ทุนนิยมชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์การจัดการความอ้วนของผู้หญิง
dc.contributor.advisor | สุพจน์ เด่นดวง | |
dc.contributor.advisor | นาถฤดี เด่นดวง | |
dc.contributor.advisor | ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย | |
dc.contributor.author | ปัทมา กวนเมืองใต้ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-15T01:45:36Z | |
dc.date.available | 2024-01-15T01:45:36Z | |
dc.date.copyright | 2560 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.description | สังคมศาสตร์และสุขภาพ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560) | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์การจัดการความอ้วนของผู้หญิงเพื่อสะท้อนให้เห็นระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ที่มีผลต่อโครงสร้างชีวิตของผู้หญิงที่ถูกบีบบังคับให้ต้องลดความอ้วน ครอบคลุมเหตุที่มา รูปแบบและกระบวนการ รวมไปถึงความล้มเหลวในการจัดการความอ้วนของผู้หญิงภายใต้ระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีพื้นที่ศึกษาคือ อุตสาหกรรมลดน้ำหนัก ในย่านธุรกิจการค้า ได้แก่ สยาม สีลม พระรามเก้า พระรามสี่ บางเขน ลาดพร้าว ศึกษาในกลุ่มผู้หญิงที่ทำงานภาคบริการ อายุ 22 - 30 ปี จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฏีสตรีนิยมสายสังคมนิยมในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ 1) บีบบังคับให้ผู้หญิงต้องจัดการกับความอ้วนในเรื่องงานที่นายจ้างมองคุณค่าการทำงานของผู้หญิงอยู่รูปลักษณ์ภายนอก ระบบเพศสัมพันธ์ที่ผู้ชายมีอำนาจกดขี่ผู้หญิง อุดมการณ์ความงามที่นำเสนอผ่านสื่อหรือกระแสแฟชั่น และการถูกกระทาความรุนแรงทางวาจาและกายที่ส่งผลให้ 2) ผู้หญิงมีรูปแบบและกระบวนการลดความอ้วนตั้งแต่ การอดอาหาร การทานอาหารคลีน การทานยาลดน้ำหนักและอาหารเสริม การออกกาลังกายในฟิตเนสเซนเตอร์ และการเข้าคลินิกเสริมความงาม ซึ่งเป็นวิธีการระบบทุนนิยมสร้างขึ้นมาแสวงหาผลกำไรจากผู้หญิงทำให้ 3) ผู้หญิงต้องพบกับความล้มเหลวในการลดความอ้วนของตน เนื่องจากสินค้าและบริการที่ใช้ในการลดความอ้วนมีราคาที่แพง สื่อและกระแสแฟชั่นสร้างอุดมการณ์ความสวยงามที่ผู้หญิงไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ ระบบเพศสัมพันธ์ที่ผู้ชายบีบบังคับให้ผู้หญิงยุติการลดความอ้วน และการทำงานในระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ที่กดขี่ผู้หญิงจนไม่สามารถลดความอ้วนได้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้คือ สังคมต้องไม่ตีตราว่าความอ้วนของผู้หญิงเป็นปัญหา และต้องขจัดการจัดการความอ้วนของผู้หญิงที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่เป็นธรรม | |
dc.description.abstract | This was a qualitative study on weight loss experiences of women in patriarchal capitalism. The purposes were to reflect on how woman with weight loss experiences were oppressed and exploited under patriarchal capitalism and to find the influences of patriarchal capitalism on the women's life structures, their causes, forms, and the methods of weight loss and weight loss failure. This study was conducted in Bangkok through in-depth interviews with 10 women aged between 22-30 years, who worked in the service industry and had had weight loss experiences. Data collected was analysed using Content Analysis through the perspective of Socialist Feminism. The results showed that patriarchal capitalism oppressed and caused injustice towards women 1) The women were pressured to lose weight through life structures such as work, patriarchal sexuality, beauty ideals, as presented by media or fashion trends, and both physical and mental violence. 2) The women's forms and methods of weight loss were both dependent on and exploited by the capitalist system including going on diet, clean eating, using supplementary weight loss medication, going to gyms and going to aesthetic medicine clinics. 3) The women failed to lose weight and would never succeed in doing so as the weight loss products and services for women were too expensive. Media and fashion trends also created beauty ideals that could never be met in reality. Moreover, the patriarchal sexuality, pressured women to eventually stop losing weight, and having to work under the patriarchal capitalism, the women were also oppressed so much that they could not lose weight successfully. Whatever the forms of weight loss they sought, they could not be free from the oppression of patriarchal capitalism. The suggestions for the study were that society should never brand women's weight as a problem and that oppression and injustice affecting weight loss experiences in women should be eliminated as well. | |
dc.format.extent | ก-ฎ, 178 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สังคมศาสตร์และสุขภาพ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92720 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | การลดความอ้วน | |
dc.subject | ทุนนิยม | |
dc.subject | การข่มเหงในวัฒนธรรมมวลชน | |
dc.title | ทุนนิยมชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์การจัดการความอ้วนของผู้หญิง | |
dc.title.alternative | Patriarchal capitalism and the weight loss experience of women | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2559/cd522/5736892.pdf | |
thesis.degree.department | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | สังคมศาสตร์และสุขภาพ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |