ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอดต่อปริมาณน้ำนม และระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก
Issued Date
2567
Copyright Date
2561
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 143 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
Suggested Citation
กนกพร เอื้ออารีย์กุล ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอดต่อปริมาณน้ำนม และระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก . วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561 . สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91892
Title
ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอดต่อปริมาณน้ำนม และระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก
Alternative Title(s)
The effects of establishing breast milk program on milk volume and time to have adequate milk supply among mothers of cesarean section preterm infants
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมและระยะเวลาที่มีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารกในมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอด คัดเลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 28 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 15 ราย กลุ่มทดลอง 13 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมในมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอด ซึ่งประกอบด้วย การให้ข้อมูลเกี่ยวกับทารก การให้ความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นน้ำนม การประคบเต้านม การนวดเต้านม และการบีบเก็บน้ำนม เมื่อสิ้นสุดการศึกษา ได้วิเคราะห์ความแตกต่างของปริมาณน้ำนมในวันที่ 4 และ 10 หลังคลอดของมารดาทั้งสองกลุ่มด้วยสถิติ t-test และวิเคราะห์ความแตกต่างของจำนวนวันที่มารดามีปริมาณน้ำนมเพียงพอกับความต้องการของทารกเป็นวันแรก ด้วยสถิติ t-test ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยในวันที่ 4 และ 10 หลังคลอดในกลุ่มทดลองเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) และจำนวนวันหลังคลอดที่มารดามีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอสำหรับทารกเป็นวันแรก ในกลุ่มทดลอง (5.6±1.6 วัน) และกลุ่มควบคุม (5.3±1.8 วัน) แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ถึงแม้ว่าผลการวิจัยครั้งนี้จะไม่พบความแตกต่างกันในเชิงสถิติ แต่โปรแกรมกระตุ้นน้ำนมนี้จะมีส่วนช่วยให้มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอดมีการผลิตน้ำนมและคงไว้ซึ่งปริมาณน้ำนมที่เพียงพอสำหรับทารก
This quasi-experimental research aimed to evaluate the effects of establishing breast milk program on breast milk volume and time to have adequate milk supply among mothers of preterm infants delivered by cesarean section. Twenty-eight participants were recruited by convenience sampling, with 15 participants in the control group and 13 participants in the experimental group. The experimental group received the lactation stimulation program consisting of giving information related to the infants, providing knowledge regarding the mechanism of milk synthesis, hot compress, breast massaging and breast milk expressing. Breast milk volume on day 4 and day 10 and the time to have sufficient milk were compared between groups using a t-test. The findings revealed that there were no statistical difference in breast milk volume of the mothers in the experiment and the control group at day 4 and day 10 (p > .05). The time to have sufficient milk was also not significantly different between the two groups (5.6±1.6 VS 5.3±1.8, p = .296). Although the results did not reveal a significant difference between groups, The establishing breast milk program could contribute in helping mothers with premature cesarean section to produce and maintain breast milk for their infants.
This quasi-experimental research aimed to evaluate the effects of establishing breast milk program on breast milk volume and time to have adequate milk supply among mothers of preterm infants delivered by cesarean section. Twenty-eight participants were recruited by convenience sampling, with 15 participants in the control group and 13 participants in the experimental group. The experimental group received the lactation stimulation program consisting of giving information related to the infants, providing knowledge regarding the mechanism of milk synthesis, hot compress, breast massaging and breast milk expressing. Breast milk volume on day 4 and day 10 and the time to have sufficient milk were compared between groups using a t-test. The findings revealed that there were no statistical difference in breast milk volume of the mothers in the experiment and the control group at day 4 and day 10 (p > .05). The time to have sufficient milk was also not significantly different between the two groups (5.6±1.6 VS 5.3±1.8, p = .296). Although the results did not reveal a significant difference between groups, The establishing breast milk program could contribute in helping mothers with premature cesarean section to produce and maintain breast milk for their infants.
Description
การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะพยาบาลศาสตร์
Degree Discipline
การพยาบาลเด็ก
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล