ผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์หลัการคิดแบบพุทธธรรม (โยมิโสมนสิการ) สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

dc.contributor.advisorสุนีย์ ละกำปั่น
dc.contributor.advisorอาภาพร เผ่าวัฒนา
dc.contributor.authorนะฤเนตร จุฬากาญจน์
dc.date.accessioned2024-01-17T01:57:56Z
dc.date.available2024-01-17T01:57:56Z
dc.date.copyright2554
dc.date.created2567
dc.date.issued2554
dc.descriptionการพยาบาลสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์หลักการคิดแบบพุทธธรรม (โยนิโสมนสิการ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ต่ำจำนวน 78 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 39 คน โปรแกรมฝึกการคิดมี 7 กิจกรรม ได้แก่ (1) ความเข้าใจเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ (2) การฝึกคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย (3) การฝึกคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์(หลักการและจุดมุ่งหมาย) และแบบเห็นคุณโทษและทางออก (4) การฝึกคิดแบบเร้าคุณธรรม และแบบรู้คุณค่าแท้คุณค่าเทียม (5 )การฝึกคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ และแบบวิภัชชวาท (คิดและพูดแยกแยะ) (6) การฝึกคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย และแบบอริยสัจ (7) การฝึกคิดแบบรู้ทันธรรมดา และ แบบอยู่กับปัจจุบัน จัดกิจกรรมทั้งหมด 3 ครั้ง โดยให้ฝึกคิดเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนและชีวิตประจำวัน รวมระยะเวลาของการศึกษา 11 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีตอบ แบบสอบถามด้วยตนเอง 3 ครั้ง ที่สัปดาห์แรก และสัปดาห์ที่ 6 ก่อนการทดลอง และสัปดาห์ที่ 2 หลังการทดลองวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-Square, Repeated Measures two way ANOVA และ t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< .05) ในด้านการเห็นใจผู้อื่นและการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น การรู้จักและสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง ความรับผิดชอบ ความภูมิใจในตนเองและความพึงพอใจในชีวิต ยกเว้นด้านการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ความสงบทางใจ พบว่าไม่มีความแตกต่างจากก่อนการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า ไม่มีความแตกต่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.05 ในความฉลาดทางอารมณ์ทุกด้าน สรุปโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์หลักการคิดแบบพุทธธรรม (โยนิโส มนสิการ) สามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในนักเรียนได้ โปรแกรมนี้สามารถประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตของนักเรียนในวัยรุ่นตอนปลาย
dc.description.abstractThis quasi-experimental study aimed to examine the effects of emotional quotient(EQ) development program by applying principles of Buddhist (Yonisomanasikara) for high school students of one public school in Nakhonpathom province. The sample included 78 students both male and female who had low emotional quotient scores. They were equally divided into 39 students in experimental and comparison group. The thinking training program composed of 7 activities including (1)understanding about EQ, (2)searching for causes and condition, (3)thinking for principle and goal, benefit and harm, (4)thinking of arousing goodness and virtue value of things, (5) analytical thinking and critical thinking, (6) problem solving thinking and the noble truth, (7) thought of the common characteristics and awareness. These all activities were conducted at 3 sessions by encouraging individual and group thinking in scenario of learning condition in school and daily life. The duration of program was 11 weeks. Data were collected by self-administered question, three times---at the baseline and the 6th week before the experiment, and at the 2 nd week after the experiment. Data analysis was performed by using frequency, mean, standard deviation, Chi-squares, Repeated Measure two ways ANOVA, and t-test. The result revealed that after intervention, the experimental group had statistically significant higher mean scores of EQ than before experiment (p< .05) in the dimensions of empathy and human relationship, self-emotional development, ability to self-control emotion and need, responsibility, self-esteem, life satisfaction. Otherwise there were no significant differences in dimension of problem solving and peacefulness. Compared with the comparison group, there were no statistically significant in all dimensions of EQ. In conclusion, the emotional quotient development program by applying principles of Buddhist (Yonisomanasikara) could develops EQ of high school students. This program could be applied to promote of mental health; especially emotional quotient of the high school students.
dc.format.extentก-ฎ, 234 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92985
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectการศึกษาทางพุทธศาสนา
dc.subjectความฉลาดทางอารมณ์
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- ไทย -- นครปฐม
dc.titleผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยประยุกต์หลัการคิดแบบพุทธธรรม (โยมิโสมนสิการ) สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternativeEffects of emotional quotient development program by applying principles of Buddhist (Yonisomanasikara) for high school students
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2557/cd489/5337520.pdf
thesis.degree.departmentคณะสาธารณสุขศาสตร์
thesis.degree.disciplineการพยาบาลสาธารณสุข
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Files