ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังในจังหวัดนครปฐม
Issued Date
2560
Copyright Date
2560
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ญ, 166 แผ่น
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560
Suggested Citation
อรรถพล ศรีชิษณุวรานนท์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92674
Title
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังในจังหวัดนครปฐม
Alternative Title(s)
Factors related to adjustment of spinal cord injury persons in Nakornpathom province
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุเพื่อ 1) ศึกษาระดับการปรับตัว การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม 2) เปรียบเทียบระดับการปรับตัวของคนพิการบาดเจ็บไขสันหลัง จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาที่พิการ การเข้าร่วมกิจกรรม 3) ศึกษาความสัมพันธ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม ต่อการปรับตัวของคนพิการเจ็บไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการพุทธมณฑล อายุ 18 - 60 ปี จำนวน 93 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติบรรยาย โดยการแจกแจงค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอ้างอิง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม (T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (one-way ANOVA) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธ์ิความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) ผลการศึกษาพบว่า 1) คนพิการบาดเจ็บไขสันหลังมีระดับการปรับตัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางการเห็นคุณค่าในตนเองมีระดับคะแนนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) คนพิการบาดเจ็บไขสันหลังที่มีภูมิหลังต่างกัน มีระดับการปรับตัวต่างกันพบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาที่พิการ การเข้าร่วมกิจกรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการปรับตัวไม่แตกต่างกัน 3)การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อการปรับตัวของคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของคนพิการบาดเจ็บไขสันหลัง โดยการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์โดยรวมด้านการยอมรับ ยกย่องและเห็นคุณค่าโดยรวม ด้านข้อมูลข่าวสารโดยรวม ด้านสิ่งของและบริการโดยรวม และ การเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวโดยรวม ร้อยละ 69.1 และสามารถพยากรณ์ระดับการปรับตัวโดยรวมได้ร้อยละ 47.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์ ±.299
This study is a survey study which aims to 1) study the levels of adjustment, self-esteem, and social support toward people with spinal cord injury 2) compare people with spinal cord injury's levels of adjustment according to their backgrounds 3) study the relationship between self-esteem and social supports toward people with spinal cord injury's levels of adjustment. The population of the study is 125 people with disabilities who acquired spinal cord injury. All population are as listed in Phuthamonthon Independent Living Center, Nakhon Pathom, aged between 18 - 60 years old. Data collected through questionnaires and the interview included 93 people with disabilities. Data analysis was done with descriptive and inferential statistics, e.g. mean, S.D., percentage, T-Test, one-way ANOVA, Pearson's Correlation Coefficient, and Multiple Regression Analysis. The study shows the following results: 1) People with spinal cord injury have average levels of adjustment and social supports while the levels of self-esteem appears to be average to high. 2) People with spinal cord injury with different backgrounds have no statistical significant differences in their levels of adjustment. 3) People with spinal cord injury's self-esteem and social supports are the main factors that related to the levels of adjustment. The study found that those 2 factors are significantly related to people with spinal cord injury's adjustment at R = 0.691 and have predictive power at R2 = .477 with standard error at ±.299.
This study is a survey study which aims to 1) study the levels of adjustment, self-esteem, and social support toward people with spinal cord injury 2) compare people with spinal cord injury's levels of adjustment according to their backgrounds 3) study the relationship between self-esteem and social supports toward people with spinal cord injury's levels of adjustment. The population of the study is 125 people with disabilities who acquired spinal cord injury. All population are as listed in Phuthamonthon Independent Living Center, Nakhon Pathom, aged between 18 - 60 years old. Data collected through questionnaires and the interview included 93 people with disabilities. Data analysis was done with descriptive and inferential statistics, e.g. mean, S.D., percentage, T-Test, one-way ANOVA, Pearson's Correlation Coefficient, and Multiple Regression Analysis. The study shows the following results: 1) People with spinal cord injury have average levels of adjustment and social supports while the levels of self-esteem appears to be average to high. 2) People with spinal cord injury with different backgrounds have no statistical significant differences in their levels of adjustment. 3) People with spinal cord injury's self-esteem and social supports are the main factors that related to the levels of adjustment. The study found that those 2 factors are significantly related to people with spinal cord injury's adjustment at R = 0.691 and have predictive power at R2 = .477 with standard error at ±.299.
Description
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
วิทยาลัยราชสุดา
Degree Discipline
วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล