การพัฒนามิติภายในผ่านกระบวนการฝึกฝนกลองชัยมงคล
Issued Date
2556
Copyright Date
2556
Resource Type
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฎ, 217 แผ่น : ภาพประกอบ
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล
Bibliographic Citation
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556
Suggested Citation
รัชนี วิศิษฎ์วโรดม การพัฒนามิติภายในผ่านกระบวนการฝึกฝนกลองชัยมงคล. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556. สืบค้นจาก: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93527
Title
การพัฒนามิติภายในผ่านกระบวนการฝึกฝนกลองชัยมงคล
Alternative Title(s)
Inner development through the practice of Chaiyamongkol drumming
Author(s)
Advisor(s)
Abstract
กระบวนการเรียนรู้ครั้งอดีตมีความเชื่อมโยงมิติภายใน สังคม วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ซึ่งต่างจากการศึกษาในปัจจุบันภายใต้กระบวนทัศน์การแสวงหาความรู้แบบทวิลักษณ์ (Dualistic Knowledge) อันเป็นรากฐานการเรียนรู้แบบแยกวิชาออกจากชีวิต งานศึกษาครั้งนี้ให้ความสำคัญทั้งกระบวนการรู้ (Knowing) และความรู้ (The Known) โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาคุณค่าความหมายและผลต่อการพัฒนามิติภายใน ของกระบวนการฝึกฝนศิลปะพื้นบ้าน "กลอง ชัยมงคล" เนื่องจากเป็นศิลปะที่ใช้ความสามารถหลายด้าน ทั้งการเล่นดนตรี การฟ้อน และศิลปะการต่อสู้ ต้องอาศัยการ ฝึกฝนยาวนาน ร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจที่ตั้งมั่น จนกลายเป็นการแสดงที่ทรงพลังแต่อ่อนช้อยงดงาม งานศึกษานี้เก็บ ข้อมูลผ่านประสบการณ์ตรงของการฝากตัวเป็นศิษย์กับพ่อครูมานพ ยาระณะ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการ สัมภาษณ์เชิงลึก ลูกศิษย์จำนวน 5 คนซึ่งเรียนสืบเนื่อง 13-19 ปี ผลจากการศึกษาพบว่าการพัฒนามิติภายใน เป็นผลจากกระบวนการปฏิบัติที่มีการฝึกฝนทั้งร่างกายทุกส่วน และฝึกพื้นฐานจิตใจทั้งฝึกสมาธิ สติ สัมปชัญญะในการเคลื่อนไหวร่างกาย การฟ้อน การตีกลอง ด้วยมรรควิธีต่างๆ อย่าง การมีสรณะ การระลึกรู้ในความหมายของท่าฟ้อนและคาถาธรรม การจินตนาการ และ การอธิฐาน เป็นหนทางของการ เข้าถึงความหมายของคุณความดีต่างๆ การตีกลองนำพาสู่การเสาะหาความงามเข้าถึงความจริง และสะท้อนเสียงแห่งความ งาม ความดี ความจริงผ่านกลองชัยมงคล ผลของการปฏิบัติ คือผู้รู้เป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งที่ถูกรู้ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างมี รากเหง้า การพ้นไปจากตัวตนในชั่วขณะ การจูงจิตขึ้นเหนือกระแสอารมณ์ ผ่านวิถีของการปฏิบัติประกอบด้วย "การขึ้น ขันไหว้ครู" "กระบวนการฝึกแบบ ทำให้ดู-จำให้ได้-ทำซ้ำ-สำรวจตนเอง-ออกแสดง-สอนต่อ" และ "การนำวิชาไปทำหน้าที่ เพื่อส่วนรวม" โดยมีปัจจัยหนุนนำภายนอก คือ กัลยาณมิตรแห่งครู และปัจจัยหนุนนำภายในคือ การคิดพิจาณาจากภายใน อย่างแยบคาย โดยพบคุณค่าความหมายเชิงการเรียนรู้ และ คุณค่าความหมายเชิงการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม กระบวน ฝึกฝนกลองชัยมงคลของพ่อครูมานพ ยาระณะ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้พัฒนามิติภายใน ที่เชื่อมโยง ความรู้ในทุกมิติทั้งกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณหรือปัญญา ที่การเรียนรู้วิชาคือการเรียนรู้ชีวิต อันนำไปสู่การแสวงหา ความรู้ที่เข้าถึงความจริง ความดี ความงาม ผลการศึกษาเป็นไปในทางเดียวกับ "วงจรการเรียนรู้แนวจิตตปัญญา" ในงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ การอบรมกระบวนการแนวจิตตปัญญา และ มีศักยภาพในการพัฒนามิติภายในเป็นไปในทางเดียวกับการปฏิบัติเชิงจิตต ปัญญา ดังนั้นหากสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับมุมมองและยอมรับศิลปะพื้นบ้านในฐานะที่อาจเป็นหนทางหนึ่งใน การพัฒนามิติภายในได้ อันเป็นจุดตั้งต้นของการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานภายในบุคคล สู่องค์กร ชุมชน และสังคมเป็นที่สุด
In contrast to the dualistic paradigm of today, in which education is separated from life, the learning process in ancient times harmonized with social, cultural, and spiritual dimensions. This study values both the learning process (knowing) and the learning outcome (the known) and aims to study the meaning and the inner development effects of practicing 'Chaiyamongkol drumming', the folk art that integrates multi-tasking skills from music and dance to martial arts and requires long term practice with physical strength and concentration of the mind. From this, a powerful yet gentle performance can emerge. Data collection in this study came from direct experiences of the researcher as a disciple of the master Manop Rayana, observation, and in-depth interviews with five students who have practiced for 13 -19 years. The study showed that inner development results from the processes of practicing the drumming movements which combine both physical exertion of the whole body and all mental aspects, i.e., concentration, mindfulness, and awareness. Using various paths, practitioners are able to access the meaning of Goodness. The result of drumming practice is that the knower (practitioners) and the known (contact through senses) become one; something new is created while still cherishing the root, and the self can be transcended if only for a moment, so emotions can be overcome. An external supportive factor is the goodwill of the teacher and an internal one is analytical reflection. Meaning, in terms of learning and in terms of holistic human development, comes from the Chaiyamongkol drumming practices of the master Manop Rayana. This study found that such meaning is a result of inner development, which links learning in every dimension: physically, mentally, socially, and spiritually, i.e., Wisdom. With this way, learning the subject becomes learning about one's life, which is the pursuit of knowledge that can lead one to the Truth, Goodness, and Beauty. This study is in accord with 'The Cycle of Contemplative Learning' in the research of knowledge development about contemplative learning facilitation. Also, it has potential for inner development, in the same way as contemplative practices. Therefore, if society and the agencies concerned can shift their points of view and accept folk art as a way of inner development, this can be the beginning of fundamental personal, organizational, communal ,and eventually social transformation
In contrast to the dualistic paradigm of today, in which education is separated from life, the learning process in ancient times harmonized with social, cultural, and spiritual dimensions. This study values both the learning process (knowing) and the learning outcome (the known) and aims to study the meaning and the inner development effects of practicing 'Chaiyamongkol drumming', the folk art that integrates multi-tasking skills from music and dance to martial arts and requires long term practice with physical strength and concentration of the mind. From this, a powerful yet gentle performance can emerge. Data collection in this study came from direct experiences of the researcher as a disciple of the master Manop Rayana, observation, and in-depth interviews with five students who have practiced for 13 -19 years. The study showed that inner development results from the processes of practicing the drumming movements which combine both physical exertion of the whole body and all mental aspects, i.e., concentration, mindfulness, and awareness. Using various paths, practitioners are able to access the meaning of Goodness. The result of drumming practice is that the knower (practitioners) and the known (contact through senses) become one; something new is created while still cherishing the root, and the self can be transcended if only for a moment, so emotions can be overcome. An external supportive factor is the goodwill of the teacher and an internal one is analytical reflection. Meaning, in terms of learning and in terms of holistic human development, comes from the Chaiyamongkol drumming practices of the master Manop Rayana. This study found that such meaning is a result of inner development, which links learning in every dimension: physically, mentally, socially, and spiritually, i.e., Wisdom. With this way, learning the subject becomes learning about one's life, which is the pursuit of knowledge that can lead one to the Truth, Goodness, and Beauty. This study is in accord with 'The Cycle of Contemplative Learning' in the research of knowledge development about contemplative learning facilitation. Also, it has potential for inner development, in the same way as contemplative practices. Therefore, if society and the agencies concerned can shift their points of view and accept folk art as a way of inner development, this can be the beginning of fundamental personal, organizational, communal ,and eventually social transformation
Description
จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (มหาวิทยาลัยมหิดล 2556)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Department
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
Degree Discipline
จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
Degree Grantor(s)
มหาวิทยาลัยมหิดล