Selected risk factors associated with treatment failure among new smear-positive pulmonary tuberculosis patients from seven provinces in the lower Southern part of Thailand
Issued Date
2013
Copyright Date
2013
Resource Type
Language
eng
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ix, 79 leaves
Access Rights
open access
Rights
ผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
Rights Holder(s)
Mahidol University
Bibliographic Citation
Thesis (M.Sc. (Epidemiology))--Mahidol University, 2013
Suggested Citation
Thawatchai Luankaew Selected risk factors associated with treatment failure among new smear-positive pulmonary tuberculosis patients from seven provinces in the lower Southern part of Thailand. Thesis (M.Sc. (Epidemiology))--Mahidol University, 2013. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95155
Title
Selected risk factors associated with treatment failure among new smear-positive pulmonary tuberculosis patients from seven provinces in the lower Southern part of Thailand
Alternative Title(s)
ปัจจัยคัดสรรที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่เสมหะพบเชื้อมีผลการรักษาล้มเหลวใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย
Author(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาแบบ case-control study เพือศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่เสมหะพบเชื้อมีผลการรักษาล้มเหลว ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยวัณโรคที่เคยมีผลการรักษาล้มเหลว จำนวน 189 ราย ถูกนำเข้ามาเป็นกลุ่ม case ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีผลการรักษาหายในจำนวนที่เท่ากันถูกสุ่มเลือกเป็นกลุ่ม control ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง พฤษภาคม 2555 - สิงหาคม 2555 โดยใช้ multiple logistic regression ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ การมีผลการรักษาล้มเหลว ผลการศึกษาพบว่ามี 4 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาล้มเหลวในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่เสมหะพบเชื้อ คือการมีผลการตรวจเสมหะยังคงเป็นบวกในเดือนที่ 2 หรือ 3 ของการรักษา positive 1+; adjusted OR= 15.08, 95% CI= 4.84 - 47.00 และ positive 2+/ 3+; adjusted OR= 11.76 (95% CI= 2.01- 68.78) ผู้ป่วยที่ได้รับการทดสอบความไวของเชื้อต่อยารักษา (adjusted OR= 9.45; 95% CI= 4.03-22.14) ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง (adjusted OR= 2.44; 95% CI= 1.05-5.67) และผู้ป่วยที่ยินยอมให้ญาติเป็น พี่เลี้ยงในการกำกับการกินยา (adjusted OR= 3.25; 95% CI= 1.33-7.92) การรักษาผู้ป่วยให้ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งที่จำเป็นลำดับแรกในการควบคุมวัณโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในเขตเมืองควรได้รับการกำกับการกินยาต่อหน้าอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในขณะเดียวกันผู้ป่วยที่มีผลเสมหะหลังการรักษาในเดือนที่ 2 หรือ 3 ยังคงเป็นบวก แสดงถึงสัญญาณเตือนให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสนใจและเพิมความพยายามในการหลีกเลี่ยงการมีผลการรักษาล้มเหลว
Description
Epidemiology (Mahidol University 2013)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's degree
Degree Department
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Degree Discipline
Epidemiology
Degree Grantor(s)
Mahidol University