Factors associated with the retention in care after delivery among Thai mothers with HIV
Issued Date
2023
Copyright Date
2014
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xi, 178 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2014
Suggested Citation
Thiwarphorn Chalermpichai Factors associated with the retention in care after delivery among Thai mothers with HIV. Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2014. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89732
Title
Factors associated with the retention in care after delivery among Thai mothers with HIV
Alternative Title(s)
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
The objectives of this retrospective study were to study the prevalence of retention in care and examine the predictive factors of retention in care during the first year after delivery among Thai mothers with HIV. This study group was comprised of 185 mothers with HIV infection who gave birth at Siriraj Hospitals during the period from January 1, 2010 to December 31, 2012. The participants were recruited from the Gynecologic Infectious Diseases and Female Sexually Transmitted Disease Unit, Department of Obstetrics and Gynecology and HIVoutpatient clinic, Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital between March 1, 2014 and July 31, 2014. Data were collected through the distributions of a self-administered questionnaire and telephone interviews. Data were analyzed using frequencies, percentages, means, standard deviation, and binary logistic regression analysis. Results showed that more than three forth (77.3%) of the participants had retention in care at the HIV clinics while only 46.5% retention in care at the Obstetrics and Gynaecology clinics. The top five reasons for non-retention in care included inconvenience, no antenatal care (ANC) or ANC at other hospitals and/or no postpartum examination, a lack of knowledge about benefits of their health coverage, no appointment from physician, and non-disclosure their HIV status. The results of multiple logistic regression analysis revealed that the predictive factors of retention in care at HIV clinics during the first year after delivery among Thai mothers with HIV were health coverage (OR=46.32, 95%CI = 9.86-217.71, p<.001), referral (OR=8.90, 95%CI = 2.44-32.44, p<.01), and perceived health status (OR = 1.50, 95% CI = 1.04-2.17, p<.05). These factors could explain the variance of retention in care at HIV clinic approximately 80%, with an overall correct prediction of 93%. The predictive factors of retention in care at OB&GYN clinics were referral (OR=3.80, 95%CI = 1.81-7.95, p<.001) and disclosure of HIV status (OR=2.46, 95%CI = 1.04-5.80, p<.05). These factors could explain the variance of retention in care at OB&GYN clinics approximately 14%, with an overall correct prediction of 63.2%. The results suggested that health care providers should provide the effective referral system to refer patients to their registered hospital and improve benefits of health coverage to be relevant to patients' need. The health care providers should provide training course or work-shop for patients' self-disclosure to add patients' knowledge and practice and to promote patients' self-disclosure. Moreover, policy makers should provide opportunities for both patients perceived healthy and unhealthy in order to monitor their health equally.
การวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำรวจความชุกของการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพ เพื่อทดสอบปัจจัยที่สามารถทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพในช่วง 1 ปีแรกหลังคลอดบุตรของมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ มารดาติดเชื้อเอชไอวีที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 185 ราย โดยเก็บข้อมูลที่หน่วยตรวจโรคติดเชื้อทางนรีเวชและเพศสัมพันธ์สตรี ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และหน่วยตรวจโรคเอชไอวี ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ. ศิริราชระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก ผลการวิจัยพบว่า 77.3% ของแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีคงอยู่ในการดูแลสุขภาพที่คลินิกเอชไอวี ขณะที่ 46.5% ของแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีคงอยู่ในการดูแลสุขภาพที่คลินิกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เหตุผลสำคัญ 5 อันดับแรกที่มารดาติดเชื้อเอชไอวีไม่สามารถคงอยู่ในการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ความไม่สะดวก การไม่ได้ฝากครรภ์ ขาดความรู้เกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล แพทย์ไม่ได้มีนัดตรวจ และไม่เปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกพบว่า ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาที่คลินิกเอชไอวี ได้แก่ หลักประกันทางสุขภาพ (OR=46.32, 95%CI = 9.86-217.71, p<.001) การส่งต่อ (OR=8.90, 95%CI = 2.44-32.44, p<.01) และการรับรู้สภาวะสุขภาพ (OR = 1.50, 95% CI = 1.04-2.17, p<.05) โดยปัจจัยทั้งสามร่วมกันอธิบายโอกาสในการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ร้อยละ 80 และสามารถพยากรณ์การคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้องร้อยละ 93 ปัจจัยที่สามารถทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาที่คลินิกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คือ การส่งต่อ (OR=39.85, 95%CI = 14.89-106.65, p<.001) และการเปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวี (OR=2.46, 95%CI = 1.04-5.80, p<.05) โดยปัจจัยทั้งสองร่วมกันอธิบายโอกาสในการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ร้อยละ 14 และสามารถพยากรณ์การคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้องร้อยละ 63.2 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ผู้ให้การดูแลสุขภาพควรจัดให้มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพไปยังสถานบริการพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ และปรับปรุงบริการของสิทธิประโยชน์ชนิดต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยโดยรวมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังควรจัดให้มีหลักสูตรอบรมเพิ่มความรู้และแนวทางปฏิบัติใน การเปิดเผยตนเองให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้กำหนดนโยบายทางสุขภาพควรให้โอกาสผู้ป่วยทั้งในรายที่รับรู้ว่ามีสุขภาพดีและสุขภาพไม่ดีเข้ารับการติดตามโรคแบบเท่าเทียมกัน
การวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำรวจความชุกของการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพ เพื่อทดสอบปัจจัยที่สามารถทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพในช่วง 1 ปีแรกหลังคลอดบุตรของมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ มารดาติดเชื้อเอชไอวีที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 185 ราย โดยเก็บข้อมูลที่หน่วยตรวจโรคติดเชื้อทางนรีเวชและเพศสัมพันธ์สตรี ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และหน่วยตรวจโรคเอชไอวี ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ. ศิริราชระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก ผลการวิจัยพบว่า 77.3% ของแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีคงอยู่ในการดูแลสุขภาพที่คลินิกเอชไอวี ขณะที่ 46.5% ของแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีคงอยู่ในการดูแลสุขภาพที่คลินิกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เหตุผลสำคัญ 5 อันดับแรกที่มารดาติดเชื้อเอชไอวีไม่สามารถคงอยู่ในการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ความไม่สะดวก การไม่ได้ฝากครรภ์ ขาดความรู้เกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล แพทย์ไม่ได้มีนัดตรวจ และไม่เปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกพบว่า ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาที่คลินิกเอชไอวี ได้แก่ หลักประกันทางสุขภาพ (OR=46.32, 95%CI = 9.86-217.71, p<.001) การส่งต่อ (OR=8.90, 95%CI = 2.44-32.44, p<.01) และการรับรู้สภาวะสุขภาพ (OR = 1.50, 95% CI = 1.04-2.17, p<.05) โดยปัจจัยทั้งสามร่วมกันอธิบายโอกาสในการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ร้อยละ 80 และสามารถพยากรณ์การคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้องร้อยละ 93 ปัจจัยที่สามารถทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาที่คลินิกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คือ การส่งต่อ (OR=39.85, 95%CI = 14.89-106.65, p<.001) และการเปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวี (OR=2.46, 95%CI = 1.04-5.80, p<.05) โดยปัจจัยทั้งสองร่วมกันอธิบายโอกาสในการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ร้อยละ 14 และสามารถพยากรณ์การคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้องร้อยละ 63.2 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ผู้ให้การดูแลสุขภาพควรจัดให้มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพไปยังสถานบริการพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ และปรับปรุงบริการของสิทธิประโยชน์ชนิดต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยโดยรวมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังควรจัดให้มีหลักสูตรอบรมเพิ่มความรู้และแนวทางปฏิบัติใน การเปิดเผยตนเองให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้กำหนดนโยบายทางสุขภาพควรให้โอกาสผู้ป่วยทั้งในรายที่รับรู้ว่ามีสุขภาพดีและสุขภาพไม่ดีเข้ารับการติดตามโรคแบบเท่าเทียมกัน
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Nursing
Degree Discipline
Nursing
Degree Grantor(s)
Mahidol University