึกษาวิทยาเขต ฯ ต่าง ๆ ต่อผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้และผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นไป ในแนวทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามการประเมินทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อผู้พูดไทยถิ่นกรุงเทพฯ สูงสุด และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของวิทยาเขต ฯ และภูมิภาคที่ต่างกันมีอิทธิพลต่อการประเมินกลุ่มตัวอย่างประเมินผู้พูดภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ซึ่งมาจากสังคมที่มีสถานภาพสูงโดยประเมินในทางบวกมากกว่าผู้พูดภาษาถิ่นอื่น ๆ ผู้พูดภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ มักจะประเมินผู้พูดของตนเองสูงกว่าผู้พูดภาษาไทยถิ่นอื่น รองลงมาได้แก่ผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างชาวเหนือและชาวตะวันออกเฉียงเหนือมักจะให้คะแนนผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้ค่อนข้างต่ำ ในทำนองเดียวกันกลุ่มตัวอย่างชาวใต้ที่ประเมินผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทย ถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือต่ำเช่นกัน
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อภาษาและต่อผู้พูดภาษาถิ่นต่างๆ ศึกษากรณีนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งเป็นตัวแทนผู้พูดภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่มีต่อภาษาและผู้พูดภาษาถิ่นของตนเองและถิ่นอื่น โดยใช้วิธีเทคนิคการพรางเสียงคู่ (matched-guise technique) ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ตอบแสดงพฤติกรรมที่มีต่อภาษาถิ่นต่างๆ โดยใช้เสียงพูดเป็นเครื่องช่วยกระตุ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 297 คน ได้แก่ วิทยาเขตภาคเหนือ (เชียงใหม่), วิทยาเขตขอนแก่น,วิทยาเขตนนทบุรี และวิทยาเขตภาคใต้ (สงขลา) กลุ่มตัวอย่างจะได้ยินเสียงพูด 6 เสียงพูด จากผู้พูด 3 คน ซึ่งแต่ละคนจะบันทึกเสียงพูด 2 เสียง ได้แก่เสียงพูดที่เป็นภาษาถิ่นของตน และ เสียงพูดที่เป็นภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะต้องประเมินผู้พูดในด้านบุคลิกลักษณะ และ สถานภาพทางสังคมจากเสียงที่ได้รับฟัง เช่นเดียวกับการฟังวิทยุ ซึ่งผู้ฟังจะไม่เห็นผู้พูด และขอให้จินตนาการ บุคลิกลักษณะและสถานภาพของผู้พูดจากเสียงที่ได้ยิน ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจะไม่ทราบว่าเสียงทั้ง 6 เสียง ที่ได้ยินนั้นมาจากผู้พูดเพียง 3 คน ไม่ใช่ 6 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้ประเมิน ประเมินผู้พูดภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ในด้านบุคลิกลักษณะและสถานภาพสูงสุดแต่ในทางตรงกันข้าม ในด้านความเป็นมิตรผู้พูดภาษาไทยอิ่นกรุงเทพฯได้รับการประเมินต่ำสุด ในการใช้วิธีเทคนิคการพรางเสียงคู่ (matched-guise technique) ผลปรากฏว่าการประเมินผู้พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ ต่างกัน ซึ่งความจริงแล้วเสียงที่ได้ค่าประเมินต่างกันนั้นพูดโดยบุคคลคนเดียวกัน สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าภาษาอิ่นที่ต่างกันมีอิทธิพลต่อความคิดของบุคคล และมีอิทธิพลต่อผลสะท้อนทางทัศนคติที่มีต่อผู้พูด ในด้านการประเมินผลของนักศึกษาแต่ละวิทยาเขต ฯ พบว่าทัศนคติที่แต่ละวิทยาเขต ฯ มีต่อผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00, ต่อผู้พูดภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ที่ระดับ .04 แต่ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้และผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ผลสะท้อนทางทัศนคติของนักศึกษาวิทยาเขต ฯ ต่าง ๆ ต่อผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้และผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นไป ในแนวทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามการประเมินทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อผู้พูดไทยถิ่นกรุงเทพฯ สูงสุด และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของวิทยาเขต ฯ และภูมิภาคที่ต่างกันมีอิทธิพลต่อการประเมินกลุ่มตัวอย่างประเมินผู้พูดภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ซึ่งมาจากสังคมที่มีสถานภาพสูงโดยประเมินในทางบวกมากกว่าผู้พูดภาษาถิ่นอื่น ๆ ผู้พูดภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ มักจะประเมินผู้พูดของตนเองสูงกว่าผู้พูดภาษาไทยถิ่นอื่น รองลงมาได้แก่ผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างชาวเหนือและชาวตะวันออกเฉียงเหนือมักจะให้คะแนนผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้ค่อนข้างต่ำ ในทำนองเดียวกันกลุ่มตัวอย่างชาวใต้ที่ประเมินผู้พูดภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทย ถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือต่ำเช่นกัน
Description
Linguistics (Mahidol University 2002)
Degree Name
Master of Arts
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Institute of Language and Culture for Rural Development
Degree Discipline
Linguistics
Degree Grantor(s)
Mahidol University