การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาภาษาพม่าทางโทรศัพท์ระหว่างเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลชาวไทยกับลูกค้าชาวพม่า
dc.contributor.advisor | สุจริตลักษณ์ ดีผดุง | |
dc.contributor.advisor | ปัทมา พัฒน์พงษ์ | |
dc.contributor.advisor | อิสระ ชูศรี | |
dc.contributor.author | วิจิตร คริเสถียร | |
dc.date.accessioned | 2024-01-23T06:22:41Z | |
dc.date.available | 2024-01-23T06:22:41Z | |
dc.date.copyright | 2555 | |
dc.date.created | 2567 | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.description | ภาษาศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2555) | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้ ศึกษาโครงสร้างบทสนทนาภาษาพม่าทางโทรศัพท์ระหว่างเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลชาวไทยกับลูกค้าชาวพม่า โดยใช้ข้อมูลที่บันทึกจากศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์จำนวน 80 บทสนทนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แนวคิดการวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาของแซคก์ เชกลอฟฟ์และเจฟเฟอร์สัน (Sacks, Schegloff, & Jefferson,1974) เชกลอฟฟ์ และคณะ(Schegloff et al., 1977) และเชกลอฟฟ์ (Schegloff , 1968, 1979) ผลการศึกษาพบว่า ขั้นตอนการเปิดการสนทนามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเรียก-ตอบ 2) ขั้นทักทายและ 3) ขั้นแสดงตัว-จำได้ ส่วนการปิดการสนทนานั้นพบว่า มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การนำไปสู่การปิดการสนทนา และ 2) การปิดการสนทนา และจากข้อมูลพบว่า เจ้าหน้าที่และลูกค้าเลือกใช้กลวิธีการนำไปสู่การปิดการสนทนาที่สัมพันธ์กับหน้าที่ของตนเอง นอกจากนี้ การศึกษานี้ยังพบว่า การผลัดกันพูดมีการเลือกใช้กฎการจัดสรรกันพูดแบบที่ผู้พูดคนแรกเลือกผู้อื่นเป็นผู้พูดคนถัดไปมากที่สุด โดยใช้กลวิธีการใช้คำถามและการใช้ประโยคขอร้อง ส่วนการพูดซ้อนเหลื่อม พบว่า มี 4 ประเภท ได้แก่ 1) การพูดซ้อนเหลื่อมท้ายประโยค 2) การพูดซ้อนเหลื่อมเพื่อสานต่อการสนทนา 3) การพูด ซ้อนเหลื่อม เพื่อเพิ่มข้อมูลที่คู่สนทนาต้องการ และ4) การพูดพร้อมกัน และยังพบว่าเจ้าหน้าที่พูดซ้อนเหลื่อมท้าย ประโยค เพื่อขัดจังหวะการพูด ส่วนลูกค้าชาวพม่าพูดซ้อนเหลื่อมท้ายประโยค เพื่อตรวจสอบความความเข้าใจและพูด ซ้อนเหลื่อมเพื่อสานต่อการสนทนา สำหรับการแสดงว่ารับฟังอยู่พบว่า มี 4 ประเภท ได้แก่1) ถ้อยคำสั้นๆ 2)คำตอบรับ 3) การกล่าวซ้ำ และ4) คำถาม และพบว่ามีการเลือกใช้ประเภทและตำแหน่งของการแสดงว่ารับฟังอยู่แตกต่างกัน คือ เจ้าหน้าที่ใช้คำตอบรับ เพื่อแสดงว่ารับฟังอยู่ ในตำแหน่งที่ลูกค้าพูดจบ ในขณะที่ลูกค้าใช้คำตอบรับ เพื่อแสดงว่ารับฟัง อยู่ ทั้งในตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่กำลังพูดอยู่และตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่พูดจบ ส่วนการศึกษาการปรับแก้พบว่า มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) เริ่มต้นการปรับแก้ด้วยตนเองแล้วปรับแก้ด้วยตนเอง 2) การเริ่มปรับแก้โดยผู้อื่นแล้วปรับแก้ด้วยตนเอง และ 3) การเริ่มต้นการปรับแก้โดยผู้อื่นแล้วปรับแก้โดยผู้อื่น ซึ่งประเภทที่พบมากที่สุด คือ การเริ่มปรับแก้โดยผู้อื่นแล้ว ปรับแก้ด้วยตนเอง | |
dc.format.extent | ก-ญ, 210 แผ่น | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93618 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ศูนย์ตอบรับโทรศัพท์ | |
dc.subject | บริการลูกค้า | |
dc.subject | ภาษาพม่า -- บทสนทนาและวลี | |
dc.subject | สนทนาวิเคราะห์ | |
dc.title | การวิเคราะห์โครงสร้างบทสนทนาภาษาพม่าทางโทรศัพท์ระหว่างเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลชาวไทยกับลูกค้าชาวพม่า | |
dc.title.alternative | An analysis of Burmese telephone conversational structures between Thai Call Center operators and Burmese customers | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2555/cd470/5136505.pdf | |
thesis.degree.department | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย | |
thesis.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |