พฤติกรรมสุขภาพกับภาวะน้ำหนักเกินของประชากรวัยแรงงาน : กรณีศึกษาพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี

dc.contributor.advisorภาณี วงษ์เอก
dc.contributor.advisorอารี จำปากลาย
dc.contributor.authorนิชาภา เลิศชัยเพชร
dc.date.accessioned2024-01-24T05:28:33Z
dc.date.available2024-01-24T05:28:33Z
dc.date.copyright2553
dc.date.created2567
dc.date.issued2553
dc.descriptionวิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2553)
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในเชิงปริมาณ ( Quantitative Research ) เพื่อศึกษาลักษณะทาง ประชากร เศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมสุขภาพ และค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะน้ำหนักเกินของวัยแรงงาน โดยนำข้อมูลทุติยภูมิ จากการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจของโครงการเฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี รอบ 5 ปี พ.ศ. 2547 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกผู้ที่มีอายุ 15- 69 ปี จำนวน 26,421 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ และ สถิติถดถอย จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า วัยแรงงานอายุ 30 - 44 ปี อายุ 45 - 59 และ อายุ 60 - 69 ปี มี โอกาสเกิดภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าวัยแรงงานอายุ 15 - 29 ปี เพศหญิงมีโอกาสเกิดภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าเพศ ชาย ผู้ที่ไม่มีรายได้มีโอกาสเกิดภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าผู้ที่มีรายได้ โดยผู้ที่มีโรคเรื้อรังจะมีโอกาสเกิดภาวะ น้ำหนักเกินมากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคเรื้อรัง ส่วนผู้ที่บริโภคผลไม้ทุกวันจะมีโอกาสเกิดภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าผู้ที่ บริโภคผลไม้บางครั้ง และผู้ที่บริโภคยานอนหลับนานๆ ครั้งจะมีโอกาสเกิดภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าผู้ที่ไม่ บริโภค นอกจากนี้ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายจะมีโอกาสเกิดภาวะน้ำหนักเกินมากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ด้านการส่งเสริมสุขภาพควรให้ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพในระดับลึก เช่น การบริโภคผลไม้เป็นสิ่งที่ดี แต่ควรให้รายละเอียดลึกลงไปว่า การบริโภคผลไม้ที่มีแป้งและน้ำตาลสูงในปริมาณมากๆ ส่งผลให้อ้วน เป็นต้น นอกจากนี้ งานด้านการส่งเสริม สุขภาพอาจต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างเพราะเพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเพศชาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทาง สรีรวิทยาอันเนื่องมาจากฮอร์โมนเพศหญิง หรือความเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น
dc.format.extentก-ฌ, 108 แผ่น
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93857
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ
dc.subjectสุขภาพ
dc.subjectการลดความอ้วน
dc.subjectน้ำหนักตัว
dc.subjectแรงงาน -- ไทย -- กาญจนบุรี
dc.titleพฤติกรรมสุขภาพกับภาวะน้ำหนักเกินของประชากรวัยแรงงาน : กรณีศึกษาพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี
dc.title.alternativeHealth behavior and over weight among a working age population : a case study of Kanchanaburi Demographic Surveillance System (KDSS), Thailand
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd446/5137649.pdf
thesis.degree.departmentสถาบันวิจัยประชากรและสังคม
thesis.degree.disciplineวิจัยประชากรและสังคม
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Files