สุขภาพและการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์
dc.contributor.advisor | เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์ | |
dc.contributor.advisor | ศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์ | |
dc.contributor.advisor | วรรณวิภา ปสันธนาทร | |
dc.contributor.author | สุพรรณษา สำราญดี | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T06:22:52Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T06:22:52Z | |
dc.date.copyright | 2555 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description | สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555) | |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องสุขภาพและการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด การให้ความหมายเรื่องสุขภาพ เศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งประสบการณ์การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและผลด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษาใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในพื้นที่ชุมชนแห่งหนึ่งที่มีการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบเป็น ระยะเวลา 1 ปี ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์การสังเกตและการสนทนากลุ่มซึ่งผู้ให้ ข้อมูล คือครัวเรือนต้นแบบของโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 8 คนรวมทั้งผู้นำชุมชน และผู้นำกลุ่มจำนวน 4 คน การศึกษาพบว่าประชาชนให้ความหมายสุขภาพว่า คือ การไม่มีความเจ็บป่วย เป็นภาวะความปกติ และความ สมดุลของร่างกายและจิตใจส่วนแนวคิด การให้ความหมายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ครอบคลุมมากกว่ามิติทางเศรษฐกิจ แต่มีความเกี่ยวข้องกับมิติทางจิตใจ สังคมและวัฒนธรรม มิติด้านจิตใจ คือการทำจิตใจให้มีความพอดี ไม่โลภมาก มิติด้านสังคมคือ การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ส่วนมิติทางด้านวัฒนธรรมนั้น คือ การมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย การทำมาหากินตามภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ส่วนมิติทางเศรษฐกิจ คือ ลดรายจ่ายโดยการพึ่งพาตนเองในเรื่องอาหารการกิน การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด การเก็บออมเงิน เป็นต้น สุขภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นมากกว่าสุขภาพทางกาย แต่เป็นความสุขกาย จิต และสังคม ครอบคลุมการดูแลสุขภาพของปัจเจกบุคคล และสุขภาพทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน นอกจากนั้นยังสุขภาพสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบอาหาร การ กินดี ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ซึ่งการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายและความปลอดภัยของอาหารที่มีอยู่ในชุมชน สุขภาพยังเกี่ยวข้องระบบสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี การ อยู่ดี หมายถึงการมีระบบการผลิตที่เน้นการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาสารเคมีในการผลิต ทำให้ระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีความปลอดภัย ปราศจากมลพิษ มีการพึ่งตนเองโดยการผลิตเพื่อบริโภคเป็นหลักคนในสังคมมีโอกาสช่วยเหลือพึ่งพากันมากขึ้น และสามารถพึ่งตนเองทางสุขภาพได้ ข้อเสนอแนะ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายของชุมชนในการพัฒนาระบบสุขภาพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชี้ให้เห็นผลลัพธ์ทางสุขภาพที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจก ครอบครัว และชุมชน รวมทั้งเชื่อมโยงมิติสุขภาพที่เป็นแบบองค์รวมบูรณาการเข้าไปกับการพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง | |
dc.format.extent | ก-ซ, 143 แผ่น 0 ซม. | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93687 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | |
dc.subject | เศรษฐกิจพอเพียง -- ไทย | |
dc.subject | การพึ่งตนเอง | |
dc.title | สุขภาพและการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ | |
dc.title.alternative | Health and self-care of the people who live with sufficiency economy-based lifestyles : a study of a community in Surin province | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd470/5037927.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |