การปรับปรุงกระบวนการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

dc.contributor.authorพรทิพย์ ลีลาคณาทรัพย์en_US
dc.contributor.authorพรนัชชา เสนาะพิณen_US
dc.contributor.authorวราพร อินทรสุขศรen_US
dc.contributor.authorชญานุตม์ นิรมรen_US
dc.contributor.authorบุรินธร สันติชีวะเสถียรen_US
dc.contributor.authorPornthip Leelakanasapen_US
dc.contributor.authorPornnutcha Senorpinen_US
dc.contributor.authorWaraporn Intharasuksrien_US
dc.contributor.authorChayanut Niramonen_US
dc.contributor.authorBurinthon Santichewasatianen_US
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2022-06-30T07:22:19Z
dc.date.available2022-06-30T07:22:19Z
dc.date.created2565-06-30
dc.date.issued2564
dc.descriptionปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 30-31en_US
dc.description.abstractการปรับปรุงกระบวนการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของ บุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและ ปรับปรุงแบบสำรวจปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยมีการนำข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลปัจจัยที่ส่งผลต่อการออก จากงานของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ออกจากงาน ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2563 มาวิเคราะห์ร่วมกับผลจากการสำรวจปัจจัยที่ ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2563 ประกอบกับคณะเภสัชศาสตร์ ได้ส่งรายงาน ประเมินตนเองเพื่อขอรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ในปี พ.ศ. 2563 ที่ ผ่านมา และได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจประเมินในประเด็นที่ควร พัฒนาเรื่องแนวทางการบริหารจัดการด้านบุคลากรอย่างเป็นระบบ จึงมีการ เพิ่มประเด็นที่ต้องสำรวจ คือ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่บุคลากรได้รับจาก คณะเภสัชศาสตร์ เพื่อนำผลไปใช้กำหนดกิจกรรมเพื่อสร้างความผูกพันของ บุคลากรในประเด็นที่ต้องพัฒนาต่อไป จากผลการปรับปรุงกระบวนการ และ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันดังกล่าว พบว่า ประเด็น “ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี” มีคะแนนต่ำกว่า 4 จากคะแนนเต็ม 5 และมีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด อย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปี ส่วนผลการสำรวจ ความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่ได้รับจากคณะเภสัชศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2564 พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อสวัสดิการฯ น้อยที่สุดด้านเงิน รางวัลประจำปี (ค่าเฉลี่ย = 3.27) ด้านส่วนลดค่าสินค้า ในร้านยาคณะฯ (300 บาท ขึ้นไป ลด 3%) (ค่าเฉลี่ย = 3.44) และด้านเงินช่วยเหลือพิเศษ (เฉพาะ ลูกจ้างชั่วคราว) (ค่าเฉลี่ย = 3.45) ผู้จัดทำจึงได้นำเสนอผลสำรวจดังกล่าวเสนอต่อผู้บริหารคณะเภสัช ศาสตร์เพื่อรับทราบ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะไป ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาหรือปรับปรุงวิธีการหรือกระบวนการบริหารจัดการ สวัสดิการอย่างเป็นระบบ ทำให้บุคลากรเกิดความเข้าใจ ความพึงพอใจ และ ส่งผลต่อระดับความผูกพันของบุคลากรเพิ่มขึ้น โดยการกำหนดโครงการหรือ กิจกรรมที่สร้างความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนสิทธิประโยชน์ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของบุคลากรแต่ละกลุ่มต่อไปen_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/71997
dc.language.isothaen_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.rights.holderกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectความผูกพันen_US
dc.subjectปัจจัยความผูกพันen_US
dc.subjectบุคลากรen_US
dc.subjectความผูกพันต่อองค์กรen_US
dc.subjectMahidol Quality Fairen_US
dc.titleการปรับปรุงกระบวนการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.typeProceeding Abstracten_US
mods.location.urlhttps://kmmasterclass.mahidol.ac.th/posts/397

Files

Original bundle

Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
py-pc-chayanut-2564.pdf
Size:
802.53 KB
Format:
Adobe Portable Document Format

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: