ปัจจัยทำนายความล่าชัาในการมารับบริการของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
dc.contributor.advisor | นันทิยา วัฒายุ | |
dc.contributor.advisor | ดวงใจ รัตนธัญญา | |
dc.contributor.author | วิยะดา คงแก้ว | |
dc.date.accessioned | 2024-01-22T02:36:01Z | |
dc.date.available | 2024-01-22T02:36:01Z | |
dc.date.copyright | 2558 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.description | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (มหาวิทยาลัยมหิดล 2558) | |
dc.description.abstract | ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ความ ล่าช้าในการแสวงหาการรักษาเป็นสาเหตุของอัตราป่วยและอัตราตายที่สูงขึ้น สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการตอบสนองต่ออาการที่เกิดขึ้นมีความสำคัญต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมทันเวลา ดังนั้นความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความล่าช้าในการมารับบริการที่โรงพยาบาล เป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยป้องกันความพิการและการเสียชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความล่าช้าในการมารับบริการที่โรงพยาบาลของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันการศึกษาวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่าง 148 ราย เป็นผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มาตามนัดและนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันไม่เกิน 2 เดือน โดยใช้แบบสัมภาษณ์การตอบสนองต่ออาการต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดย สมการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันส่วนใหญ่ (64.2%) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.59 ปี 2 ใน 3 (64.9%) ของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีความล่าช้าในการมารับบริการที่โรงพยาบาล โดยรวม 52.1% (Pseudo R2 = 0.521, p <0.05) ร่วมกันทำนายความล่าช้าได้แก่ อายุ เพศ การตอบสนองด้านการรับรู้ การตอบสนองทางอารมณ์ การตอบสนองทางพฤติกรรม และการตอบสนองทางอารมณ์หรือพฤติกรรมของบุคคลอื่น แต่มีเพียง 5 ตัวแปรที่สามารถทำนายความล่าช้าในการมารับบริการที่โรงพยาบาล การตอบสนองทางพฤติกรรมโดยพยายามผ่อนคลาย (OR = 35.566, B = 3.571, p <0.05) อยู่กับครอบครัวในขณะเกิดอาการ (OR = 0.041, B = - 3.191, p <0.05 ) การตอบสนองทางอารมณ์หรือพฤติกรรมของบุคคลอื่นแนะนำพักผ่อนและทานยา (OR = 0.056, B = -2.883, p <0.01) อยู่ที่บ้านขณะเกิดอาการ (OR = 8.738, B = 2.168, p < 0.001) รอให้อาการหายไป (OR = 2.722, B = 1.019, p <0.01) โดยเฉลี่ยสามารถทำนายได้ถูกต้อง 83.1% สรุป พยาบาลควรให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับอาการแสดงของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันข้อมูลที่ให้จะช่วยบุคคลแสวงหาการรักษาเพื่อป้องกันความล่าช้าในการมารับบริการ | |
dc.description.abstract | Acute Coronary Syndrome (ACS) is a major public health problem worldwide, including Thailand. Delay in seeking treatment may be the cause of a higher morbidity and mortality rate. For patients with ACS, the response to the signs and symptoms that have occurred is crucial to receive appropriate timely treatment. Therefore, understanding what factors were influencing pre-hospital delays is important to help prevent death and disability. The purpose of this study was to determine factors predicting pre-hospital delays in patients with Acute Coronary Syndrome. Predictive Correlation Research was conducted. A total of 148 patients with acute coronary syndrome were included, using a purposive sampling. Data were collected from interviewing patients with acute coronary syndrome within two months of hospital admission during a follow up visit at The Cardiac clinic by using the Response to Symptom Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and multiple logistic regression. The findings revealed that ACS patients were mostly male (64.2%) with a mean age of 53.59 years. Two-thirds (64.9%) of ACS patients reported a pre-hospital delay. Altogether, 52.1% (Pseudo R2 = .521, P <.05) of variability in the pre-hospital delay was predicted by age, gender, cognitive response, affective/emotional response, behavior response, and others' behavior and emotional response. Only five of the predictors contributed significantly to predicting pre-hospital delays. Behavior responses were; by trying to relax (OR = 35.566, B = 3.571, p<.05), being with their family while the symptoms occurred (OR = .041,B=-.3.191,p<.05), others' responses to symptom by suggesting rest and taking medication (OR = .056, B = -2.883, p<.01), symptoms occurred at home (OR = 8.738, B=2.168,p<.001), and waiting for symptoms to go away (OR = 2.722, B=1.019, p<.01). Overall, the classification correctly predicted rate was 83.1%. Nurses should educate the public about the signs and symptoms of ACS. Information provided will help individuals to prevent delays in seeking treatment. | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 162 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93386 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค | |
dc.subject | โรงพยาบาล -- บริการฉุกเฉิน | |
dc.title | ปัจจัยทำนายความล่าชัาในการมารับบริการของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน | |
dc.title.alternative | Factors predicting pre-hospital delay in patients with acute coronary syndrome | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd498/5536331.pdf | |
thesis.degree.department | คณะพยาบาลศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |