Use of chitosan-polyacrylic acid interpolymer complex as a polymeric osmotic agent for development of push-pull osmotically controlled release tablets
dc.contributor.advisor | Ampol Mitrevej | |
dc.contributor.advisor | Nuttanan Sinchaipanid | |
dc.contributor.advisor | Leuenberger | |
dc.contributor.author | Wichan Ketjinda | |
dc.date.accessioned | 2023-08-31T02:33:27Z | |
dc.date.available | 2023-08-31T02:33:27Z | |
dc.date.copyright | 2007 | |
dc.date.created | 2007 | |
dc.date.issued | 2023 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างโพลิเมอร์ของไคโตซานและโพลอะคริลิก เอซิดเป็นสารก่อแรงดันออสโมติค สำหรับยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดดึง-ดันโดยใช้ฟีโลไดปีนเป็นยาต้นแบบ เตรียม สารประกอบเชิงซ้อนให้มี อัตราส่วนระหว่างไคโตซานและโพลิอะคริลิกเอซิด รวมทั้งน้ำหนักโมเลกุลของไคโต ซานที่แตกต่างกัน การประเมินผลการการพองตัวของสารประกอบเชิงซ้อนที่ได้พบว่า อัตราส่วนของโพลิเมอร์ทั้ง สองและน้ำหนักโมเลกุลของไคโตซานมีผลต่อการพองตัว เตรียมยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดดึง-ดันโดยวิธีตอกสอง ครั้ง ทำให้ได้ยาเม็ดสองชั้นที่มีชั้นยาประกอบด้วย ฟีโลไดปีน โพลิเอธิลลีนออกไซด์ และชั้นโพลิเมอร์ประกอบ ด้วย สารประกอบเชิงซ้อนของไคโตซานและโพลิอะคริลิกเอซิด เคลือบยาเม็ดแกนด้วยเซลลูโลสอะซิเตทฟิล์มและ เจาะรูขนาด 0.5 มม. ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ ผลการทดสอบการละลายของยาเม็ดออสโมติคปั๊มพบว่า มี จลนศาสตร์ของการปลดปล่อยยาแบบอันดับศูนย์ และสามารถหน่วงเหนี่ยวการปลดปล่อยยาได้นานถึง 12 หรือ 24 ชม.เมื่อใช้โพลิเอธิลลีนไกคอลและไดบิวทิลเซบาเคตเป็นพลาสติไซเซอร์ตามลำดับ ผลของแรงตอกพบว่าแรงตอก ไม่มีผลต่อการปลดปล่อยยา ในกรณีของไดบิวทิลเซบาเคต การเพิ่มน้ำหนักของยาเม็ด มีผลทำให้อัตราการปลด ปล่อยยาลดลง การศึกษาหาค่าที่เหมาะสมของปัจจัยต่างๆในการตั้งสูตรตำรับเพื่อให้ได้การปลดปล่อยยาที่ต้องการ พบว่าสูตรตำรับซึ่งประกอบด้วย โพลิเอธิลลีนออกไซด์ 50 มก. สารประกอบเชิงซ้อนของไคโตซานและโพลิ อะคริลิกเอซิด 15 มก. โปตัสเซียมคลอไรด์ 10 มก. โพลิเอธิลลีนไกคอล ร้อยละ15ของน้ำหนักสารเคลือบ และ เคลือบยาเม็ดให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ12 สามารถให้การปลดปล่อยยาเป็นไปตามข้อกำหนดของ USP28 สำหรับ ยาเม็ดออกฤทธิ์นานของฟิโลดิปีน กลไกการปลดปล่อยยาของยาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดดึง-ดัน สามารถอธิบายได้ สอดคล้องเป็นอย่างดีกับสมการคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอัตราการผลักดันยาออก และอัตราการกร่อนละลาย | |
dc.format.extent | xix, 250 leaves : ill. | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | Thesis (Ph.D. (Pharmaceutics))--Mahidol University, 2007 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89020 | |
dc.language.iso | eng | |
dc.publisher | Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center | |
dc.rights.holder | Mahidol University | |
dc.subject | Chitosan | |
dc.subject | Controlled Release Technology | |
dc.subject | Polyacrylic Acid | |
dc.subject | Osmotic Pump System | |
dc.subject | Tablets, Osmotic Pump | |
dc.title | Use of chitosan-polyacrylic acid interpolymer complex as a polymeric osmotic agent for development of push-pull osmotically controlled release tablets | |
dc.title.alternative | การใช้สารประกอบเชิงซ้อนระหว่างโพลิเมอร์ของไคโตซานและโพลิอะคริลิกเอซิดเป็นสารก่อแรงดันออสโมติคสำหรับการพัฒนายาเม็ดออสโมติคปั๊มชนิดดึง-ดัน | |
dcterms.accessRights | restricted access | |
mu.link.internalLink | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2553/cd447/4538041.pdf | |
thesis.degree.department | Faculty of Pharmacy | |
thesis.degree.discipline | Pharmaceutics | |
thesis.degree.grantor | Mahidol University | |
thesis.degree.level | Doctoral Degree | |
thesis.degree.name | Doctor of Philosophy |