ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด
dc.contributor.advisor | ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ | |
dc.contributor.advisor | คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล | |
dc.contributor.author | พรรัตติกาล พลหาญ | |
dc.date.accessioned | 2024-01-09T01:06:08Z | |
dc.date.available | 2024-01-09T01:06:08Z | |
dc.date.copyright | 2562 | |
dc.date.created | 2562 | |
dc.date.issued | 2567 | |
dc.description | การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2562) | |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด อายุ 18 ปี ขึ้นไปกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหืดที่มารับบริการที่ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 64 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยการสุ่มแบบบล็อก กลุ่มละ 32 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและได้รับคู่มือสำหรับผู้ป่วยโรคหืด กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งพัฒนาขึ้นจากกรอบแนวคิด IMB model ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.3 และร้อยละ 68.8 ตามลำดับ ด้านอายุพบว่ากลุ่มทดลองอายุเฉลี่ย 59.47 ปี (SD = 9.87) กลุ่มควบคุมอายุเฉลี่ย 58.13ปี (SD = 12.65) ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการควบคุมอาการโรคหืดไม่แตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยการควบคุมอาการโรคหืดก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองเท่ากับ 3.56 (SD = .76) และ .56 (SD = .62) ตามลำดับ ของกลุ่มควบคุมเท่ากับ 3.13 (SD = .55) และ 1.50 (SD = .76) ตามลำดับ โดยพบว่าหลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคหืดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์มีการควบคุมโรคหืดดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลปกติ อย่างมีนัยสำคัญ (P < .001) ข้อเสนอแนะ พยาบาลควรใช้โปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ในการให้ความรู้เรื่องโรค พัฒนาทักษะในการใช้ยาสูด โดยมีการให้ข้อมูลป้อนกลับและติดต่อสื่อสารแบบสองทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด | |
dc.description.abstract | The present study was a randomized controlled trial whose objective was to study the effects of education and inhaler skills program through line application on symptom control among asthmatic patient. The sample comprised 64 asthmatic patients who sought treatment at the outpatient examination room in a tertiary hospital, Bangkok. Block random assignment was used to assign the sample into the experimental group (N = 32) and the control group (N = 32). The control group received the regular nursing care and the handbook for asthmatic patient. The experimental group received the education and inhaler skills program through line application developed based on IMB model. There was a 6-week trial period. Data were analyzed by Independent t-test. The results showed that the experimental group and the control group were female, 81.3% and 68.8%, respectively. The experimental group had the average age of 59.47 years (SD = 9.87), and the control group, the average age of 58.13 years (SD = 12.65). It was found that before the experiment, the experiment group and the control group were not significantly different; in fact, the mean asthma control scores of the experimental group before and after the program were 3.56 (SD = .76) and .56 (SD = .62), respectively, and those of the control group were 3.13 (SD = .55) and 1.50 (SD = .76), respectively. After the experiment, the level of asthma control in asthmatic patients in the experimental group was higher than that in the control group at a statistical significant level of p < .001. Recommendations were that nurses use the education and inhaler skills program through line application to provide disease knowledge, develop inhaler skills with information, feedback and two-way communication to increase the effectiveness of symptom control in asthmatic patients | |
dc.format.extent | ก-ญ, 182 แผ่น : ภาพประกอบ | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.identifier.citation | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562 | |
dc.identifier.uri | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92016 | |
dc.language.iso | tha | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.rights | ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า | |
dc.rights.holder | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ผู้ป่วย, การให้การศึกษา | |
dc.subject | หืด -- การป้องกันและควบคุม | |
dc.subject | หืด -- การรักษาด้วยยา | |
dc.subject | แอปพลิเคชั่นไลน์ | |
dc.title | ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด | |
dc.title.alternative | The effects of education and inhaler skills program through LINE application on symptom control among asthmatic patients | |
dc.type | Master Thesis | |
dcterms.accessRights | open access | |
mods.location.url | http://mulinet11.li.mahidol.ac.th/e-thesis/2562/547/6037961.pdf | |
thesis.degree.department | คณะพยาบาลศาสตร์ | |
thesis.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ | |
thesis.degree.grantor | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
thesis.degree.level | ปริญญาโท | |
thesis.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |