การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทย
dc.contributor.advisor | ปิยวัฒน์ เกตุวงศา | |
dc.contributor.advisor | ศุทธิดา ชวนวัน | |
dc.contributor.author | ณัฐพร นิลวัตถา | |
dc.date.accessioned | 2024-01-09T01:06:04Z | |
dc.date.available | 2024-01-09T01:06:04Z | |
dc.date.copyright | 2563 | |
dc.date.created | 2563 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563) | |
dc.description.abstract | ในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชากรทุกเพศทุกวัย แต่ในวัยสูงอายุยังพบปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่มาก ทั้งที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อการช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่ออธิบายสถานการณ์ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) เพื่อค้นหา ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลจากโครงการการสำรวจการสำรวจประชากร สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560 กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 41,752 คน และจากการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติศึกษาเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอีกจำนวน 43,539 คน โดยใช้สมการถดถอยโลจิสติก แบบ 2 กลุ่ม (Binary Logistic Regression Analysis) ผลการศึกษานี้ค้นพบว่า อิทธิพลของการสนับสนุนจากครอบครัว (Family supports) และปัจจัยสนับสนุนจากชุมชนและสังคม (Community or Social supports) ส่งผลทางบวกต่อการใช้เทคโนโลยีและการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ผลการศึกษานี้จะนา ไปสู่แนวทางในการวางแผนการกระจายความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทั่วถึงกับผู้สูงอายุ และมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงเทคโนโลยีได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้เกิดการวางแผนพัฒนา หรือปรับปรุงช่องทางในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับผู้สูงอายุที่ความจำเป็นต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง และให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงความสำคัญของบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นสื่อกลางเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือผู้สูงอายุให้เข้าถึงบริการทางสุขภาพได้ ที่สำคัญคือเป็นการแนะแนวทางให้ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุและชุมชน มีส่วนช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้สูงอายุด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิผลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้ตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับในที่สุด | |
dc.description.abstract | Information technology plays a role in the daily lives of people of all ages. However, the elderly face special problems and obstacles in terms of accessing health services when using information technology. The objectives of this study were 1) to explore the use of information technology by elderly Thais in accessing basic health services in Thailand and 2) to search for factors relating to the use of information technology that increase the opportunities for the elderly to access health services. This study uses quantitative methods. Secondary data analyses of the 2017 Survey of Older Persons in Thailand (n=41,752, people aged 60 and over) and the Information and Communication Technology Survey (n=43,539) were conducted. Both surveys were compiled by the National Statistical Office of Thailand. Binary logistic regression analysis was performed to explain information technology use by the elderly. This analysis found that family support and community or social support have positive effects on the use of technology to access health services. The results of this study can be used in the following ways. Firstly, they can contribute to the development of guidelines for the planning and distribution of information technology to the elderly. Furthermore, they can help the elderly to access technology more effectively. Finally, the results could be used to help change community perceptions that information technology is primarily a medium for entertainment. For example, the results could be utilized to develop awareness that information technology is an important tool for helping the elderly to access health services. In conclusion, the value of this study is its potential contribution to the development of awareness among households and communities in which older people live about the value of using information technology to access health services. By improving access, health benefits to the elderly can be maximized, which is a basic right. | |
dc.format.extent | ก-ฎ, 127 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91985 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ | |
dc.subject | การเข้าถึงบริการสุขภาพ | |
dc.subject | ข้อมูลข่าวสาร | |
dc.title | การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทย | |
dc.title.alternative | The use of information technology and health service accessibility of the Thai elderly | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2562/557/6038111.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม | |
thesis.degree.discipline | วิจัยประชากรและสังคม | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |