การออกแบบการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณโดยอาศัยความจำเป็นทางสุขภาพเป็นบรรทัดฐานรวมถึงการประเมินสัดส่วนงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเปรียบเทียบกับงบประมาณทั้งหมด (ระยะที่ 1) เรื่องปัจจัยที่ใช้เป็นตัวแปรในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
Issued Date
2549-01
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
155173419 bytes
ISBN
9741104235
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, วรรณพร โมเรนแด็ก, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, วิไลลักษณ์ วิสาสะ, บุษบา สงวนประสิทธิ์, พีระ ครึกครื้นจิตร, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์ (2549). การออกแบบการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณโดยอาศัยความจำเป็นทางสุขภาพเป็นบรรทัดฐานรวมถึงการประเมินสัดส่วนงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเปรียบเทียบกับงบประมาณทั้งหมด (ระยะที่ 1) เรื่องปัจจัยที่ใช้เป็นตัวแปรในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/58841
Title
การออกแบบการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณโดยอาศัยความจำเป็นทางสุขภาพเป็นบรรทัดฐานรวมถึงการประเมินสัดส่วนงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเปรียบเทียบกับงบประมาณทั้งหมด (ระยะที่ 1) เรื่องปัจจัยที่ใช้เป็นตัวแปรในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
Alternative Title(s)
Factors influencing resource and budget allocation of disease prevention and health promotion programme
รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์การออกแบบการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณโดยอาศัยความจำเป็นทางสุขภาพเป็นบรรทัดฐานรวมถึงการประเมินสัดส่วนงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเปรียบเทียบกับงบประมาณทั้งหมด (ระยะที่ 1)...
ปัจจัยที่ใช้เป็นตัวแปรในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์การออกแบบการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณโดยอาศัยความจำเป็นทางสุขภาพเป็นบรรทัดฐานรวมถึงการประเมินสัดส่วนงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเปรียบเทียบกับงบประมาณทั้งหมด (ระยะที่ 1)...
ปัจจัยที่ใช้เป็นตัวแปรในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
Other Contributor(s)
Abstract
โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า “30 บาท รักษาทุกโรค” ได้ดำเนินการครบ 76 จังหวัด เป็นเวลากว่า 2 ปี เท่าที่ผ่านมาการจัดสรรงบประมาณด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเป็นแบบเหมาจ่ายรายหัวเท่ากันทั้งประเทศ โดยไม่ได้นำเอาปัจจัยด้านประชากร และความจำเป็นทางด้านสุขภาพ มาใช้ในการจัดสรรระบบการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษานี้เพื่อหาปัจจัยที่เป็นตัวแปรในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในส่วนของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการออกแบบระบบการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณในอนาคต
การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในระดับประเทศในด้านประชากร เศรษฐกิจ และข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเจ็บป่วย พ.ศ. 2542 และข้อมูลการกระจายงบประมาณในระดับต่างๆ ของจังหวัดที่ถูกเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานโครงการหลักประกันสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดีคือ พระนครศรีอยุธยา แพร่ นครราชสีมา และสงขลา และกลุ่มจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานระดับหนึ่งคือ สมุทรสงคราม ลำพูน เลย และพังงา นอกจากนั้นในสถานีอนามัย 1 แห่งในแต่ละจังหวัด และได้มีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์อาสาสมัครในความรับผิดชอบของ PCU จำนวน 3,952 คนและรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มอนามัยครอบครัวจาก 18,732 คน นอกจากนั้นยังมีการหาข้อมูลของสถานีอนามัย 7 แห่ง จาก 4 จังหวัด (นครราชสีมา พังงา ลำพูน และพระนครศรีอยุธยา) โดยใช้วิธี Activity Based Costing (ABC) มีทั้งหมด 18 กิจกรรมใน 7 ศูนย์สุขภาพชุมชน
ข้อมูลทุติยภูมิ ประชากรชาวไทยในปี พ.ศ. 2545 มีประมาณ 63 ล้านคน มีอัตราส่วนหญิงต่อชาย เท่ากับ 1.02 ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนเท่ากับ 10,889 บาท ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 13,736 บาท HIV/AID เป็นสาเหตุอันดับแรกในปี พ.ศ.2542 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (YLLs) และจำนวนปีของการมีชีวิตที่ปรับด้วยความพิการแล้ว (DALYs) สาเหตุรองลงมาคืออุบัติเหตุจากการสัญจร และภาวะ Stroke และพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยง ที่มีความสัมพันธ์กับภาระโรคและการบาดเจ็บคือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การไม่สวมหมวกนิรภัยเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์
ข้อมูลจากแฟ้มอนามัยครอบครัว พบว่าเกือบทุกคนมีสิทธิในการรักษาพยาบาล อายุเฉลี่ยเท่ากับ 34.0 ปี ส่วนใหญ่ศึกษาสูงสุดในชั้นประถมศึกษา ครึ่งหนึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม และ รับจ้าง พบประชากรเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 1.7 ในเพศชาย และร้อยละ 3.0 ในเพศหญิง มีโรคเบาหวานร้อยละหนึ่ง ร้อยละ 20 ของเพศชาย และร้อยละ 1.8 ของเพศหญิงสูบบุหรี่
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า อายุเฉลี่ยเท่ากับ 43.9 ปี ส่วนใหญ่ศึกษาสูงสุดในชั้นประถมศึกษา ครึ่งหนึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้าง มีถึงร้อยละ 35 ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนเท่ากับ 5,750.50 บาท รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน 7,188 บาท ร้อยละ 37 ของเพศชาย และร้อยละ 20 ของเพศหญิงที่อายุมากกว่า 15 ปีสูบบุหรี่ ร้อยละ 28 ของเพศชาย และร้อยละ 11 ของเพศหญิงดื่มสุรา ประมาณร้อยละ 80 ออกกำลังกายเป็นบางครั้ง หรือเป็นประจำ ประมาณร้อยละ 4 ของเพศชาย และร้อยละ 1 ของเพศหญิง เพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยา อาสาสมัครส่วนใหญ่คิดว่าตนมีสุขภาพดีในระดับปานกลาง ถึงระดับดี
ชุดสิทธิประโยชน์ที่อาสาสมัครส่วนใหญ่ รู้ว่ามีคือ การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพเด็ก ชุดสิทธิประโยชน์ ที่อาสาสมัครส่วนใหญ่ใช้คือ สมุดบันทึกสุขภาพ การตรวจสุขภาพประจำปี บริการที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอาสาสมัครใช้บริการคือ การวางแผนครอบครัว บริการตรวจสุขภาพช่องปาก และให้คำแนะนำด้านทันตสุขภาพ การให้บริการเคลือบฟลูออไรด์ และเคลือบหลุมร่องฟัน
การจัดสรรงบประมาณจาก สป. สช. มายังจังหวัดในปี 2546 ต่อประชากรเท่ากับ 1202.40 บาท ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นการจัดสรรสำหรับจ่ายเป็นเงินเดือน และจัดสรรเป็นงบประมาณสำหรับค่าบริการทางการแพทย์ประมาณร้อยละ 37 (448.22 บาท) ซึ่ง สป. สช. จัดสรรให้แต่จังหวัด (ผ่าน สป.) ตั้งแต่ 422.04 ถึง 476.06 บาท และ สป. ได้รับ เพื่อส่งต่อไปยังจังหวัดต่างๆ เป็นเงินตั้งแต่ 211.00 ถึง 459.61 บาทต่อคน
ปัจจัยที่ใช้เป็นตัวแปรในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณระหว่างจังหวัด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเงินงบประมาณที่จังหวัดได้รับภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในส่วนของค่าบริการทางการแพทย์เป็นรายหัวคือ สัดส่วนเด็กอายุ 0-4 ปี ความดันโลหิตสูงและอุบัติเหตุ
ปัจจัยที่ใช้เป็นตัวแปรในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณในส่วนของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายในจังหวัด การจัดสรรเงิน ในส่วนของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในระดับจังหวัด ไปยังหน่วยงานในจังหวัดขึ้นอยู่กับ นโยบายของหน่วยงานของจังหวัด ที่รับผิดชอบในการจัดสรรและความจำเป็นในการบริหารจัดการ ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยหลายตัวแปร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเงินงบประมาณที่จังหวัดจัดสรรให้เครือข่ายคือ สัดส่วนเด็กอายุ 0 – 4 ปี ความดันโลหิตสูง และ อุบัติเหตุ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเงินงบประมาณด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จังหวัดจัดสรรให้เครือข่ายคือ ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ จากการวิเคราะห์เบื้องต้น จำนวนประชากรและภาวะโรคไม่มีความสัมพันธ์การจัดสรร งบประมาณPP ในระดับ PCU ผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม (ABC) จาก 18 กิจกรรมหลักใน 7 ศูนย์สุขภาพชุมชน (4 จังหวัด) พบความหลากหลายของมูลค่าต้นทุนต่อกิจกรรมที่ได้
ความต้องการข้อมูลความจำเป็นทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพในระดับต่างๆ มีดังนี้คือ ด้านผู้รับบริการ (ข้อมูลด้านประชากร ข้อมูลด้านภาระโรค และสถิติชีพของประชากร) ปัจจัยด้านผู้ให้บริการ (ข้อมูลด้านงบประมาณด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่หน่วยงานส่วนกลางจัดสรรให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจัดสรรให้สถานพยาบาลเครือข่ายภายในจังหวัด ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุขของจังหวัดพื้นที่วิจัย)
จุดเด่นของการศึกษานี้คือ เป็นการศึกษาที่เป็นการศึกษาแบบสหวิทยาการ วิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่มีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นทั้งข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิจากหลายแหล่งข้อมูล การศึกษานี้คือได้ทำการวิเคราะห์ผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม (ABC) การศึกษานี้ยังมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ทั้งในส่วนของทีมวิจัย และการพัฒนาทีมนักวิจัยภาคสนามในระดับของจังหวัด และ PCU
ข้อจำกัดที่สำคัญคือ เป็นการศึกษานำร่อง จำนวนจังหวัดที่ทำการศึกษาที่มีเพียง 8 จังหวัดซึ่งส่งผลถึงการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งคือการศึกษานี้เป็นการติดตามข้อมูลย้อนหลังในอดีตหลายปี และอาจมีข้อมูล ที่หน่วยงานในระดับต่างๆไม่เปิดเผย เพราะอาจเข้าใจว่าการมาศึกษานี้เป็นการมาตรวจสอบการใช้งบประมาณของจังหวัด
อย่างไรก็ดีจากผลการวิจัยเบื้องต้น งานวิจัยนี้ได้แสดงถึงการมีความเป็นไปได้และความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และตัวแปรที่แสดงความจำเป็นทางสุขภาพ
การศึกษาในระยะต่อไปคือ การขยายการศึกษาในระดับจังหวัดไปยังจังหวัดอื่นๆ อีก 8 จังหวัดหรือมากกว่า และเพิ่มการศึกษาในเชิงคุณภาพในทุกๆจังหวัด โดยหาข้อมูลเชิงลึกจากระดับผู้บริหาร
The universal healthcare coverage policy “30 Baht cures all diseases” project had been implemented for more than 2 year. Formerly, the allocation of budget on health promotion and prevention (pp) had been equally distributed using number of population under the scheme and didn’t take factors on population and health need into account. Aim of this study was to find factors that could be used as variables in budget allocation on pp. This study collected secondary and primary data from various sources. Secondary data consisted of population data, data on economics and morbidity of Thais in 1999 and data on pp budget allocation of 8 provinces which had been purposely selected from their performance on “30 Baht cures all diseases” project; 4 provinces (Ayutthya, Phrae, Nakonrachasima and Songkhla ) from provinces with superb performance and the other 4 (Samutsongkram, Lampoon, Loei and Pangna) from provinces with average performance, data from family folders (18,732 records of family members) from 8 primary care units (PCUs) one PCU per province were collected. Also, primary data were collected from the interviews of 3,952 participants in 8 PCUs, one PCU per one province. Activity Based Costing (ABC) was also conducted from 18 main activities in 7 PCUs of 4 province (Nakhonrachasima, Pangna, Lampoon and Ayutthya) Results from secondary data: Thai population was about 63 million in 2002. Female to male ratio was 1.02.Avarage expense and income per household was 10,889 and 13,736 Baht respectively. In 1999, HIV/AIDS was in the first rank among the causes of YLLs and DALYs and the following causes were traffic accidents and stroke. Risk behaviors which related to burden of diseases and trauma were unsafe sex, smoking, alcohol consumption and didn’t ware safety helmet when rode motorcycles. Results from family folders: Almost everyone had right on health care service. Mean age was 34.0 years. Most had highest education in primary education level. Half worked on agricultural field or were employee. Hypertension was found 1.7% in male and 3.0% in female. Diabetes had 1% prevalence and 20% of male and 1.8% of Female smoke. Results from interviews: Mean age was 43.9 years and most had highest education in primary education level. Half worked on agricultural Field or were employee and 35% were unemployed. Average expense and income per household was 5,750.50 and 7,188 Baht respectively. Among, those who were older than 15 year, 37% of male and 20% of female reported had been smoking. Overall, 28% of male and 11% of female report having alcohol consumption. About 80% reported having exercise for sometime of frequently. About 4% of male and 1% of female reported having sexual relationship with other rather than their spouses. Most of participant thought that their health was in average to good level. Benefit packages which most of participants know the existence were annual health check, child health check. Benefit packages which most of participants used the service were health diary, annual health check. Benefit packages which less than half of participant used were family planning services, oral health check, oral health counseling fluoride and tooth cavity cover. Budget allocation from National Health Security Office (NHSO) to Province Health Office (PHO) in 2003 was 1202.40 per person, half of this was for salary of health personal and for health care service about 37% (448.22 Baht). Results from multiple regression analysis showed tha proportion of children aged 0 – 4 years, hypertension and accidents were significant factors related to budget allocation among and within 8 provinces. In addition, hypertension and cardiovasculare disorders were significant factors related to p&p budget allocation within province. From the analysis at this stage, population number and burden of diseases didn’t related to pp budget allocation in PCU level. Results on ABC had variety from 7 PCUs. However, possible factors related to budget allocation within province would be determined by the policy of the administrators and budget needs within each province. Data on health need \a which were essential to acquire for finding the relationship to pp budget allocation were data on client side(population data, burden of disease) and provider side (data on budget in all levels, resources on health in that province). This study was a multidisciplinary study which analyzed data collected from primary and secondary sources in various levels. Also, ABC was performed and new researchers from the provincial level as well as central level had been invited and encouraged to involve in the study from the beginning. The limitation of the study was a pilot study in nature which had only 8 provinces in the study and the analyses had been done in this limited scenario. Another limitation was the retrospective design which made the collection of data difficult and incomplete. Moreover , the fear of uncovering of data might make the owner of data misunderstood that they had been being investigated and didn’t want to give information to the study. However, the preliminary results showed the trend towards the possibility to find the relationship between budget allocation and health need variables. The further studies should be bigger studies including more province in the study such as 8 additional provinces of more and combine qualitative to find out more deep information from administrators.
