การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวกับระดับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติก
dc.contributor.advisor | พิมพา ขจรธรรม | |
dc.contributor.author | ศิรัฌชยา สร้อยจันทร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-25T01:24:26Z | |
dc.date.available | 2024-01-25T01:24:26Z | |
dc.date.copyright | 2550 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.description | งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550) | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัว (Family Resource) กับระดับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติก รวมทั้งศึกษาว่าครอบครัวมีการใช้ทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวในลักษณะใด และศึกษาถึงระดับความเครียดที่เกิดขึ้นในครอบครัว โดยทำการศึกษาจากบิดามารดาเด็กออทิสติก จำนวน 90 ราย ที่นำบุตรมารับบริการ ณ งานกิจกรรม บำบัด 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช และคลินิกพิเศษนอกเวลาของภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เกี่ยวกับ ลักษณะทั่วไปของบิดามารดา และบุตรออทิสติก แบบวัดทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวและแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติก ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิด The Resiliency Model of Family Stress, Adjustment and Adaptation. ของ McCubbin และ McCubbin ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวเด็กออทิสติกมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และระดับมากร้อยละ 48.9 และ 32.2 ตามลำดับ โดยสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดมากที่สุด คือ ความกังวลใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการพูด และการสื่อสารของลูกออทิสติก ส่วนสถานการณ์ที่ทำให้เครียดน้อยที่สุด คือ ความอับอาย ขายหน้า ญาติ พี่น้องที่ตนมีลูกเป็นออทิสติก และครอบครัวมีการรับรู้ทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวในระดับปานกลาง และ ระดับสูง ร้อยละ 58.9 และ 38.9 ตามลำดับ โดยใช้ทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวในระดับตนเองและ ระดับครอบครัวก่อน ส่วนในระดับสังคม ครอบครัวมีต้องการมาก เนื่องจากพบว่าอยู่ในระดับต่ำ และพบว่าความสัมพันธ์ของทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวกับระดับความเครียด มีความสัมพันธ์เชิงผกผันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงให้เห็นว่าครอบครัวที่มีทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวในระดับสูง มีแนวโน้มที่จะมีความเครียดต่ำ โดยสรุป นักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวเด็กออทิสติก รวมทั้งนักให้คำปรึกษา ควรให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง และพยายามรับฟังปัญหาของครอบครัว เพื่อช่วยลดความเครียดของครอบครัว และมีทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวที่พร้อมในการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น | |
dc.description.abstract | The purpose of this descriptive study was to examine the relationship between family resources and stress of parents of autistic children by using The Resiliency Model of Family Stress, Adjustment and Adaptation. The participants consisted of 90 parents of autistic children receiving the occupational therapy program at the Uttaradit Hospital, Buddhashinaraj Hospital and AMS Clinical Service Center CMU. The Family Inventory of Resource for Management (FIRM), developed by McCubbin & McCubbin and translated into Thai by Jariya Wittayasuporn was used to assess family resources of parents. The Stress Questionnaire developed by Gunvipa Hong-Ngam was used to assess stress of parents. The data describing the relationship between family resources and stress were analyzed by Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The result showed that 48.9 percent of the family had a moderate level of stress and 32.2 percent had a high level of stress. The most stressful situation was anxiety about speech and communication behavior of their autistic child. The least stressful situation was shame in having autistic children. Regarding the family resources, the results revealed that 58.9 percent of the participants perceived a level of family resources at the moderate level and 38.9 percent at high levels . The majority of participants were more likely to use the personal resources and the family system resource. The results also showed that social support was limited and so more social support is needed. An inverse correlation between family resources and stress at moderate level was indicated (r = -.511, p =.01). This suggests that the more resources the family had, the less stress they would perceive. In conclusion, health professionals who help autistic children, including counselors, should pay attention to strengthening family capacity and providing social supports for the family with an autistic child to reduce family stress. | |
dc.format.extent | ก-ฌ, 113 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93953 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | เด็กออทิสติก -- การดูแล | |
dc.subject | ออติสมในเด็ก | |
dc.subject | ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร | |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรเพื่อการจัดการของครอบครัวกับระดับความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติก | |
dc.title.alternative | A study of the relationship between family resources and stress of parent of autistic children | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/4537382.pdf | |
thesis.degree.department | วิทยาลัยราชสุดา | |
thesis.degree.discipline | งานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |