Suicide risk factors of royal thai police officers
Issued Date
2023
Copyright Date
2016
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
x, 107 leaves
Access Rights
restricted access
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2016
Suggested Citation
Veerapol Gulabutr Suicide risk factors of royal thai police officers. Thesis (Ph.D. (Criminology, Justice Administration and Society))--Mahidol University, 2016. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89816
Title
Suicide risk factors of royal thai police officers
Alternative Title(s)
ปัจจัยเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย
Author(s)
Abstract
This was a quantitative and qualitative research aimed to study the level of suicide factors among the Royal Thai Police Officers, to investigate the social, surroundings, and the psychological aspects causing suicide among the Royal Thai Police Officers as well as to find the prevention and the solution to the suicide problem. The quantitative method was used to collected data from 977 police officers under the Provincial Police Region 3, 5 and the Headquarter of the Metropolitan Police Bureau using questionnaires while the in-depth interview with 8 qualified supervisors was conducted to obtain qualitative data from the officers who were involved in the crime prevention policy in the police including 9 Physician and a Psychologist. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, the t-test (Independent Samples Test) the F-test (One-Way ANOVA) and Structural Equation Modeling: SEM by AMOS program. The study indicated that majority of the police officers were male Police Senior Sergeant Major, working in the suppression line of the Metropolitan Police Bureau, aged between 41-50 years, operated for 21-30 years in the government civil service, Buddhist, married with no children, and graduated with a bachelor's degree. Factors that affected the suicide risk level of the Royal Thai Police officers were social factors, the surroundings and psychological factors. These, consisted of disputes in the family, having congenital disease, inadequacy of income, pressure from work, Suicide history in family or had been prosecuted. These factors were significantly associated with the Thai police officer's suicide statistically significant at 0.05 levels. In addition, the result indicated that depression and impulsiveness were significantly related to suicide among the Thai police officers statistically significant at 0.05 levels as well. This study suggested that 1) In terms of policy; the Royal Thai Police should focus on how to optimize personal selection and development to increase personal efficiency. 2) In practice, psychological test by the experts should be implemented to help identify the risk group, and find a solution to prevent suicide risk. Furthermore, mental development training should be continuously and consistently conducted among the police officers at all levels so that all of them would have strong mental state, be mindful in problem solving towards trouble issues, realize the right solution, be optimistic and be worthy in society, family and friends
การศึกษาเรื่องปัจจัยเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและด้านจิตใจที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย โดยดำเนินการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3, 5 และกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 977คน และเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายของตำรวจในด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม นายแพทย์หรือนักจิตวิทยา จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test (Independent Samples Test) ค่า F-test (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม AMOS ผลการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่มีชั้นยศนายดาบตำรวจ ปฏิบัติงานอยู่ในสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นเพศชาย มีอายุ 41-50 ปี มีอายุราชการ 21-30 ปี นับถือศาสนาพุทธ สมรสแล้ว โดยส่วนใหญ่ไม่มีบุตร และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและด้านจิตใจ ประกอบด้วยการทะเลาะกับคนในครอบครัว การมีโรคประจำตัว ความเพียงพอของรายได้ ความกดดันจากงาน ประวัติการฆ่าตัวตายของคนในครอบครัวและการเคยถูกต้องหาคดี มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านความซึมเศร้าและปัจจัยทางด้านความหุนหันพลันแล่น มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) ในทางนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรเน้นยุทธศาสตร์ด้านวิธีการคัดเลือกและการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร 2) ในทางปฏิบัติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรทำการทดสอบสภาพจิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อทราบกลุ่มเสี่ยงแล้วนำมาพิจารณาหาแนวทางป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายของกลุ่ม ดำเนินโครงการอบรมพัฒนาสภาพจิตของข้าราชการตำรวจในทุกระดับอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคนมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง มีสติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา รู้จักหาทางออกที่เหมาะสม เป็นคนที่มองโลกในแง่ดี รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในสังคม ครอบครัวและกลุ่มเพื่อนๆ
การศึกษาเรื่องปัจจัยเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและด้านจิตใจที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย โดยดำเนินการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในเชิงปริมาณทำการเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 3, 5 และกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 977คน และเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บังคับบัญชาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายของตำรวจในด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม นายแพทย์หรือนักจิตวิทยา จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test (Independent Samples Test) ค่า F-test (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม AMOS ผลการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่มีชั้นยศนายดาบตำรวจ ปฏิบัติงานอยู่ในสายงานป้องกันปราบปราม สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นเพศชาย มีอายุ 41-50 ปี มีอายุราชการ 21-30 ปี นับถือศาสนาพุทธ สมรสแล้ว โดยส่วนใหญ่ไม่มีบุตร และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและด้านจิตใจ ประกอบด้วยการทะเลาะกับคนในครอบครัว การมีโรคประจำตัว ความเพียงพอของรายได้ ความกดดันจากงาน ประวัติการฆ่าตัวตายของคนในครอบครัวและการเคยถูกต้องหาคดี มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางด้านความซึมเศร้าและปัจจัยทางด้านความหุนหันพลันแล่น มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) ในทางนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรเน้นยุทธศาสตร์ด้านวิธีการคัดเลือกและการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร 2) ในทางปฏิบัติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรทำการทดสอบสภาพจิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อทราบกลุ่มเสี่ยงแล้วนำมาพิจารณาหาแนวทางป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายของกลุ่ม ดำเนินโครงการอบรมพัฒนาสภาพจิตของข้าราชการตำรวจในทุกระดับอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคนมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง มีสติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา รู้จักหาทางออกที่เหมาะสม เป็นคนที่มองโลกในแง่ดี รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในสังคม ครอบครัวและกลุ่มเพื่อนๆ
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Department
Faculty of Social Sciences and Humanities
Degree Discipline
Criminology, Justice Administration and Society
Degree Grantor(s)
Mahidol University