The universal healthcare coverage policy “30 Baht cures all diseases” project had been implemented for more than 2 year. Formerly, the allocation of budget on health promotion and prevention (pp) had been equally distributed using number of population under the scheme and didn’t take factors on population and health need into account. Aim of this study was to find factors that could be used as variables in budget allocation on pp. This study collected secondary and primary data from various sources. Secondary data consisted of population data, data on economics and morbidity of Thais in 1999 and data on pp budget allocation of 8 provinces which had been purposely selected from their performance on “30 Baht cures all diseases” project; 4 provinces (Ayutthya, Phrae, Nakonrachasima and Songkhla ) from provinces with superb performance and the other 4 (Samutsongkram, Lampoon, Loei and Pangna) from provinces with average performance, data from family folders (18,732 records of family members) from 8 primary care units (PCUs) one PCU per province were collected. Also, primary data were collected from the interviews of 3,952 participants in 8 PCUs, one PCU per one province. Activity Based Costing (ABC) was also conducted from 18 main activities in 7 PCUs of 4 province (Nakhonrachasima, Pangna, Lampoon and Ayutthya) Results from secondary data: Thai population was about 63 million in 2002. Female to male ratio was 1.02.Avarage expense and income per household was 10,889 and 13,736 Baht respectively. In 1999, HIV/AIDS was in the first rank among the causes of YLLs and DALYs and the following causes were traffic accidents and stroke. Risk behaviors which related to burden of diseases and trauma were unsafe sex, smoking, alcohol consumption and didn’t ware safety helmet when rode motorcycles. Results from family folders: Almost everyone had right on health care service. Mean age was 34.0 years. Most had highest education in primary education level. Half worked on agricultural field or were employee. Hypertension was found 1.7% in male and 3.0% in female. Diabetes had 1% prevalence and 20% of male and 1.8% of Female smoke. Results from interviews: Mean age was 43.9 years and most had highest education in primary education level. Half worked on agricultural Field or were employee and 35% were unemployed. Average expense and income per household was 5,750.50 and 7,188 Baht respectively. Among, those who were older than 15 year, 37% of male and 20% of female reported had been smoking. Overall, 28% of male and 11% of female report having alcohol consumption. About 80% reported having exercise for sometime of frequently. About 4% of male and 1% of female reported having sexual relationship with other rather than their spouses. Most of participant thought that their health was in average to good level. Benefit packages which most of participants know the existence were annual health check, child health check. Benefit packages which most of participants used the service were health diary, annual health check. Benefit packages which less than half of participant used were family planning services, oral health check, oral health counseling fluoride and tooth cavity cover. Budget allocation from National Health Security Office (NHSO) to Province Health Office (PHO) in 2003 was 1202.40 per person, half of this was for salary of health personal and for health care service about 37% (448.22 Baht). Results from multiple regression analysis showed tha proportion of children aged 0 – 4 years, hypertension and accidents were significant factors related to budget allocation among and within 8 provinces. In addition, hypertension and cardiovasculare disorders were significant factors related to p&p budget allocation within province. From the analysis at this stage, population number and burden of diseases didn’t related to pp budget allocation in PCU level. Results on ABC had variety from 7 PCUs. However, possible factors related to budget allocation within province would be determined by the policy of the administrators and budget needs within each province. Data on health need \a which were essential to acquire for finding the relationship to pp budget allocation were data on client side(population data, burden of disease) and provider side (data on budget in all levels, resources on health in that province). This study was a multidisciplinary study which analyzed data collected from primary and secondary sources in various levels. Also, ABC was performed and new researchers from the provincial level as well as central level had been invited and encouraged to involve in the study from the beginning. The limitation of the study was a pilot study in nature which had only 8 provinces in the study and the analyses had been done in this limited scenario. Another limitation was the retrospective design which made the collection of data difficult and incomplete. Moreover , the fear of uncovering of data might make the owner of data misunderstood that they had been being investigated and didn’t want to give information to the study. However, the preliminary results showed the trend towards the possibility to find the relationship between budget allocation and health need variables. The further studies should be bigger studies including more province in the study such as 8 additional provinces of more and combine qualitative to find out more deep information from administrators.
Description
281 [12] หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.
Sponsorship
โครงการนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)