กระบอกพ่นยาทำด้วยตนเองชนิดมีหน้ากากและวาล์ว (Valved Holding Chamber with mask ; RAMA 305 spacer)
Issued Date
2564
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
สุพัตรา เขียวหวาน, นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร, กุลปรานี พงศ์สุวภาพ, สุดาภรณ์ บุญเทศ, รุจิรา ทองเพ็ชร์, อัมภารัศมิ์ เทพประสิทธิ์, อัญชิสา บุญเทียม (2564). กระบอกพ่นยาทำด้วยตนเองชนิดมีหน้ากากและวาล์ว (Valved Holding Chamber with mask ; RAMA 305 spacer). สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79456
Title
กระบอกพ่นยาทำด้วยตนเองชนิดมีหน้ากากและวาล์ว (Valved Holding Chamber with mask ; RAMA 305 spacer)
Other Contributor(s)
Abstract
การใช้กระบอกกักยาหรือเรียกว่า สเปเซอร์ (Spacer) โดยนำมาใช้กับยาสูดพ่นประเภท pMDI (Pressurized Metered dose Inhaler) เพื่อลดการไม่ประสาน (incoordination) ระหว่างการกดยากับการสูดยา ช่วยลดขนาดละอองยา ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของยาที่เข้าปอด ลดการสะสมของยาที่คอหอยและช่องปาก ลดความเร็วของละอองลอยที่ทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจชั่วขณะเนื่องจากละอองยากระทบเพดานอ่อนด้วยความเร็วสูง (cold-freon
effect) และลดผลข้างเคียงจากยาสูด พ่นขยายหลอดลมชนิดที่มีสเตียรอยด์(steroid) ทีมงานจึงได้คิดค้นและประดิษฐ์อุปกรณ์กระบอกพ่นยาชนิดมีหน้ากาก และวาล์ว RAMA 305 spacer ( Valved Holding Chamber with
mask ) โดยใช้วัสดุที่หาง่าย ต้นทุนต่าง งบประมาณ 13.08 บาทต่ออัน โดยมีวาล์วขาเข้า (Internal Valve) ติดที่ปากขวดน้าดื่ม และวาล์วขาออก (External Valve) ติดที่หน้ากาก ซึ่งวาล์วจะเปิดปิดตามจังหวะการหายใจ
ทำให้ลมหายใจที่ปล่อยออกมาไม่รวมกับตัวยาในกระบอกพ่นยา (Spacer) ทำให้ยาไม่รั่วไหลออกภายนอก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำส่งยาเข้าสู่ปอดได้ดียิ่งขึ้น นำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยา pMDI ไม่ถูกต้อง และใช้ในห้อง
ปฎิบัติงานหัตถการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์ วัตถุประสงค์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ 1) เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคระบบการหายใจที่มีปัญหา การกดสูดยา pMDI ที่ไม่สัมพันธ์กัน หรือไม่สามารถควบคุมการหายใจในการสูด
ยาได้ทางปาก 2) ลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้รับบริการ 3) ลดโอกาสสัมผัสเชื้อโรคจากสถานการณ์โคโรนาไวรัส (COVID-19) ระบาดในปัจจุบัน ผลจากการนำอุปกรณ์ไปใช้งานในด้านความคงทน ในผู้ป่วย จำนวน 16 ราย โดยนำกลับไปใช้ที่บ้าน ระยะเวลาที่ใช้งานเฉลี่ย 3.25 เดือน SD=2.29, 1-7 (min-max) ผลความพึงพอใจหลักในด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ความสะดวก ความปลอดภัย และความมีคุณค่า พบว่า อยู่ในระดับมาก การใช้กระบอกพ่นยา RAMA 305 spacer จึงเป็นทางเลือกในการบริหารจัดการยาขยายหลอดลมในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคสามารถใช้ได้ทั้งผู้ป่วยโรคระบบการหายใจเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยกำเริบฉับพลันที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน
Description
ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 85-86