การศึกษาพฤติกรรมการทำงานของบุคลากร ตามค่านิยมองค์กร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2567
Copyright Date
2562
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 146 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562
Suggested Citation
วรรณา ช่วยรักษา การศึกษาพฤติกรรมการทำงานของบุคลากร ตามค่านิยมองค์กร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
. สารนิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92027
Title
การศึกษาพฤติกรรมการทำงานของบุคลากร ตามค่านิยมองค์กร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
Alternative Title(s)
The study of work behavior of personnel according to organizational values of Faculty of Graduate Studies, Mahidol University
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการทำงานของบุคลากร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ตามค่านิยมองค์กร 5 ประการ G-R-A-D-S ได้แก่ 1) G (Generosity) พฤติกรรมการเอื้อเฟื้อ 2) R (Respect) พฤติกรรมการให้เกียรติ 3) A (Activeness) พฤติกรรมการกระตือรือร้น 4) D (Dedication) พฤติกรรมการทุ่มเท และ 5) S (Service Satisfaction) พฤติกรรมการบริการให้เกิดความพึงพอใจ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการทำงานค่านิยมองค์กร 5 ประการ G-R-A-D-S ของบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคลากรที่สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลจำนวน 161 คน ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมพฤติกรรมการแสดงออกของบุคลากรในการทำงานมีความสอดคล้องกับค่านิยมองค์กรค่อนข้างมาก มีค่าเฉลี่ย 4.19 โดยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านพฤติกรรมการแสดงออกให้เกียรติ รองลงมาคือ ด้านพฤติกรรมการแสดงออกทุ่มเท ด้านพฤติกรรมการแสดงออกบริการให้เกิดความพึงพอใจ ด้านพฤติกรรมการแสดงออกกระตือรือร้น และด้านพฤติกรรมการแสดงออกเอื้อเฟื้อตามลำดับ สำหรับผลการศึกษาการเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการแสดงออกในการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กร บัณฑิตวิทยาลัย พบว่า กลุ่มที่มีเพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ทำงานในบัณฑิตวิทยาลัย ประเภทบุคลากร และระดับบุคลากรแตกต่างกัน ไม่มีพฤติกรรมการแสดงออกตามค่านิยม G-R-A-D-S ที่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มบุคลากรที่มีอายุแตกต่างกัน ที่พบว่า มีระดับพฤติกรรมการแสดงออกในการปฏิบัติตามค่านิยมองค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05
The objective of this research is to study the level of work behavior of personnel according to the five organizational values, G-R-A-D-S, of the Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, namely 1) Generous behaviors "G" (Generosity) 2) Respect behaviors "R" (Respect) 3) Active behaviors "A" (Activeness) 4) Dedicated behaviors "D" (Dedication) and 5) Service behaviors for satisfaction "S" (Service), and to compare the level of work behavior of personnel according to the five organizational values, G-R-A-D-S, and demographic characteristic. This research is quantitative research with questionnaires used as tools to collect data from 161 officers the Faculty of Graduate Studies, Mahidol University. The results of this study showed that work behavior of personnel according to the organization values was at the Medium high level, with an average of 4.19. The highest aspect was the Respect behaviors, followed by Dedicated behaviors, Service behaviors for Satisfaction, Active behaviors, and Generosity behaviors. Furthermore, the comparison result showed that the following factors: gender, education level, working duration, type of working position and level of working position, did not contribute towards the level of behavioral expression according to the organization values. Age is the only factor which contributed a significant difference.
The objective of this research is to study the level of work behavior of personnel according to the five organizational values, G-R-A-D-S, of the Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, namely 1) Generous behaviors "G" (Generosity) 2) Respect behaviors "R" (Respect) 3) Active behaviors "A" (Activeness) 4) Dedicated behaviors "D" (Dedication) and 5) Service behaviors for satisfaction "S" (Service), and to compare the level of work behavior of personnel according to the five organizational values, G-R-A-D-S, and demographic characteristic. This research is quantitative research with questionnaires used as tools to collect data from 161 officers the Faculty of Graduate Studies, Mahidol University. The results of this study showed that work behavior of personnel according to the organization values was at the Medium high level, with an average of 4.19. The highest aspect was the Respect behaviors, followed by Dedicated behaviors, Service behaviors for Satisfaction, Active behaviors, and Generosity behaviors. Furthermore, the comparison result showed that the following factors: gender, education level, working duration, type of working position and level of working position, did not contribute towards the level of behavioral expression according to the organization values. Age is the only factor which contributed a significant difference.
Description
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Degree Discipline
ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล