Local administrative organization capacity development for tourism promotion in Andaman coastal provinces
Issued Date
2024
Copyright Date
2019
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
xii, 241 leaves : ill.
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (D.P.A. (Public Policy and Public Management))--Mahidol University, 2019
Suggested Citation
Sakda Kajornbun Local administrative organization capacity development for tourism promotion in Andaman coastal provinces. Thesis (D.P.A. (Public Policy and Public Management))--Mahidol University, 2019. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92240
Title
Local administrative organization capacity development for tourism promotion in Andaman coastal provinces
Alternative Title(s)
การพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
Author(s)
Abstract
The purpose of this research is to (1) study an operational status of Local Administrative Organization (LAO) for tourism promotion; (2) investigate organizational capacity for tourism promotion along with capacity components; and (3) offer LAO capacity development approaches. A mixed methods research was employed by divided into 3 phases: (1) conducting field trips to interview tourism promotion administrators and operational officials at 10 tourism outstanding LAOs in 5 provinces to look for the answers on their current operational status and capacity as well as its components and develop them into a capacity structural equation model for tourism promotion; (2) testing the model, in a quantitative form, with empirical data to see the consistency together with the relation of cause and effect among capacity variables through a questionnaire survey with LAO personnel in the Andaman Coastal provinces in which 556 questionnaire sets were returned from 208 units; and (3) interviewing information providers who were administrators, operational officials, provincial local administrators, tourism academics, and local administration academics for recommendation on LAO capacity development approaches. The findings from data analysis reveal that LAOs in the Andaman Coastal provinces perform the tourism promotion missions by focusing on preparing sufficient infrastructure development to cope with the increasing number of tourists, and conducting tourism service development being done by both LAO and private enterprise as well as performing ongoing tourism stimulation activity projects. As for the organizational capacity, it comprises 5 components: strategic leadership, internal management, network and relation, infrastructure management, and financial management. It is found on testing the capacity structural equation model that capacity consistencies with empirical data are X2= 77.43, df=65, P=0.138, X2/df =1.191, CFI=1.00 RMSEA=0.010 SRMR=0.009 which demonstrate that factors of positive direct effects toward tourism promotion are network and relation, financial management, and infrastructure management with the affected coefficient of 0.735, 0.188 and 0.143, respectively. Moreover, strategic leadership and internal management also show indirect effects with the affected coefficient of 0.162 and 0.087. LAO capacity approaches for tourism promotion include (a) emphasis on local resources as a tourism selling point; (b) operation of network style being comprised different partners within a community, e.g., state and private sectors, entrepreneurs, especially local public participation in order to be in line with the LAO establishment; and (c) the development on LAO administrators and staffs to continuously update their understanding on the roles of tourism promotion and create management mechanism to support such promotion. administration.
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการดำเนินงานขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและองค์ประกอบศักยภาพ และแนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสม (Mix method) มีทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่โดดเด่นในด้านการจัดการท่องเที่ยว จำนวน 10 แห่งใน 5 จังหวัด เป็นการหาคำตอบเกี่ยวกับสถานภาพการดำเนินการในปัจจุบัน ศักยภาพที่ใช้ และ องค์ประกอบศักยภาพ โดยพัฒนาเป็นโมเดลสมการโครงสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการนำเอาโมเดลสมการโครงสร้างมาทดสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ว่ามีสอดคล้องกันหรือไม่ รวมถึงการดูความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปรศักยภาพ ใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้งหมด โดยได้รับแบบสอบถามคืน 556 ชุด จาก 208 หน่วยงาน และส่วนสุดท้ายเป็นการสัมภาษณ์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามองค์ประกอบ ซึ่งผู้ร่วมให้ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร พนักงานปฏิบัติการ ท้องถิ่นจังหวัด นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว และนักวิชาการด้านการปกครองท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันได้มีการดำเนินการในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามภารกิจ โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมและเพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว