การศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็มต่อการรักษาโรคไมเกรน
Issued Date
2556
Resource Type
Language
tha
Call No.
W3 ก482ม ครั้งที่ 1 2556 [ LIPT, LILC, LISI, LICL, LIAD, LINS, LIPY]
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
Physical Location
Faculty of Physical Therapy, Surasak Srisuk Library
Research Institute for Languages and Cultures of Asia
Siriraj Medical Library Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Central Library
ASEAN Institute for Health Development Library
Faculty of Nursing Library
Faculty of Pharmacy Library
Research Institute for Languages and Cultures of Asia
Siriraj Medical Library Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Central Library
ASEAN Institute for Health Development Library
Faculty of Nursing Library
Faculty of Pharmacy Library
Suggested Citation
สมภพ สูอำพัน, โชษิตา แก้วเกษ (2556). การศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็มต่อการรักษาโรคไมเกรน. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11007
Title
การศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็มต่อการรักษาโรคไมเกรน
Alternative Title(s)
The effectivenessof acupuncture for the treatment of migraine)
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่อง รูปแบบ interventional study เปรียบเทียบ Pre-test และ Post-test โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝังเข็มต่อการรักษาผู้ป่วยโรคไมเกรน ที่เข้ามารับการรักษาที่แผนกแพทย์แผนจีน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 24 คน โดยได้รับความสมัครใจ และยินยอมเข้าร่วมการศึกษา ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการรักษาฝังเข็มทั้งหมด 8 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ ตัวชี้วัดของการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ความรุนแรงของอาการปวด จำนวนครั้งของอาการปวด และจำนวนครั้งของการใช้ยาแก้ปวด ซึ่งประเมินจากแบบบันทึกอาการปวดศีรษะ (Headache diary) ที่ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้บันทึกตลอดช่วงของการศึกษา โดยวัดผล pre-treatment คือช่วงเวลาก่อนเข้ารับการฝังเข็ม 1 เดือน เปรียบเทียบกับ post-treatment คือช่วงเวลาหลังฝังเข็มสัปดาห์ที่ 1-4 และหลังฝังเข็มสัปดาห์ที่ 5-8 ผลการศึกษาพบว่า การฝังเข็มสามารถช่วยลดจำนวนครั้งของอาการปวด ลดความรุนแรงของอาการปวด และลดจำนวนการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไมเกรนได้ ในช่วงหลังฝังเข็มสัปดาห์ที่ 1-4 จนถึงสัปดาห์ที่ 5-8 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ทั้งนี้การฝังเข็มยังสามารถช่วยลดจำนวนครั้งของอาการปวดและลดจำนวนการใช้ยาได้มากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 5-8 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงสัปดาห์ที่ 1-4 สำหรับสัดส่วนของผู้ที่ตอบสนองต่อการฝังเข็ม (คำนวณจากผู้ที่มีจำนวนครั้งของอาการปวดลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50) คิดเป็นร้อยละ 70.83 ภาพรวมของผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการฝังเข็มที่สามารถช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยโรคไมเกรนได้
Description
หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 เรื่องการแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน. ณ ห้องประชุมศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ชั้น G นครปฐม, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. 2 เมษายน 2556. หน้า 260-274