ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาบรรเทาปวด การควบคุมตนเอง การรับรู้การสนับสนุนการคลอดจากพยาบาลกับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก
Issued Date
2559
Copyright Date
2559
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฌ, 129 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559
Suggested Citation
มาวศรี มานุช ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาบรรเทาปวด การควบคุมตนเอง การรับรู้การสนับสนุนการคลอดจากพยาบาลกับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93338
Title
ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาบรรเทาปวด การควบคุมตนเอง การรับรู้การสนับสนุนการคลอดจากพยาบาลกับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก
Alternative Title(s)
The relationship between pain medication received sense of control perceived nurse support and comfort during labor of first time mothers
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาบรรเทาปวด การควบคุมตนเอง การรับรู้การสนับสนุนการคลอดจากพยาบาล กับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก โดยใช้ทฤษฎีความสุขสบายของคอลคาบา (Kolcaba, 2003) มาเป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มาคลอดและพักฟื้นหลังคลอดที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือน เมษายน ถึงเดือน สิงหาคม 2559 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 90 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความสามารถในการควบคุมตนเองในระยะคลอด แบบวัดพฤติกรรมสนับสนุนการคลอดของพยาบาล แบบสอบถามความสุขสบายในระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า การควบคุมตนเอง และการรับรู้การสนับสนุนการคลอดจากพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .66, r = .40 , p < .05 ตามลำดับ) ส่วนการได้รับยาบรรเทาปวดไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอด (r = .06, p > .05) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลห้องคลอดควรให้การสนับสนุนการคลอดที่ตอบสนองและตรงกับความต้องการของผู้คลอด และส่งเสริมความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้คลอด เพื่อให้ผู้คลอดได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ในการเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ในการคลอด นำไปสู่ความรู้สึกสุขสบายทั้งมิติทางด้านร่างกาย จิต-วิญญาณ สังคม และสิ่งแวดล้อม
The purpose of this descriptive study was to examine the relationship of pain medication received, sense of control, perceived nurse support, and comfort during labor of first time mothers. The theory of comfort (Kolcaba, 2003) was adopted as a conceptual framework. The purposive sample consisted of 90 women who were admitted in Sappasithiprasong hospital and Ramathibodi hospital for delivery and postpartum rehabilitation between April and August 2016. Data were collected using the Demographic Data Questionnaire, the Labor Agentry Scale, the Labor Support Scale, and Maternal Comfort during Labor Questionnaire. Data analysis was carried out by descriptive statistics and Pearson's product moment correlation. Results of the study revealed that, sense of control and perceived nurse support were significantly related positive to comfort during labor (r = .66, r = .40, p < .05) but pain medication received and comfort during labor were not related (r = .06, p > .05). According to the results of this study, intrapartum nurses should support the women during labor in accordance to their needs and find strategies to promote the sense of control using their coping ability in labor situations, which could lead to holistic comfort including physical, psycho-spiritual, social, and environmental comfort
The purpose of this descriptive study was to examine the relationship of pain medication received, sense of control, perceived nurse support, and comfort during labor of first time mothers. The theory of comfort (Kolcaba, 2003) was adopted as a conceptual framework. The purposive sample consisted of 90 women who were admitted in Sappasithiprasong hospital and Ramathibodi hospital for delivery and postpartum rehabilitation between April and August 2016. Data were collected using the Demographic Data Questionnaire, the Labor Agentry Scale, the Labor Support Scale, and Maternal Comfort during Labor Questionnaire. Data analysis was carried out by descriptive statistics and Pearson's product moment correlation. Results of the study revealed that, sense of control and perceived nurse support were significantly related positive to comfort during labor (r = .66, r = .40, p < .05) but pain medication received and comfort during labor were not related (r = .06, p > .05). According to the results of this study, intrapartum nurses should support the women during labor in accordance to their needs and find strategies to promote the sense of control using their coping ability in labor situations, which could lead to holistic comfort including physical, psycho-spiritual, social, and environmental comfort
Description
การผดุงครรภ์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)
Degree Name
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Degree Discipline
การผดุงครรภ์
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล