Thai parents experiences in becoming caregivers of schizophrenic patients
Issued Date
2023
Copyright Date
2015
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 173 leaves : ill.
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2015
Suggested Citation
Pichamon Poonnotok Thai parents experiences in becoming caregivers of schizophrenic patients. Thesis (Ph.D. (Nursing))--Mahidol University, 2015. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89549
Title
Thai parents experiences in becoming caregivers of schizophrenic patients
Alternative Title(s)
ประสบการณ์ของบิดามารดาไทยในการเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท
Author(s)
Abstract
Although it is well document that caregiving for persons with early schizophrenia affects all aspects of the parents' lives, little is known about the caregiving process in caring for adult children with early schizophrenia. The purpose of this study was to explore basic social psychological process of being caregivers for adult children with schizophrenia among Thai parents. A grounded theory study was conducted. Twenty-five parents whose adult children were first diagnosed with schizophrenia within five years were interviewed, at the Outpatient (OPD) and Inpatient Departments (IPD) of the biggest psychiatric hospital in Thailand. The interviewed data were transcribed and analyzed using the constant-comparative method of the Straussian grounded theory approach. Struggling to restore normalcy was the basic social psychological process of being caregivers for adult children with early schizophrenia. It began with causal conditions: learning the diagnosis and facing shattered dreams. Because of the unstable and unpredictable nature of psychotic symptoms and the lack of experience and caregiving skills to work with mental illness, the parents had difficulties achieving their children's normalcy. However, perceiving caregiving as an unavoidable role, a contextual condition which included a sense of responsibility, feelings of love and sympathy, and believing in karma helped the parents in continually provided caregiving for their children. In order to restore normalcy, the parents struggled to control psychotic symptoms, which involved monitoring the symptoms, maintaining medication adherence, managing the symptoms, and preventing the exacerbation and relapse of the symptoms; as well as struggling to deal with the impacts of the illness, including dealing with the children's poor decision making, dealing with the stigma of the disease, and dealing with loss and difficulties. As time passed, the parents began to realize and accept a new normal that they were unable to restore their children's normalcy. Their children still had to be the patients with schizophrenia who needed long term care. Once realized, most of the parents had maintained caregiving with new perspectives in being caregivers for their children, while some of them distanced themselves from caregiving. These findings indicate that caregiving in the early phase of schizophrenia is a very difficult situation. In addition, the findings can be used as basis information for developing an early intervention program and for further study, to alleviate the parents' struggling, enhance their adaptive coping response and help them to overcome their difficulties.
แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า การดูแลบุตรโรคจิตเภทในระยะแรกมีผลกระทบต่อชิวิตของบิดามารดาอย่างมาก แต่ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการดูแลของบิดามารดาระยะนี้ยังมีจำกัด การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพื้นฐานทางจิตสังคมของบิดามารดาไทยในการเป็นผู้ดูแลบุตรโรคจิตเภทระยะแรก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทฤษฎีพื้นฐาน มีการสัมภาษณ์เชิงลึกบิดามารดา 25 คน ที่บุตรได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทครั้งแรกภายใน 5 ปี ที่แผนกผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยโรงพยาบาลจิตเวช และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การเปรียบเทียบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตามแบบของสเตราส์ กระบวนการพื้นฐานทางจิตสังคมในการเป็นผู้ดูแลบุตรโรคจิตเภทในระยะแรก คือการดิ้นรนทำให้กลับสู่สภาวะปกติ โดยเริ่มจากเงื่อนไขสาเหตุคือการรู้ว่าบุตรป่วยทางจิต และการเผชิญกับฝันสลาย บิดามารดาต้องใช้ความพยายามและประสบความยุ่งยากอย่างมากเพื่อให้บุตรกลับมาเป็นปกติ เนื่องจากบิดามารดาไม่เคยมีประสบการณ์และทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชมาก่อน อีกทั้งอาการทางจิตของบุตรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและไม่สามารถทำนายได้ แต่ด้วยการรับรู้ว่าการดูแลเป็นบทบาทที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขเชิงบริบทประกอบด้วยรู้สึกรับผิดชอบ ความรักความสงสารและความเชื่อเรื่องกรรม จึงทำให้บิดามารดายังคงให้การดูแลบุตรต่อไปได้ ในการทำให้กลับสู่สภาวะปกติ บิดามารดาต้องพยายามควบคุมอาการทางจิต ซึ่งประกอบด้วย การเฝ้าระวังอาการ การดูแลให้ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง การจัดการกับอาการ และการป้องกันการกำเริบและกลับเป็นซ้ำของอาการ นอกจากนั้น บิดามารดายังต้องพยายามจัดการกับผลกระทบของโรคไปด้วยพร้อมกัน ได้แก่ การจัดการกับการตัดสินใจที่ไม่ดีของบุตร การจัดการกับตราบาปของโรค และการจัดการกับความรู้สึกสูญเสียและความยุ่งยาก เมื่อระยะเวลาผ่านไป บิดามารดาเริ่มตระหนักและยอมรับว่าคงไม่สามารถทำให้บุตรกลับมาเป็นปกติได้และบุตรยังเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่ต้องการการดูแลระยะยาว หลังจากนั้น บิดามารดาส่วนใหญ่ยังคงดูแลบุตรต่อไปด้วยมุมมองใหม่ ในขณะที่บางคนเริ่มถอยห่างออกจากการดูแล จากผลการวิจัยสะท้อนว่า การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในระยะแรกเป็นสถานการณ์ที่ยุ่งยากมาก และผลการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรม และเพื่อการวิจัยต่อไป เพื่อช่วยลดการดิ้นรนของบิดามารดา ช่วยให้มีการจัดการที่เหมาะสมและข้ามพ้นความยุ่งยากในการดูแลบุตรได้ต่อไป
แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า การดูแลบุตรโรคจิตเภทในระยะแรกมีผลกระทบต่อชิวิตของบิดามารดาอย่างมาก แต่ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการดูแลของบิดามารดาระยะนี้ยังมีจำกัด การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพื้นฐานทางจิตสังคมของบิดามารดาไทยในการเป็นผู้ดูแลบุตรโรคจิตเภทระยะแรก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทฤษฎีพื้นฐาน มีการสัมภาษณ์เชิงลึกบิดามารดา 25 คน ที่บุตรได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทครั้งแรกภายใน 5 ปี ที่แผนกผู้ป่วยนอกและหอผู้ป่วยโรงพยาบาลจิตเวช และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การเปรียบเทียบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตามแบบของสเตราส์ กระบวนการพื้นฐานทางจิตสังคมในการเป็นผู้ดูแลบุตรโรคจิตเภทในระยะแรก คือการดิ้นรนทำให้กลับสู่สภาวะปกติ โดยเริ่มจากเงื่อนไขสาเหตุคือการรู้ว่าบุตรป่วยทางจิต และการเผชิญกับฝันสลาย บิดามารดาต้องใช้ความพยายามและประสบความยุ่งยากอย่างมากเพื่อให้บุตรกลับมาเป็นปกติ เนื่องจากบิดามารดาไม่เคยมีประสบการณ์และทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชมาก่อน อีกทั้งอาการทางจิตของบุตรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและไม่สามารถทำนายได้ แต่ด้วยการรับรู้ว่าการดูแลเป็นบทบาทที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขเชิงบริบทประกอบด้วยรู้สึกรับผิดชอบ ความรักความสงสารและความเชื่อเรื่องกรรม จึงทำให้บิดามารดายังคงให้การดูแลบุตรต่อไปได้ ในการทำให้กลับสู่สภาวะปกติ บิดามารดาต้องพยายามควบคุมอาการทางจิต ซึ่งประกอบด้วย การเฝ้าระวังอาการ การดูแลให้ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง การจัดการกับอาการ และการป้องกันการกำเริบและกลับเป็นซ้ำของอาการ นอกจากนั้น บิดามารดายังต้องพยายามจัดการกับผลกระทบของโรคไปด้วยพร้อมกัน ได้แก่ การจัดการกับการตัดสินใจที่ไม่ดีของบุตร การจัดการกับตราบาปของโรค และการจัดการกับความรู้สึกสูญเสียและความยุ่งยาก เมื่อระยะเวลาผ่านไป บิดามารดาเริ่มตระหนักและยอมรับว่าคงไม่สามารถทำให้บุตรกลับมาเป็นปกติได้และบุตรยังเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่ต้องการการดูแลระยะยาว หลังจากนั้น บิดามารดาส่วนใหญ่ยังคงดูแลบุตรต่อไปด้วยมุมมองใหม่ ในขณะที่บางคนเริ่มถอยห่างออกจากการดูแล จากผลการวิจัยสะท้อนว่า การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในระยะแรกเป็นสถานการณ์ที่ยุ่งยากมาก และผลการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรม และเพื่อการวิจัยต่อไป เพื่อช่วยลดการดิ้นรนของบิดามารดา ช่วยให้มีการจัดการที่เหมาะสมและข้ามพ้นความยุ่งยากในการดูแลบุตรได้ต่อไป
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Nursing
Degree Discipline
Nursing
Degree Grantor(s)
Mahidol University