นโยบายสาธารณะด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : การศึกษาทางเลือก

dc.contributor.advisorนภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ
dc.contributor.advisorศิริรัตน์ ชุณหคล้าย
dc.contributor.advisorวฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์
dc.contributor.authorสุกัญญา เศษขุนทด
dc.date.accessioned2024-01-05T02:02:16Z
dc.date.available2024-01-05T02:02:16Z
dc.date.copyright2561
dc.date.created2561
dc.date.issued2567
dc.descriptionนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)
dc.description.abstractระบบการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดจัดการศึกษาได้สามรูปแบบ คือ 1) ในระบบ 2) นอกระบบ และ 3) ตามอัธยาศัย การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยควรเป็นอย่างไร และเพื่อค้นหาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่เหมาะสมในบริบทประเทศไทยควรเป็นอย่างไรจึงจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสนทนากลุ่มมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 18 คน จากกรณีศึกษา 2 แห่ง คือ ศูนย์การเรียนหญ้าแพรกสาละวิน บ้านแม่ลามาน้อย ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และ ศูนย์การเรียนมอวาคี บ้านหนองมณฑา ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาทางเลือกรูปแบบ "ศูนย์การเรียน" มีความเหมาะสมสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศ ไทย และหัวใจสำคัญในรูปแบบ(Model) นาไปสู่โอกาสบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยบรรลุ 4 เป้าประสงค์ จาก 10 เป้าประสงค์ และตอบโจทย์เกณฑ์ตัวชี้วัด 6 ตัวชี้วัดจาก 17 ตัวชี้วัด มีข้อเสนอเชิงนโยบายทางกฎหมายต่อฝ่ายนิติบัญญัติคือ การระบุในกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิขององค์กรชุมชนและองค์กรเอกชนในการจัดการจัดศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การเรียน พ.ศ.๒๕๕๕ ข้อ ๑๓ ต้องระบุว่าศูนย์การเรียน "ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านเงินอุดหนุนจากรัฐสาหรับการจัดการศึกษาและสิทธิประโยชน์อื่นทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด"
dc.description.abstractThe education system of Thailand in accordance with the National Education Act B.E. 2542, defined three forms of education management which are 1) Formal Education 2) Non-Formal Education 3) Informal Education. The objectives of this research were to establish a suitable form of alternative education management for ethnic group in Thailand and to search for suggestions for public policy on appropriate education for ethnic group in Thai context which could lead to achievement of the goals of Education for Sustainable Development. This is a qualitative research which used In-depth Interviews and Focus Group Discussions to collect data. There were 18 main informants from 2 study areas: Yapraek Salawin Learning Center, Baan Maelamanoi, Mae Sam Laep Subdistrict, Sop Moei District, Mae Hong Son Province and Mowakhi Community School, Baan Nong Montha, Mae Win Subdistrict, Mae Wang District, Chiang Mai Province and both are areas of Papagayo Karen Ethnic Group. It was found that for education management in forms of Non-Formal Education and Informal Education or Alternative Education, "Learning Center" model was appropriate for ethnic groups in Thailand and the core value of Alternative Education lead to an opportunity to achieve 4 out of the 10 goals of the Sustainable Development Goals (SDGs) and to be in line with 6 out of the 17 indicators. There was suggestion to public policy regarding law to the legislation that specification in ministerial regulation on rights of community based organisation and nongovernmental organisation to manage fundamental education in learning center B.E. 2555, Section 13, must specify that learning centers obtain privilege on grant-in-aid from the government for education management with tax deduction or tax exemption for educational payment and other privilege according to the law for further achievement.
dc.format.extentก-ฏ, 301 แผ่น : ภาพประกอบ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.identifier.citationวิทยานิพนธ์ (รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91877
dc.language.isotha
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
dc.rightsผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล
dc.subjectพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐาน -- ไทย
dc.subjectการศึกษา -- นโยบายสาธารณะ
dc.subjectการศึกษาทางเลือก -- ไทย
dc.subjectกลุ่มชาติพันธุ์ -- แง่การศึกษา
dc.titleนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : การศึกษาทางเลือก
dc.title.alternativePublic policy on education for sustainable development : a case study of alternative education
dc.typeMaster Thesis
dcterms.accessRightsopen access
mods.location.urlhttp://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2561/541/5836414.pdf
thesis.degree.departmentคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
thesis.degree.disciplineนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ
thesis.degree.grantorมหาวิทยาลัยมหิดล
thesis.degree.levelปริญญาโท
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Files