การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ด้วยเทคนิค การวิเคราะห์ความสําคัญและผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Issued Date
2562
Resource Type
Language
tha
Rights
มหาวิทยาลัยมหิดล
Rights Holder(s)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Suggested Citation
มะลิวรรณ พฤฒารา (2562). การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ด้วยเทคนิค การวิเคราะห์ความสําคัญและผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/56870
Title
การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ด้วยเทคนิค การวิเคราะห์ความสําคัญและผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Author(s)
Other Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการใช้งาน
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยทำการเก็บข้อมูลผู้มาใช้บริการ จำนวน 289 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์
ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย นำเสนอผลการเปรียบเทียบระหว่างความคาดหวัง และ
ความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการด้วยเทคนิค Importance Performance Analysis (IPA) และทดสอบสมติ
ฐานการวิจัยด้วยค่าสถิติ t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความคาดหวัง
และความพึงพอใจโดยรวมของผู้มาใช้บริการอยู่ในระดับมาก แต่คะแนนความพึงพอใจมีค่าต่ำกว่าคะแนน
ความคาดหวังในภาพรวม โดยมีคะแนนเฉลี่ย ความคาดหวังอยู่ที่ 4.47 ส่วนคะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 3.81
คะแนน เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการต่อ
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในแต่ละมิติด้วยเทคนิค IPA พบว่า มิติด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ มิติด้านระบบ
เครือข่าย และ มิติด้านโปรแกรมการใช้งาน ทุกคุณลักษณะตกอยู่ใน Quadrant 1 ซื่งเป็นคุณลักษณะที่มี
ความสำคัญมากจำเป็นต้องได้รับความสนใจและเร่งแก้ไขปรับปรุง เพราะถือเป็นจุดอ่อนสำคัญขององค์กร ใน
ส่วนมิติสุดท้ายคือด้านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มี 9 คุณลักษณะที่ตกอยู่ใน Quadrant 1 และ มี 4
คุณลักษณะ ที่อยู่ใน Quadrant 2 ซึ่งหมายถึงในปัจจุบัน องค์กรมีการดำเนินงานที่ดีอยู่แล้ว ไม่มีความ
จำเป็นต้องให้ความสำคัญในจัดสรรทรัพยากรเพื่อการปรับปรุง โดยผู้วิจัยได้นำผลการวิจัยมาจัดทำข้อเสนอ
แนวทางการปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อยกระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
Description
12 หน้า, Full Text (Intranet only)