การลดระยะเวลารอคอยตรวจแพทย์
Issued Date
2556
Resource Type
Language
tha
Call No.
W3 ก482ม ครั้งที่ 1 2556 [ LIPT, LILC, LISI, LICL, LIAD, LINS, LIPY]
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Physical Location
Faculty of Physical Therapy, Surasak Srisuk Library
Research Institute for Languages and Cultures of Asia
Siriraj Medical Library Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Central Library
ASEAN Institute for Health Development Library
Faculty of Nursing Library
Faculty of Pharmacy Library
Research Institute for Languages and Cultures of Asia
Siriraj Medical Library Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Central Library
ASEAN Institute for Health Development Library
Faculty of Nursing Library
Faculty of Pharmacy Library
Suggested Citation
กรณิภา คงยืน, พรนภา เพชรไทย (2556). การลดระยะเวลารอคอยตรวจแพทย์. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11008
Title
การลดระยะเวลารอคอยตรวจแพทย์
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
ระยะเวลารอคอย เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำนายความพึงพอใจของผู้รับบริการ และเป็นเหตุผลของการมารับบริการ ผลกระทบที่เกิดจากการรอคอยนานจะทำให้ผู้รับบริการต้องใช้เวลาในการรับบริการมากขึ้น เกิดความล่าช้าในการตรวจรักษา ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้รับบริการทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ในขณะที่แพทย์ใช้เวลาในการตรวจผู้ป่วยแต่ละรายน้อย แพทย์อาจตรวจด้วยความรวดเร็ว และอาจให้ข้อมูลที่ไม่กระจ่าง ทำให้ผู้รับบริการไม่พึงพอใจ
หน่วยตรวจโรคเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มีการพัฒนาคุณภาพการบริการโดยการจัดรูปแบบการให้บริการเพื่อลดระยะเวลารอคอยและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการด้านความพึงพอใจ โดยมีการพัฒนา และปรับปรุงให้ระยะเวลารอคอยลดลงตามลำดับอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation : HA) ซึ่งเป็นหลักประกันว่าโรงพยาบาลมีระบบงานที่เป็นมาตรฐาน และมีระบบการตรวจสอบตนเองได้อย่างน่าไว้วางใจ เป็นการรับรองว่าผู้รับบริการจะได้รับบริการที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และความผิดพลาดต่าง ๆ จะลดลง เน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และให้การดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และจากผลการดำเนินการพบว่าสามารถช่วยลดระยะเวลารอคอยในการตรวจได้ดังนี้
ก่อนการพัฒนาพบว่า ผู้รับบริการนัดหมาย รอนานเฉลี่ย 24 นาที และรอนานเกิน 30 นาทีเฉลี่ย 29 เปอร์เซ็นต์ของผู้รับบริการที่นัดหมาย ผู้รับบริการไม่ได้นัดหมาย รอนานเฉลี่ย 28 นาทีและรอนานเกิน 60 นาทีเฉลี่ย 22 เปอร์เซ็นต์ของผู้รับบริการที่ไม่ได้นัดหมาย
หลังการพัฒนาพบว่า ผู้รับบริการนัดหมาย รอนานเฉลี่ย 13 นาทีและรอนานเกิน 30 นาทีเฉลี่ย 11 เปอร์เซนต์ของผู้รับบริการที่นัดหมาย ผู้รับบริการไม่ได้นัดหมาย รอนานเฉลี่ย 24 นาทีและรอนานเกิน 60 นาทีเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้รับบริการที่ไม่ได้นัดหมาย
Description
หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 เรื่องการแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน. ณ ห้องประชุมศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ชั้น G นครปฐม, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. 2 เมษายน 2556. หน้า 275-291