การวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบัน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2538
Issued Date
2538
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
สมชาติ โตรักษา, วิศิษฏ์ พิชัยสนิธ, ธงชัย พุทธบริวาร (2538). การวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบัน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2538. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63600
Title
การวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบัน โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2538
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลเพื่อจะได้ทราบปัญหา แนวโน้ม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง หลักสูตรวิทยาศาสตมหาบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาการบริหารโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประยุกต์วิธีการวิเคราะห์สภาวการณ์ปัจจุบันอย่างง่ายๆ ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างวันที่ 13-24 มีนาคม 2538 พบว่าสถานที่ตั้งเหมาะสมดีมาก มีพื้นที่เพียงพอ มีการแบ่งพื้นที่ให้บริการ พื้นที่ของหน่วยสนับสนุนบริการ และพื้นที่บ้านพักอาศัยเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน เส้นทางสัญจรของยานพาหนะในโรงพยาบาลชัดเจนเป็นระเบียบ ทั่วถึงและอยู่ในสภาพดี ภูมิสถาปัตย์ดีมาก มีจำนวนเตียง 362 เตียง มีอาคารให้บริการ 16 หลัง ร้อยละ 50 มีอายุมากกว่า 20 ปี อัตราครองเตียงร้อยละ 105.2 อัตรากำลังรวมทั้งสิ้น 731 คน เป็นลูกจ้างประจำร้อยละ 29.82 ลูกจ้างชั่วคราวร้อยละ 17.1 ข้าราชการมีเพียงร้อยละ 38.84 ของกรอบอัตรากำลังที่กำหนด มีแพทย์เพียง 27 คน (ร้อยละ 26.73 ของกรอบ) รายรับจากงบประมาณ 142.6 ล้านบาท เป็นค่าสิ่งก่อสร้าง 65.46 ล้านบาท รายรับเงินบำรุง 61.56 ล้านบาท มูลค่าวัสดุคงคลัง 5.9 ล้านบาท หนี้สินค้างชำระ 15.6 ล้านบาท เงินบำรุงคงเหลือ 37.6 บาท อัตราส่วนสภาพคล่อง=2.40 ผู้ป่วยนอกรวม 175,877 ครั้ง ส่วนมากเป็นผู้ป่วยอายุรกรรม (ร้อยละ 30.8) รองลงไปเป็นผู้ป่วยศัลยกรรมและออโธปิดิกส์ (ร้อยละ 25.1) ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยออโธปิดิกส์ร้อยละ 50.7 กลุ่มโรคที่พบมากที่สุดคือ โรคระบบหายใจ (ร้อยละ 11.4) รองลงไปเป็นโรคระบบย่อยอาหาร (ร้อยละ 9.6) และโรคระบบประสาทและอวัยวะสัมผัส (ร้อยละ 7.2) ตามลำดับ รับผู้ป่วยใน 27,838 ครั้ง อยู่รักษาตัวเฉลี่ย 5.0 วัน/ครั้ง การเจ็บป่วยที่พบมากที่สุดคือ อุบัติเหตุ (ร้อยละ 5.4) และโรคท้องร่วง (ร้อยละ 4.1) ตามลำดับ อัตราตายของผู้ป่วยในร้อยละ 3.11 ส่วนมากตายจากโรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ 12.2) อุบัติเหตุ (ร้อยละ 11.8) และมาลาเรีย (ร้อยละ 7.2) ตามลำดับ อัตราการติดเชื้อในโรงพบาบาลร้อยละ 0.96 สามารถจัดบริการได้ร้อยละ 93.99 ของเกณฑ์มาตรฐาน ต้นทุน(ไม่รวมค่าแรง) ผู้ป่วยนอก 73 บาท/ครั้ง ผู้ป่วยใน 1,934.-บาท/ครั้ง ความพึงพอใจของประชาชนทั่วไป ผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอยู่ในระดับปานกลางทุกกลุ่มและทุกด้าน มีข้อเสนอแนะจากผู้มารับบริการให้ปรับปรุงบริการให้รวดเร็วขึ้น แพทย์ควรให้เวลากับคนไข้มากขึ้น ควรช่วยเหลือแนะนำผู้ป่วยให้มากชึ้น เจ้าหน้าที่เสนอแนะให้ปรับปรุงคุณภาพการบริการ ส่งเสริมความร่วมมือประสานงานการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ และการพัฒนาวิชาการ ผลงานเด่นของโรงพยาบาลคือ การจัดทำดัชนีโรงพยาบาล การแยกประเภทใบสั่งยา การทำน้ำประปาจากน้ำบาดาล การจัดตั้งสำนักงานประกันสุขภาพ การผลิตยาน้ำปราศจากเชื้อ การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป จากการวิเคราะห์ของการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีการพัฒนามาอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่ทุกคน สิ่งที่ควรดำเนินการในระยะต่อไปคือ การพัฒนาคน การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยลดงานบางอย่างและการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนางาน
Description
การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 7 วิถีชีวิตไทยยุคโลกาภิวัตน์กับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาสุขภาพ, 6-8 ธันวาคม 2538 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538. หน้า 67-8.