Risky sexual behavior prevention program among adolescent boys
dc.contributor.advisor | Arpaporn Powwattana | |
dc.contributor.advisor | Punyarat Lapvongwatana | |
dc.contributor.author | Worawan Tipwareerom | |
dc.date.accessioned | 2023-09-12T07:07:17Z | |
dc.date.available | 2023-09-12T07:07:17Z | |
dc.date.copyright | 2010 | |
dc.date.created | 2010 | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยประยุกต์ใช้ Information-Motivation-BehaviouralSkills (IMB) Model เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและพัฒนารูปแบบการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเด็กวัยรุ่นชาย ดำเนินการวิจัยในชุมชนแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลตำบลวังน้ำคู้ จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยแบ่งออกเป็น 1) การประเมินสถานการณ์โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเด็กชายอายุ 10-13 ปี จำนวน 112 คน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยเสี่ยง 2) การวางแผนพัฒนาโปรแกรม โดยการประชุมกลุ่ม (เด็กชาย พ่อแม่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง) จำนวน 39 คน 3) ปฏิบัติการใช้โปรแกรม และประเมินผลเพื่อพัฒนาโปรแกรมใหม่ในกลุ่มเด็กชายจำนวน 74 คน และผู้ปกครองจำนวน 74 คน 4) การประเมินผลการพัฒนารูปแบบ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์การถดถอย การวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบกลุ่มเดียว ข้อมูลเชิง คุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาได้รูปแบบการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็กชาย ประกอบด้วย 1) ความรู้ เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 2) การรับรู้ความสามารถตนเองในการชะลอการมีเพศสัมพันธ์ และทักษะการใช้ถุงยางอนามัย 3) ทักษะการตัดสินใจ 4) ทักษะการปฎิเสธ 5) การพูดคุยสื่อสารเรื่องเพศกับพ่อแม่ นอกจากนี้ได้เพิ่ม 6) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ 7) ฝึกปฏิบัติรวมทุกทักษะ จากประเมินผลเพื่อพัฒนาโปรแกรมใหม่ ผู้ปกครองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา คือ 1) ความรู้เรื่องการกำกับดูแลบุตร การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ 2) การพูดคุยสื่อสารเรื่องเพศกับบุตร กระบวนการที่ใช้พัฒนารูปแบบได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมของกลุ่มตัวอย่าง 2) การบริการจัดการโปรแกรม 3) การประเมินผลเพื่อพัฒนาโปรแกรม 4) การสร้างเครือข่ายปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ได้แก่ การดื่มสุรา เพื่อน และ ความสะดวกใจในการพูดคุยเรื่องเพศกับพ่อแม่ ผลของโปรแกรมการป้องกันสามารถเพิ่มความรู้ ทักษะ และความตระหนักต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเด็กชาย ปัจจัยความสำเร็จและความยั่งยืนของการวิจัยนี้ได้แก่การมีส่วนร่วมจากเด็กชายพ่อแม่และความร่วมมือจากโรงเรียนในการประสานงานสร้างเป็นเครือข่ายดำเนินการเพื่อผลลัพธ์คือการป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเด็ก | |
dc.format.extent | x, 301 ,leaves : ill. (some col.) | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (Dr.P.H. (Public Health Nursing))--Mahidol University, 2010 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89965 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Adolescence -- Sexual behavior | |
dc.subject | Teenagers -- Sexual behavior | |
dc.subject | Sexual Behavior -- in adolescence | |
dc.title | Risky sexual behavior prevention program among adolescent boys | |
dc.title.alternative | โปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในเด็กวัยรุ่นชาย | |
dcterms.accessRights | restricted access | |
mu.link.internalLink | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd447/4836123.pdf | |
thesis.degree.department | Faculty of Public Health | |
thesis.degree.discipline | Public Health Nursing | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Doctoral Degree | |
thesis.degree.name | Doctor of Public Health |