A study of risk factors for cardiovascular disease in people in a province in Southern part of Thailand
Issued Date
2016
Copyright Date
2016
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 103 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Epidemiology))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Rusila Tokilay A study of risk factors for cardiovascular disease in people in a province in Southern part of Thailand. Thesis (M.Sc. (Epidemiology))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93273
Title
A study of risk factors for cardiovascular disease in people in a province in Southern part of Thailand
Alternative Title(s)
การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างคนไทยนับถือศาสนาอิสลามกับคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดยะลา
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
Cardiovascular disease has become a major health problem in Thailand. Individuals with different ethnicities and religions have different cultures and lifestyles, which may eventually result in differences in the levels of cardiovascular risk factors. This cross-sectional study aimed to compare risk factors for cardiovascular disease between Islamic and non-Islamic Thai people living in the lower southern part of Thailand. Islamic and non-Islamic Thai adults aged 35 years or older who lived in Yaha district, Yala province, were randomly selected and invited to participate in the study, with the ratio of Islamic to non-Islamic participants being 2:1. Data were obtained from each participant by means of a self-administered questionnaire, physical examination and blood tests after overnight fasting. Comparisons of categorical variables between groups were carried out using the chi- square test. Continuous variables were compared using independent t-test or Mann- Whitney U test as appropriate. Four hundred and five subjects, 270 Islamics and 135 non Islamics, participated in the study. Forty-six percent were male, and the median age of the participants was 52 years old (interquartile range 44 to 61). Subjects in the Islamic group had significantly higher proportion of diabetes mellitus compared to those in the non-Islamic group [37.4% vs. 23.7%, prevalence rate ratio (PRR) 1.57, 95% confidence interval (CI) of PRR 1.12 to 2.21, p = 0.006]. Median waist circumference was also greater in the Islamic group than in the non-Islamic group in both sexes (87.0 cm vs. 84.5 cm in males, p = 0.011; 85.0 cm vs. 80.0 cm in females, p = 0.028). There were no statistically significant differences between the 2 groups with regards to systolic and diastolic blood pressures, presence of hypertension, fasting plasma glucose, lipid profiles, body mass index, and presence of the metabolic syndrome, levels of physical activities, smoking status, and presence of multiple risk factors. In conclusion, Islamic Thai adults in the lower southern part of Thailand have higher prevalence of diabetes mellitus and greater waist circumference compared to non-Islamic counterparts. Whether these differences translate into differences in the risks of cardiovascular disease needs to be studied further.
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ประชาชนต่างเชื้อชาติและศาสนามีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แตกต่างกันได้ การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามกับคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่คนไทยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยสุ่มเลือกตัวอย่างให้มีอัตราส่วนคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามต่อคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามเท่ากับ 2:1 การเก็บข้อมูลวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือดภายหลังการงดอาหารในช่วงกลางคืน การเปรียบเทียบตัวแปรเชิงคุณภาพใช้การทดสอบChi-square ส่วนการเปรียบเทียบตัวแปรเชิงปริมาณใช้การทดสอบindependent t หรือการทดสอบMann-Whitney U ตามความเหมาะสม อาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษานี้มีทั้งหมด 405 คน เป็นกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม 270 คน และกลุ่มคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม 135 คน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46 เป็นเพศชาย และมีค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ52 ปี (พิสัยระหว่างควอร์ไทล์44-61ปี) พบว่ากลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมีความชุกของโรคเบาหวานมากกว่ากลุ่มคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [ร้อยละ 37.4 เปรียบเทียบกับร้อยละ23.7, อัตราส่วนความชุก (prevalence rate ratio) 1.57, ช่วงความเชื่อมั่น 95%1.12-2.21, p = 0.006] และเส้นรอบเอวในกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามทั้งเพศชายและหญิง(ค่ามัธยฐานเส้นรอบเอวเพศชาย 87.0 เซนติเมตรเปรียบเทียบกับ 84.5เซนติเมตร, p = 0.011; เพศหญิง 85.0 เซนติเมตรเปรียบเทียบกับ 80.0เซนติเมตร, p = 0.028) ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามกับคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามได้แก่ ค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัว,โรคความดันโลหิตสูง,ระดับน้ำตาลในเลือด,ระดับไขมันในเลือด,ดัชนีมวลกาย,กลุ่มอาการเมตะโบลิก,ระดับการออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่, และการมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายปัจจัย โดยสรุป การศึกษานี้พบว่าคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มีความชุกของโรคเบาหวานมากกว่าและมีขนาดเส้นรอบเอวใหญ่กว่าคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ความแตกต่างนี้จะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แตกต่างกันในประชากรทั้ง 2 กลุ่มหรือไม่ จะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ประชาชนต่างเชื้อชาติและศาสนามีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แตกต่างกันได้ การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามกับคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่คนไทยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยสุ่มเลือกตัวอย่างให้มีอัตราส่วนคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามต่อคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามเท่ากับ 2:1 การเก็บข้อมูลวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือดภายหลังการงดอาหารในช่วงกลางคืน การเปรียบเทียบตัวแปรเชิงคุณภาพใช้การทดสอบChi-square ส่วนการเปรียบเทียบตัวแปรเชิงปริมาณใช้การทดสอบindependent t หรือการทดสอบMann-Whitney U ตามความเหมาะสม อาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษานี้มีทั้งหมด 405 คน เป็นกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม 270 คน และกลุ่มคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม 135 คน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46 เป็นเพศชาย และมีค่ามัธยฐานของอายุเท่ากับ52 ปี (พิสัยระหว่างควอร์ไทล์44-61ปี) พบว่ากลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมีความชุกของโรคเบาหวานมากกว่ากลุ่มคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [ร้อยละ 37.4 เปรียบเทียบกับร้อยละ23.7, อัตราส่วนความชุก (prevalence rate ratio) 1.57, ช่วงความเชื่อมั่น 95%1.12-2.21, p = 0.006] และเส้นรอบเอวในกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามทั้งเพศชายและหญิง(ค่ามัธยฐานเส้นรอบเอวเพศชาย 87.0 เซนติเมตรเปรียบเทียบกับ 84.5เซนติเมตร, p = 0.011; เพศหญิง 85.0 เซนติเมตรเปรียบเทียบกับ 80.0เซนติเมตร, p = 0.028) ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามกับคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามได้แก่ ค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัว,โรคความดันโลหิตสูง,ระดับน้ำตาลในเลือด,ระดับไขมันในเลือด,ดัชนีมวลกาย,กลุ่มอาการเมตะโบลิก,ระดับการออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่, และการมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายปัจจัย โดยสรุป การศึกษานี้พบว่าคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มีความชุกของโรคเบาหวานมากกว่าและมีขนาดเส้นรอบเอวใหญ่กว่าคนไทยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ความแตกต่างนี้จะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แตกต่างกันในประชากรทั้ง 2 กลุ่มหรือไม่ จะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Description
Epidemiology (Mahidol University 2016)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Degree Discipline
Epidemiology
Degree Grantor(s)
Mahidol University