มีการพัฒนาระบบการบริการการท่องเที่ยวที่ดีซึ่งมีทั้งที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการภาคเอกชน รวมถึงการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวมีการจัดโครงการอย่างต่อเนื่อง ด้านศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวมี 5 องค์ประกอบ คือ ศักยภาพด้านภาวะผู้นำกลยุทธ์ ศักยภาพด้านการจัดการภายใน ศักยภาพด้านการจัดการเครือข่ายและความสัมพันธ์ ศักยภาพด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน และศักยภาพด้านการจัดการระบบการเงิน จากการทดสอบโมเดลสมการโครงสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันพบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2= 77.43, df=65, P=0.138, X2/df =1.191, CFI=1.00 RMSEA=0.010 SRMR=0.009) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อศักยภาพองค์การเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ การจัดการเครือข่ายและความสัมพันธ์การจัดการระบบการเงิน และการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน โดยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.735, 0.188 และ 0.143 ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาวะผู้นำกลยุทธ์ และการจัดการภายใน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อศักยภาพองค์การเพื่อการ ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.162 และ 0.087 ตามลำดับ แนวทางในการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เน้นการสร้างจุดขาย การท่องเที่ยวจากทรัพยากรของท้องถิ่น มีการทำงานแบบเครือข่าย ประกอบด้วยภาคีต่างๆ ในชุมชน อาทิ หน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากขึ้นตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการพัฒนาทั้งในส่วนของผู้บริหารและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการสร้างกลไกการบริหารเพื่อการสนับสนุนการส่งเสริมการท่องเที่ยว
การศึกษาเรื่อง การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการดำเนินงานขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและองค์ประกอบศักยภาพ และแนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสม (Mix method) มีทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่โดดเด่นในด้านการจัดการท่องเที่ยว จำนวน 10 แห่งใน 5 จังหวัด เป็นการหาคำตอบเกี่ยวกับสถานภาพการดำเนินการในปัจจุบัน ศักยภาพที่ใช้ และ องค์ประกอบศักยภาพ โดยพัฒนาเป็นโมเดลสมการโครงสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการนำเอาโมเดลสมการโครงสร้างมาทดสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ว่ามีสอดคล้องกันหรือไม่ รวมถึงการดูความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปรศักยภาพ ใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้งหมด โดยได้รับแบบสอบถามคืน 556 ชุด จาก 208 หน่วยงาน และส่วนสุดท้ายเป็นการสัมภาษณ์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามองค์ประกอบ ซึ่งผู้ร่วมให้ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร พนักงานปฏิบัติการ ท้องถิ่นจังหวัด นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว และนักวิชาการด้านการปกครองท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันได้มีการดำเนินการในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามภารกิจ โดยเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมและเพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว มีการพัฒนาระบบการบริการการท่องเที่ยวที่ดีซึ่งมีทั้งที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการภาคเอกชน รวมถึงการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวมีการจัดโครงการอย่างต่อเนื่อง ด้านศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวมี 5 องค์ประกอบ คือ ศักยภาพด้านภาวะผู้นำกลยุทธ์ ศักยภาพด้านการจัดการภายใน ศักยภาพด้านการจัดการเครือข่ายและความสัมพันธ์ ศักยภาพด้านการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน และศักยภาพด้านการจัดการระบบการเงิน จากการทดสอบโมเดลสมการโครงสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันพบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2= 77.43, df=65, P=0.138, X2/df =1.191, CFI=1.00 RMSEA=0.010 SRMR=0.009) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อศักยภาพองค์การเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ การจัดการเครือข่ายและความสัมพันธ์การจัดการระบบการเงิน และการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน โดยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.735, 0.188 และ 0.143 ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาวะผู้นำกลยุทธ์ และการจัดการภายใน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อศักยภาพองค์การเพื่อการ ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.162 และ 0.087 ตามลำดับ แนวทางในการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เน้นการสร้างจุดขาย การท่องเที่ยวจากทรัพยากรของท้องถิ่น มีการทำงานแบบเครือข่าย ประกอบด้วยภาคีต่างๆ ในชุมชน อาทิ หน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้มากขึ้นตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการพัฒนาทั้งในส่วนของผู้บริหารและพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการสร้างกลไกการบริหารเพื่อการสนับสนุนการส่งเสริมการท่องเที่ยว
Description
Public Policy and Public Management (Mahidol University 2019)
Degree Name
Doctor of Public Administration
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Public Policy and Public Management
Degree Grantor(s)
Mahidol University