ผลกระทบของการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ซิกาแรต ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ

dc.contributor.authorมณฑา เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorลักขณา เติมศิริกุลชัยen_US
dc.contributor.authorศรัณญา เบญจกุลen_US
dc.contributor.authorธราดล เก่งการพานิชen_US
dc.contributor.authorMondha Kengganpanichen_US
dc.contributor.authorLakkhana Termsirikulchaien_US
dc.contributor.authorTharadol Kengganpanichen_US
dc.contributor.illustratorมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-04-22T01:29:12Z
dc.date.accessioned2020-10-12T06:57:41Z
dc.date.available2016-04-22T01:29:12Z
dc.date.available2020-10-12T06:57:41Z
dc.date.created2559-04-22
dc.date.issued2552
dc.description.abstractมาตรการภาษีจัดได้ว่าเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการบริโภคยาสูบ ดังนั้นเมื่อรัฐบาล ไทยได้ประกาศขึ้นภาษีจากร้อยละ 80 เป็น 85 ของราคาบุหรี่หน้าโรงงานเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของการขึ้นภาษีบุหรี่ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ประจำที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และศึกษาความคิดเห็นของผู้สูบบุหรี่เป็นประจำต่อการขึ้นภาษีบุหรี่ โดยเลือกตัวอย่างจากระเบียนข้อมูลผู้สูบบุหรี่เป็นประจำจากโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ระดับโลก สุ่มเลือกตามภาค ได้แก่ คาคเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลางและกรุงเทพมหานคร ภาคละ 100 คน รวมตัวอย่าง 500 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในสัปดาห์ที่ 1-2 ของเดือนกรกฎาคม 2552 วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 504 คน พบว่า หลังขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 9.7 ลดปริมาณสูบบุหรี่ร่วมกับเปลี่ยนยี่ห้อ/ประเภทบุหรี่ร้อยละ 48.0 เปลี่ยนประเภทบุหรี่มวนเองเพียงอย่างเดียว ร้อยละ 7.5 เปลี่ยนยี้ห้อบุหรี่ ร้อยละ 5.0 และที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ สูบปริมาณเท่าเดิม ยี้ห้อเดิม ร้อยละ 26.0โดยร้อยละ 65.8 ระบุว่าการขึ้นภาษีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การเลิกบุหรี่พบว่ากลุ่มอายุน้อย (16-24 ปี) และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปเลิกสูบบุหรี่สูงกว่ากลุ่มอายุอื่น และกลุ่มรายได้ปานกลางมีการเลิกสูบสูงที่สุด สำหรับการเปลี่ยนยี่ห้อและการเปลี่ยนประเภทจากบุหรี่โรงงานเป็นบุหรี่มวนเองพบสูงในกลุ่มอายุสูงและกลุ่มรายไดน้อย ผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ 1 ใน 2 เห็นด้วยกับการขึ้นภาษี และประมาณ 1 ใน 2 เช่นกันที่มีความคิดเห็นว่าการขึ้นภาษีบุหรี่ผิดกฎหมาย ได้แก่ การลักลอบนำเข้าบุหรี่หนีภาษี/บุหรี่เถื่อน การผลิตบุหรี่ปลอม/ลักลอบขายบุหรี่ปลอม และการซื้อบุหรี่จาร้านค้าปลอดภาษี/การซื้อบุหรี่จากประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนมากขึ้น จากผลการศึกษาควรอย่างยิ่งที่จะมีการปรับอัตราภาษีบุหรี่ให้สูงยิ่งขึ้นและใช้วิธีการคำนวณตามที่องค์การอนามัยโลกเสนอแนะ ควบปรับภาษีบุหรี่นำเข้าและบุหรี่มวนเอง เพื่อไม่ให้มีช่องว่างอัตราภาษีอีกทั้งควรจัดบริการเลิกสูบบุหรี่ทั้งในคลีนิคและสายด่วนปลอดบุหรี่ให้เพียงพอต่อความต้องการen_US
dc.description.abstractTobacco taxes are one of the most effective policy interventions to reduce tobacco use. Thai government increased tax rate of ex-factory price from 80% to 85% on May, 15, 2009. This cross-sectional study aimed to explore the impact of the tax increase on the smoking behavior and opinion on tax increase among daily smokers from four regions and Bangkok. Samples were selected 504 daily smokers from data-based survey of Globle Adult Tobacco Survey (GATS) who aged 15 year and over. Data were collected by telephone interview during the first and second week of July, 2009 and analyzed with descriptive statistics. The results revealed that after tobacco tax increase, it has impacted on quit rate of 9.7%, cigarette consumption reduction and changing type of 48.0%, and 7.5% shifted from cigarette to hand rolled. 65.8% indicated that tax increase has impacted on smoking behavior change. High quit smoking occurred in your group (16-24 years) and elderly (60 years and over), and middle group. Brand and type change have found highly among the elderly and low income smokers. One in two of daily smokers agreed with tobacco tax increase. Nevertheless, these smokers concerned with the impact of tax increase to illicit trade such as smuggling in, and counterfeit cigarette. According to the result, the domestic tobacco tax should be increased two-third or three-fourth of retail price as the WHO suggestion and including the tax increase of hand rolled cigarette and imported cigarette in order to effectively reduce tobacco use. At the same time, rigorously illicit trade control also be important. The cessation service both in clinic and quitline should be provided adequately.
dc.description.sponsorshipสนับสนุนโดย เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบen_US
dc.identifier.urihttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/59361
dc.language.isothaen_US
dc.rights.holderมหาวิทยาลัยมหิดล.en_US
dc.subjectภาษีบุหรี่en_US
dc.subjectการสูบบุหรี่en_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.titleผลกระทบของการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ซิกาแรต ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่เป็นประจำen_US
dc.title.alternativeImpact of tobacco tax increase on smoking behaviors among daily smokersen_US
dc.typeResearch Reporten_US
mods.location.copyInformationhttps://library.mahidol.ac.th/record=b1286292

Files

License bundle

Now showing 1 - 1 of 1
No Thumbnail Available
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Plain Text
Description: